Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28683
Title: ผลกระทบของปริมาณสารอินทรีย์ต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำระยอง
Other Titles: Impact of organic loading on water quality of Rayong River
Authors: เฮเลน อารมย์ดี
Advisors: สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของปริมาณสารอินทรีย์ที่มีต่อคุณภาพน้ำแม่น้ำระยองโดยการวิเคราะห์ลักษณะสมบัติน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ที่อาจมีผลกระทบต่อแม่น้ำทั้งทางกายภาพและเคมี ผลที่ได้จากการวิเคราะห์และจากข้อมูลทุติยภูมิของคุณภาพน้ำแม่น้ำระยอง จำนวนประชากร การใช้พื้นที่ และอื่นๆ นี้ ได้นำมาใช้ในการศึกษาผลกระทบโดยอาศัยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของ Streeter และ Phelps แสดงให้เห็นว่าในขณะที่แม่น้ำมีอัตราการไหลสูง (High Flow) ปานกลาง ( Intermediate Flow) และต่ำ (Low Flow) สัมประสิทธิ์การย่อยสลายสารอินทรีย์ (k1) และสัมประสิทธิ์การเติมออกซิเจนลงสู่แหล่งน้ำ (k2) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.48 – 0.74, 0.46 – 1.08 วัน-1, 0.21 – 0.28, 0.19 – 0.43 วัน-1 และ 0.12, 0.43 – 0.95 วัน-1 ตามลำดับ ความเข้มข้นของปริมาณสารอินทรีย์สูงสุดที่แม่น้ำสามารถรับได้โดยยังคงรักษาปริมาณ DO ไม่ต่ำกว่า 4.00 ppm มีค่าอยู่ระหว่าง 12,502 – 22,312, 3,607 – 8,469 และ 314 – 483 กิโลกรัมต่อวัน และปริมาณ DO ไม่ต่ำกว่า 2.00 ppm มีค่าอยู่ระหว่าง 22,419 – 37,666 , 6,879 – 13,873 และ 448 – 702 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของออกซิเจนที่ละลายน้ำที่ได้จากการคาดการณ์โดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และนอกการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ พบว่ามีค่าใกล้เคียงกัน ในขณะแม่น้ำมีอัตราการไหลสูง และปานกลาง ส่วนในขณะที่แม่น้ำมีอัตราการไหลต่ำจะให้ผลที่แตกต่างกัน จึงสามารถสรุปได้ว่าปริมาณสารอินทรีย์ที่ทิ้งลงสู่แม่น้ำย่อมก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่อแหล่งน้ำ หากไม่มีการจำกัดปริมาณของเสียให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมโดยเฉพาะในขณะที่แม่น้ำมีอัตราการไหลต่ำ
Other Abstract: The study on impact of organic loading on water quality of Rayong river was made. Analyses of physical and chemical characteristics of wastewater being discharged from factories which located along the river were made. The results of wastewater characteristics and the secondary data of water quality of Rayong river, population, land use characteristics, etc. were used as basis for Oxygen Sag Model by Streeter and Phelps. It is found that the deoxygenation coefficient (K1) and the reaeration coefficient (K2) are between the range of 0.48 – 0.74, 0.46 – 1.08 day-1, 0.21 – 0.28, 0.19 – 0.43 day-1 and 0.12, 0.43 – 0.95 day-1 during high flow, intermediate flow and low flow period of the river, respectively. The maximum organic loading that may be introduced into the river without causing the oxygen concentration downstream to fall below 4.00 ppm are 12,502 – 22,312, 3,607 – 8,469 and 314 – 483 kilograms per day and 2.00 ppm are 22,419 – 37,666 , 6,879 – 13,873 and 448 – 702 kilograms per day, respectively. Comparison of predicted DO to the observed DO indicated that during the high flow and intermediate flow period of the river, the results are not significantly different. However, during the low flow period, the values of predicated DO and observed DO are differed to some extent. Thus, it can be concluded that the limitation of organic loading discharged to the river is necessary, especially in the low flow period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28683
ISBN: 9745675652
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Helen_ar_front.pdf13.07 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch1.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch2.pdf25.64 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch3.pdf28.55 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch4.pdf9.22 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch5.pdf28.88 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_ch6.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Helen_ar_back.pdf60.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.