Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28837
Title: | ความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับคำกริยาในประโยคภาษาไทย |
Other Titles: | Semantic relationships between nouns and verbs in Thai sentences |
Authors: | ภาณุ สังขะวร |
Advisors: | นววรรณ พันธุเมธา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์จะศึกษาความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับ คำกริยาในประโยคภาษาไทยว่ามีความสัมพันธ์เป็นกี่แบบ และจะศึกษาบทบาทของคำเชื่อมที่มีต่อความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับคำกริยา ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า คำนามจะมีความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์กับคำกริยา เป็นแบบต่างๆ ได้ 16 แบบ คือ ผู้ทำ ผู้ทรงสภาพ ผู้ประสบ ผู้ถูก ผล ผู้รับประโยชน์ ผู้เสริม ผู้ร่วม เครื่องมือ สาเหตุ เวลา สถานที่ จุดหมาย แหล่งเดิม หน่วยวัด และลักษณะ ส่วนคำเชื่อมนั้น มีบทบาทต่อความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับคำกริยา คือช่วยแสดงความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์แบบต่างๆ 11 แบบ ในจำนวนนี้ 2 แบบจำ เป็นต้อง ใช้คำเชื่อมช่วยแสดงความสัมพันธ์เสมอ 8 แบบจำเป็นต้องใช้คำเชื่อมช่วยแสดงความสัมพันธ์ ในบางกรณี มีเพียงแบบ เดียว เท่านั้นที่ไม่จำ เป็นต้องใช้คำ เชื่อมช่วยแสดงความสัมพันธ์ แต่แม้ว่า คำเชื่อมจะไม่จำเป็นต้องใช้แสดงความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ระหว่างคำนามกับคำกริยาในบางกรณี คำเชื่อมก็ยังมีความสำคัญ คือ ช่วยระบุความสัมพันธ์ทางอรรถศาสตร์ให้แน่ชัด |
Other Abstract: | The purpose of this thesis is to study semantic relationships between nouns and verbs in Thai sentences. The emphasis of the study is put on types of these relationships and on the roles of prepositions which help determine the relationships. The study reveals that there are altogether 16 types of semantic relationships between nouns and verbs. They are Agentive, Patient, Experiencer, objective, Factitive, Benefactive, Complement, Comitative, Instrumental, Causative, Time, Locative, Goal, Source, Measure and Manner. Prepositions help to indicate 11 types of semantic relationships between nouns and verbs. Two of those 11 types need prepositions to indicate the relationships. Eight types need prepositions to indicate the relationships only in some cases. There is only one type that needs not have a preposition to indicate the relationship. Eventhough prepositions are not necessary for indicating the semantic relatiinships between nouns and verbs in some cases, it helps to clarify the cases in which the semantic relationships between nouns and verbs are ambiguous. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาไทย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28837 |
ISBN: | 9745634948 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phanu_su_front.pdf | 7.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch1.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch2.pdf | 32.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch3.pdf | 32.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch4.pdf | 28.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch5.pdf | 10.38 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_ch6.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phanu_su_back.pdf | 66.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.