Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28713
Title: | บทบาทรัฐสภาไทยในการควบคุมรัฐบาล โดยอาศัยการเปิดอภิปรายทั่วไป : ศึกษากรณีควบคุม รัฐบาล ชาติชาย และ รัฐบาล ชวน |
Other Titles: | The role of the Thai Parliament in controlling the government through general debates : a case study of the Chatichai and the Chuan Governments |
Authors: | วันชัย วิบูลย์กาญจน์ |
Advisors: | กระมล ทองธรรมชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | รัฐบาล -- ไทย -- สมัย พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ, 2531-2533 รัฐบาล -- ไทย -- สมัย ชวน หลีกภัย, 2535-2538 รัฐบาล -- ไทย -- การควบคุม รัฐสภา -- ไทย |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์บทบาทของรัฐสภาไทยในการควบคุมรัฐบาล โดยอาศัยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ โดยใช้เหตุการณที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เป็นกรณีศึกษา ในการวิจัยนี้ ผู้วิจัยใช้เอกสารขั้นต้นและการสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยตั้งสมมุติฐานไว้ 2 ประการ คือ 1. การเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น จะมีประสิทธิภาพมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสอดคล้องของสถานการณ์ที่ทางการ เมืองและจะต้องสอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชนเป็นประเด็นสำคัญ 2. การเปิดอภิปรายหัวไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย มีผลกระทบทางการเมืองที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้พบว่า การเปิดอภิปรายในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุนหะวัณ และในสมัย รัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีประสิทธิภาพที่แตกต่างกันคือ ในสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน มีประสิทธิภาพดีกว่าในสมัยรัฐบาล นายชวน หลีกภัย เพราะการเปิดอภิปรายในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นั้นได้มีการเปิดเผยการฉ้อราษฎร์บังหลวงในคณะรัฐบาล ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดการยึดอำนาจ โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติในปี พ. ศ. 2534 การวิจัยครั้งนี้ พบด้วยว่าประสิทธิภาพของการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล นั้นขึ้นอยู่กับข้อกล่าวหาที่ฝ่ายค้านยกขึ้นมาโจมตีรัฐบาลว่า สอดคล้องกับความรู้สึกของประชาชนหรือไม่ นอกจากนั้นการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนั้น จะเป็นมาตรการที่ใช้ได้ผลดีต้องมีเนื้อหาสาระที่ประชาชนสนใจ โดยฝ่ายค้านจะต้องเตรียมข้อมูลในการอภิปรายไม่ไว้วางใจมาเป็นอย่างดีและที่สำคัญก็คือ การเปิดอภิปรายทั่วไปนั้นฝ่ายค้านจะต้องไม่กระทำบ่อยครั้งเกินไป |
Other Abstract: | This study is aimed at analyzing the roles of thai Parliament in using the general debates on the no-confidence motion as a means to control the government, using events in the Chatichai and Chuan Governments as case study. It is a documentary research coupled with in-dept interviews The study has two assumption: First, the general debates on the no-confidence motion will be more or less effective, mainly depending on their congruency with the political situation and public sentiment. Second, the general debates on the no-confidence motion against individual Minister or the entire Council of Ministers in the Chatichai and the Chuan governments produce different effects The study finds that the no-confidence general debates against the Chatichai government and against the chuan government differ in their effectiveness. That is, the general debates against the Chatichai government are more effective than those against the Chuan government, The February 1991 military coup against the Chatichai government is partly caused by the general debates which exposed corruptions within the Chatichai administration.The study also finds that the effectiveness of the general debates on the no-confidence motion mainly depends on whether the charges the opposition made against the government are shared by the general public. In addition, the general debates to be the effective measure must contain the substance of public interest coupled with data well prepared by the opposition. It is also found out that the opposition should not too often use the general debates against the government |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปกครอง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28713 |
ISBN: | 9746324829 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wanchai_wi_front.pdf | 4.97 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch1.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch2.pdf | 21.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch3.pdf | 21.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch4.pdf | 27.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch5.pdf | 11.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_ch6.pdf | 4.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wanchai_wi_back.pdf | 5.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.