Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28712
Title: การสกัดแอลจิเนตจากสาหร่ายทะเลสีน้ำตาลบางสกุลในประเทศไทย
Other Titles: Extraction of alginate from some genera of brown seaweeds on Thailand
Authors: วันชัย วรวัฒนเมธีกุล
Advisors: รมณี สงวนดีกุล
กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์
สุวลี จันทร์กระจ่าง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สาหร่ายทะเลในประเทศไทยนั้นมีหลายชนิด แต่การใช้ประโยชน์จากสาหร่ายทะเลยังมีน้อยมาก ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้นำสาหร่ายทะเลสีน้ำตาล 5 สกุล คือ Padina, Chnoospora, Hydroclathrus, Sargassum และ Turbinaria มาหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอลจิเนต ผลการวิจัยพบว่าสาหร่ายสกุล Chnoospora minima เมื่อนำมาสกัดจะได้ผลิตภัณฑ์ในรูปกรดแอลจินิกสูงสุดคือร้อยละ 41.22 ของน้ำหนักสาหร่ายแห้ง ปริมาณร้อยละของกรดแอลจินิกสูงสุดของสาหร่ายสกุล Turbinaria, Sargassum, Hydroclathrus และ Padina มีค่า 18.20, 13.80, 13.53 และ 8.14 ตามลำดับ โดยสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดแอลจิเนตจากสาหร่ายสกุลChnoospora คือใช้อุณหภูมิในการสกัดที่ 70 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการสกัด 150 นาที และความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตที่เหมาะสมในการสกัดคือ ร้อยละ 15 สภาวะที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพแอลจิเนตที่สกัดได้คือ การแช่สาหร่ายแห้งก่อนสกัดด้วยกรดกำมะถันเข้มข้น 0.1 โมลาร์ นาน 30 นาที ร่วมกับการแช่สารละลายฟอร์มาดีไฮด์เข้มข้นร้อยละ 0.4 นาน 30 นาที จะทำให้แอลจิเนตที่ได้มีคุณภาพส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของ Food Chemicals Codex เมื่อใช้โซเดียมแอลจิเนตที่สกัดได้ไปทดลองใช้เป็นสารเหนียวในอาหารกุ้งกุลาดำ พบว่าเมื่อเพิ่มอัตราส่วนของโซเดียมแอลจิเนตจะทำให้อาหารกุ้งมีความคงรูปอยู่ในน้ำได้นานขึ้น และเมื่อนำอาหารกุ้งที่ใช้แอลจิเนตเป็นสารเหนียวไปทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปรากฏว่ากุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารนี้มีการเจริญเติบโตดี อัตราการตายและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารกุ้งของบริษัทซีพี ผลิตภัณฑ์อาหารมีค่าไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และยังช่วยรักษาคุณภาพน้ำในบ่อไม่ให้เสียเร็วอีกด้วย
Other Abstract: Extraction of alginate from 5 genera of brown seaweeds in Thailand namely Chnoospora, Hydroclathrus, Padina, Sargassum and Turbinaria was studied. It was found that Chnoospora minima gave the highest percentage yield of alginic acid at 41.22%. The maximum alginic acid percentage yield from Turbinaria decurrens, Sargassum spo, Hydroclathrus clathratus and Padina boryana were 18.20, 13.80, 13.53 and 8.14 respectively. The optimum condition for alginate extraction from Chnoospora minima were 1.5% of sodium carbonate at the temperature of 70 ๐c with the extraction time of 150 minutes. The acid and formaldehyde pretreatment before extraction resulted in the higher quality of alginate. The quality of a alginate obtained from Chnoospora minima with pretreatment in 0.1 M sulfuric acid for 30 minutes and in 0.4% formalin solution for 30 minutes was reasonably good as compared with Food Chemicals Codex standard of alginate. The extracted alginate was used as binder in preparing feed for Jumbo tiger prawn (Penaeus monodon Fabricius) for a period of 12 weeks. The water stability property of the prepared prawn feed increased as the concentration of sodium alginate increased. The results showed that the alginate feed gave good performance in terms of growth, survival and food conversion ratio.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28712
ISBN: 9745696439
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_wo_front.pdf6.53 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch1.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch2.pdf13.26 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch3.pdf4.3 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch4.pdf12.89 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch5.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_ch6.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_wo_back.pdf11.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.