Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28796
Title: ปัญหาการรวมเกาหลี (พ.ศ. 2530-2533)
Other Titles: The problems of Korean reunification (1987-1990)
Authors: เศรษฐพันธ์ กระจ่างวงษ์
Advisors: วินิตา ศุกรเสพย์
ดำรงค์ ฐานดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาปัญหาการรวมประเทศเกาหลี ในช่วงพ.ศ. 2530- 2533 ซึ่งเป็นยุคแห่งการสิ้นสุดของสงครามเย็น อันเป็นระยะเวลาที่สภาพแวดล้อมโลก มีการปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น จนนำพาให้รัฐที่เคยถูกแบ่งแยกออกจากกันในสมัยสงครามเย็น ดังเช่น เยอรมนี และเยเมน สามารถรวมประเทศได้ แต่ด้วยเหตุใด คาบสมุทร เกาหลีจึงยังไม่สามารถรวมตัวได้ การศึกษาในที่นี้ จึงมุ่งเน้นไปยังการวิ เคราะห์วิวัฒนาการแห่งโครงสร้างภายในของ เกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ และนโยบายว่าด้วยการรวมประเทศที่ทั้งสองฝ่ายมีให้แก่กัน ในช่วง เวลาที่กำหนดเป็นขอบเขตในการศึกษาเพี่อวิเคราะห์หาความเกี่ยวพันของโครงสร้างแห่งรัฐเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ในฐานะที่เป็นปัจจัยก่อให้เกิดนโยบายว่าด้วยการรวมประเทศที่ออกมาในลักษณะขัดแย้งกัน ผลของการศึกษา พบว่าการกำหนดนโยบายรวมประเทศของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ มีส่วนสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับความได้เปรียบเสียเปรียบของโครงสร้างภายในของตน กล่าวคือ เกาหลีเหนือซึ่ง มีความได้เปรียบในเสถียรภาพทางการเมือง กลไกการบังคับบัญชาทางทหาร และเอกภาพในสังคม พยายามกำหนดนโยบายรวมประเทศที่เน้นไปยังการรวมตัวจากการจัดการในประเด็นทางการเมือง การทหาร และ พยายามใช้เอกภาพในสังคมในกระบวนการเจรจาต่อรอง ก่อนที่จะพิจารณาเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการให้เสรีภาพในสังคม ในทางตรงกันข้าม เกาหลีใต้ซึ่งมีความได้เปรียบในความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และมีสังคมที่เบิกกว้างกว่า ก็พยายามกำหนดนโยบายรวมประ เทศที่เริ่มจากการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และพยายามส่งเสริมให้มีการพัฒนาเสรีภาพในสังคมก่อนที่จะมีการรวมตัวทางการเมือง
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the problems of' unification of the two Koreas during 1987 - 1990, which coincides with the end of the Cold War. .The resulting improvement in the international environment led to the reunification of previously divided countries as Germany and Yemen. The question that comes to mind is why there is no unification in the Korean peninsula. This thesis , therefore , focuses on the analysis of the development of domestic structures in North and South Korea and the conditions each sides set for the reunification as the factors that brought about conflicting policies on reunification. From this study, it is concluded that the formulation of reunification policies of both 'North and South Korea has definite linkage with the advantage and disadvantage to; the internal structures of respective countries. North Korea which has the advantage of political stability, mechanisms of control of the military and social homogeneity proposed a reunification policy that stresses the political, military and social dimensions of unification in its negotiating process prior to consideration of economic unification. On the contrary, South Korea-.which has the advantage of economic prosperity and more opened society therefore places her priority on the development of economic cooperation and the promotion of a more opened society before political and military reunification.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28796
ISBN: 9745798681
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sedthapandh_kr_front.pdf8.74 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_ch1.pdf16.94 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_ch2.pdf41.16 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_ch3.pdf40.37 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_ch4.pdf36.39 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_ch5.pdf21.1 MBAdobe PDFView/Open
Sedthapandh_kr_back.pdf87.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.