Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2875
Title: การตอบสนองทางอ้อมต่อการคัดเลือกของอัตราการเติบโตในหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis asinina Linnaeus, 1758
Other Titles: Indirect response to selection on growth rate of donkey's ear abalone, Haliotis asinina Linnaeus, 1758
Authors: สุภลัคน์ ถิรวณิชย์, 2516-
Advisors: เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: paderm@sc.chula.ac.th, Padermsak.J@Chula.ac.th
Subjects: หอยเป๋าฮื้อ -- การเจริญเติบโต
หอยเป๋าฮื้อ -- การเพาะเลี้ยง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ดำเนินโปรแกรมการคัดเลือกหอยเป๋าฮื้อชนิด Haliotis asinina ซึ่งเป็นหอยเป๋าฮื้อเขตร้อนชนิดที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ใช้วิธีการคัดเลือกแบบรายตัว โดยดูลักษณะการเติบโต ซึ่งแสดงในรูปความยาวเปลือกเป็นเกณฑ์ การทดลองเริ่มในเดือนเมษายน 2543 โดยรวบรวมลูกหอยเป๋าฮื้อขนาดระหว่าง 1.5 ถึง 2.0 ซม. ที่ผลิตได้จากพ่อแม่พันธุ์ธรรมชาติเพื่อสร้างประชากรพื้นฐาน (P0) เลี้ยงลูกหอยดังกล่าวจนถึงวัยเจริญพันธุ์ ทำโปรแกรมการคัดเลือกโดยแบ่งออกเป็นสภาพการเลี้ยงที่ต่างกัน 2 แบบกล่าวคือ แบบที่ 1 เป็นการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อในสภาพการเลี้ยงแบบระบบทดลอง เมื่อประชากรพื้นฐานมีอายุ 16 เดือน คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีขนาดโตกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 10% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่ากลุ่มเพิ่มการเติบโต กลุ่มที่มีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยของประชากร 55 10ของประชากรทั้งหมด เรียกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มที่มีขนาดเล็กกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 82 ตัว คิดเป็น 15% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่ากลุ่มลดการเติบโต แบบที่ 2 เป็นการเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อในสภาพการเลี้ยงแบบระบบพาณิชย์ เมื่อประชากรพื้นฐานมีอายุ 19 เดือน คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีขนาดโตกว่าค่าเฉลี่ยของประชากร 15% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่ากลุ่มเพิ่มการเติบโต และกลุ่มที่มีขนาดเท่ากับค่าเฉลี่ยของประชากร 58 ตัว คิดเป็น 15% ของประชากรทั้งหมด เรียกว่ากลุ่มควบคุม นำพ่อแม่พันธุ์ของทุกกลุ่ม มาผลิตประชากรหอยเป๋าฮื้อรุ่น F1 เปรียบเทียบการเติบโตของลูกหอยเป๋าฮื้อรุ่น F1 กลุ่มคัดเลือกและกลุ่มควบคุมในสภาพการเลี้ยงทั้งสองแบบ จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการทดสอบความแตกต่าง ในการเติบโตของหอยเป๋าฮื้อรุ่น F1 ที่เลี้ยงในสภาพการเลี้ยงแบบระบบทดลองพบว่า การเติบโตของหอยเป๋าฮื้อกลุ่มเพิ่มการเติบโต มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มลดการเติบโต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) ส่วนการคัดเลือกที่เลี้ยงในสภาพการเลี้ยงแบบระบบพาณิชย์ ให้ผลเช่นเดียวกันคือ หอยเป๋าฮื้อที่คัดเป็นกลุ่มเพิ่มการเติบโตมีการเติบโต เร็วกว่ากลุ่มควบคุม คิดเป็น 17.4% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในโปรแกรมการคัดเลือกกลุ่มเพิ่มการเติบโต ค่าผลตอบสนองการคัดเลือกทางอ้อมของหอยเป่าฮื้อที่เลี้ยงในสภาพการเลี้ยงแบบระบบทดลองที่อายุ 330 วัน การคัดเลือกทางเพิ่มการเติบโตและลดการเติบโตมีค่า 0.667 +- 0.975 และ -0.186 +- 0.934 ตามลำดับ ค่าอัตราพันธุกรรมที่อายุ 330 วัน ในการคัดเลือกทางเพิ่มการเติบโตและการคัดเลือกทางลดการเติบโตมีค่า 0.388 +- 0.533 และ -0.199 +- 0.598 ตามลำดับ จากการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นผลของการคัดเลือกและยีนควบคุมการเติบโต ทั้งนี้ การคัดเลือกแบบรายตัวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตหอยเป่าฮื้อได้ โดยการคัดเลือกหอยเป่าฮื้อสามารถกระทำไปพร้อมกับการเลี้ยงหอยเป่าฮื้อเชิงพาณิชย์ได้
Other Abstract: A selective breeding program for commercial abalone, Haliotis asinina, used individual selection method for growth rate in the form of shell length as a criteria. The experiment started in April, 2000 by gathering juvenile abalone (1.5-2.0 cm. in shell length) produced from wild-caught broodstocks to create the base population (P0). These juveniles were grown up until they reached maturation. Selection program was designed to compare 2 different conditions of culture: the experimental-scale condition and the commercial-scale condition. The fully matured broodstock of P0 of the experimental-scale condition were selected and divided into 3 groups (ie. Fast, Control and Slow) when they were 16 months old. While those of the commercial-scale condition were divided into 2 groups (ie. Fast and Control) when they were 19 months old. Offspring (F1) produced from each group and grown in each condition were compared for their growth rates. In the experimental-scale condition, growth rate of F1 form the Fast group wassignificantly greater than that of the Control group and that of the Slow group (p<0.05). A similar pattern was also observed in the commercial-scale condition. Results obtained from both conditions indicated the possibility of the selection program to increase growth rate in the fast group. The values of indirect response to selection on growth rate of 330-day old F1 in the experimental-scale condition for positive and negative selection were 0.667 +- 0.975 and 0.186 +- 0.934 respectively. The values of heritability at 330 days for positive and negative selection were 0.388 +- 0.533 and 0.199 + - 0.598 respectively. The values of indirect response to selection and heritability of 300-day old F1 in the commercial-scale condition were unable to obtain due to the loss of individual tag. Data from this study showed that the selective breeding program using individual selection could efficiently increase production of abalone and can be incorporated into the daily operation scheme of commercial-scale farming.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2875
ISBN: 9741729235
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppaluk.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.