Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28770
Title: การสำรวจและออกแบบแนวสายส่งศักย์สูงโดยเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่าย
Other Titles: A photogrammetric technique for alignment survey and location design of high voltage transmission lines
Authors: เล็ก จูฑะสุต
Advisors: วิชา จิวาลัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสำรวจเพื่อออกแบบเบื้องต้นของแนวสายส่งศักย์สูงในประ เทศไทยที่ผ่านมาจะใช้ การสำรวจทางภาคพื้นดิน วิธีการดังกล่าวนอกจากต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงและอยู่ในท้องที่นานแล้ว บางครั้งอาจมีปัญหาและอุปสรรค เกี่ยวกับที่ดินที่แนวสำรวจผ่าน อาทิเช่น พื้นที่อันตรายจากอิทธิพลในท้องถิ่นหรือผู้ก่อการร้าย เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้ทดลองนำเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่ายมาใช้สำรวจออกแบบเบื้องต้น เพราะนอกจากจะหลีกเลี่ยงอุปสรรคและแก้ปัญหาบางประการได้แล้ว ยังสามารถศึกษาพื้นที่ได้ กว้าง และพิจารณาได้หลายๆแนว เพื่อให้ได้แนวที่เหมาะสม การสำรวจแนวสายส่งด้วยเทคนิคของภาพถ่ายประกอบด้วย การบินถ่ายภาพตามแผน งานที่กำหนด การสำรวจหาจุดควบคุมภาคพื้นดิน การทำข่ายสามเหลี่ยมทางอากาศ การสร้างรูป จำลองสามมิติ การจัดทำแผนที่และรูปตัดตามแนวด้วยเทคนิคการสำรวจด้วยภาพถ่าย เพี่อใช้ ประกอบในการกำหนดตำแหน่งและความสูงเสา ตลอดจนเป็นแนวทางสำหรับประเมินการก่อน การก่อสร้างสายส่ง แผนที่มาตราส่วน 1:2,500 และรูปตัดตามแนวมาตราส่วนทางดิ่ง 1:500 ทำจากแถบของภาพถ่ายมาตราส่วน 1:8,000 สองแถบ คลุมพื้นพี่เนินเขา ป่า และสวนยาง ประมาณ 8.6 กิโลเมตร ประกอบด้วยรูปจำลอง 11 โมเดล มีจุดควบคุมภาคพื้นดินทางราบและทางดิ่ง บริเวณต้น ตรงกลาง และปลาย ของแต่ละแถบ การเปรียบเทียบจากแผนที่และรูปตัดตามแนวพบว่า การสำรวจด้วยเทคนิคภาพถ่าย ให้ผลใกล้เคียงกับการสำรวจภาคพื้นดิน และให้ความถูกต้องทางราบกับทางดิ่ง ประมาณ 0.70 และ 0.30 เมตร ตามลำดับ ซึ่งเพียงพอสำหรับงานเขียนแผนที่ในมาตราส่วน 1:2,500 และ รูปตัดตามแนวมาตราส่วนทางดิ่ง 1:500 การ เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและระยะเวลาของการสำรวจทั้งสองแบบปรากฏว่า การใช้เทคนิคของภาพถ่ายจะประหยัดกว่าและรวดเร็วกว่า เมื่อแนวสายส่งมีระยะมากกว่า 40 กม. ขึ้นไป ความแตกต่างในด้านค่าใช้จ่ายโดยประมาณแสดงในรูปสมการ โดยให้ Δy เป็นความแตกต่าง ของค่าใช้จ่าย เป็นบาท และ X เป็นระยะทางขอแนวสาย เป็นกิโลเมตร จะได้ Δy = - 1,450 + 5,512.6 (x - 20) -13.3 (x - 20)2
Other Abstract: Alignment survey and location design of high voltage transmission line in Thailand, so far, has been carried out by ground surveying. This technique is rather costly and requires a considerable amount of time-consuming fieldwork. Moreover, in some areas there are various problems and obstacles in the field along the proposed route eg. local dark power, sensitive area etc. In this research an attempt was made to apply a photogrammetric technique for a preliminary survey and design. Its advantages are not only the solution to the said problems but also the provision of alternative route selection and wider coverage of the terrain. The photogrammetric technique for alignment survey and location design consists of photographing the terrain along the planned route; establishing ground control; execution of aerial triangulation; restitution of stereo models; photogrammetric mapping and profiling. The plan and profile is then used for preliminary design of tower locations and tower heights, and construction cost estimation. The plan at scale 1:2,500 and profile with vertical scale 1:500 were derived from two strips of aerial photographs at scale 1:8,000 covering hilly terrain, forest and rubber plantation. The coverage along the centerline is about 8.6 kilometers and consists of 11 stereo-models. There are 3 bands of ground control in each strip i.e. one at the beginning, one in the middle, and one at the end. When compare the plan and profile obtaining from photogrammetric survey to those from ground survey it was found that they are in good agreement. The accuracy from photogrammetric technique are 0.70 meter in planimetry and 0.30 meter in height which are sufficient for planimetric scale of 1:2,500 and height scale of 1:500. From the comparison of cost and time between the two techniques, it was found that the photogrammetric technique is faster and more economic when the length of the route is more than 40 kilometers. The difference in cost can approximately be described mathematically as Δy = - 1,450 + 5,512.6 (x - 20) - 13.3 (x - 20)2 where Δy is the difference in cost (in Bahts) X is the length of the route (in kilometers)
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสำรวจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28770
ISBN: 9745636789
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lek_ch_front.pdf12.74 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_ch1.pdf3.93 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_ch2.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_ch3.pdf17.32 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_ch4.pdf49.46 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_ch5.pdf5.36 MBAdobe PDFView/Open
Lek_ch_back.pdf70.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.