Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28855
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบการจัดการสวัสดิการของการไฟฟ้านครหลวง และการประปานครหลวง |
Other Titles: | A comparative study on welfare management of Metropolitan Electricity Authority and Metropolitan Water Work Authority |
Authors: | เสถียร เตชะบรรณะปัญญา |
Advisors: | ธรรมนูญ ตัณฑะเตมีย์ อัจฉรา จันทร์ฉาย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการจัดการสวัสดิการของ การไฟฟ้านครหลวงและการประปานครหลวง ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการรับสวัสดิการของพนักงานรัฐวิสากิจทั้งสองแห่ง ความรู้ความเข้าใจของพนักงายของรัฐวิสาหกิจที่มีต่อระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับสวัสดิการ ระดับความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการประเภทต่างๆ การวิจัยได้ศึกษาข้อมูลทุติยภูมิโดยค้นคว้าจากเอกสารต่างๆ เช่น คู่มือการบริหารงานบุคคล ระเบียบหรือคำสั่งว่าด้วยสวัสดิการ ส่วนข้อมูลปฐมภูมิได้จากการออกแบบสอบถามไปยังพนักงานระดับผู้อำนวยการลงมาจนถึงพนักงานระดับคนงานและนักการของรัฐวิสากิจทั้งสอง การวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิจะวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งสิ้น 594 ชุด ซึ่งประกอบด้วย แบบสอบถามจากพนักงานการไฟฟ้านครหลวง 358 ชุด และแบบสอบถามของการประปานครหลวง 236 ชุด ผลที่ได้จากการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1.สิทธิในการรับสวัสดิการของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่ง มีความเท่าเทียมกัน และไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือจากการศึกษาเปรียบเทียบระเบียบว่าด้วยสวัสดิการที่พนักงานทั่วๆไปมีสิทธิได้รับของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งสองพบว่า ประเภทสวัสดิการที่พนักงานของรัฐวิสาหกิจทั้ง สองมีสิทธิในการรับสวัสดิการเท่าเทียมกันทั้งสิ้น 13 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ เงินค่าคลอดบุตร การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรัฐบาล เป็นต้น ประเภทสวัสดิการที่พนักงานของการไฟฟานดรหลวงมีสิทธิในการรับสวัสดิการดีกว่าพนักงานการประปานครหลวงมีทั้งสิ้น 16 ประเภท ได้แก่ เงินกู้ เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน เงินช่วยเหลือค่ากระแสไฟฟ้า รถรับส่งพนักงาน การตรวจสุขภาพประจำปี เงินโบนัส เป็นต้น ประเภทสวัสดิการที่พนักงานของการประปานครหลวงมีสิทธิในการรับดีกว่าพนักงานการไฟฟ้านครหลวงมีทั้งสิ้น 8 ประเภท ได้แก่ ทุนการศึกษาของบุตรพนักงาน เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน การลากิจ การลาป่วย เป็นต้น 2. การประเมินผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจต่อระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับ สวัสดิการของรัฐวิสาหกิจทั้งสองพบว่า จากการทดสอบความรู้ความเข้าใจของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงต่อระเบียบสวัสดิการ 24 ประเภท มีพนักงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปที่ตอบระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับสวัสดิการได้ถูกต้อง 16 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐบาล เงินกู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน การตรวจสุขภาพประจำปี เงินช่วยเหลือค่าทำศพ ค่าฌาปนกิจสงเคราะห์ เป็นต้น ส่วนสวัสดิการที่เหลืออีก 8 ประเภทที่พนักงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ตอบระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับสวัสดิการได้ถูกต้อง ได้แก่ เงินช่วย เหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร สวัสดิการแก่ผู้เกษียณอายุ เป็นต้น ส่วนการทดสอบความรู้ความเข้าใจของพนักงานการประปานครหลวงต่อระเบียบสวัสดิการ 24 ประเภท พบว่าพนักงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปที่ตอบระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับสวัสดิการได้ถูกต้อง 19 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐบาล ทุนการศึกษา เงินช่วยเหลือบุดร การตรวจสุขภาพประจำ ปี เป็นต้น ส่วนสวัสดิการที่เหลืออีก 5 ประเภท มีพนักงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ตอบระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการขอรับสวัสดิการได้ถูกต้อง ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน สวัสดิการแก่ผู้เกษียณอายุ เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เป็นต้น 3. การวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการ จากการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงต่อประโยชน์ที่ได้รับจาก สวัสดิการ 25 ประเภท พบว่าพนักงานมีระดับความพึงพอใจปานกลางต่อประโยชน์ที่ได้รับจาก สวัสดิการ 11 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือการศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือค่าไฟฟ้า การจัดรถบริการรับส่ง การตรวจสุขภาพประจำปี เงินบำเหน็จ เป็นต้น และต้นมีระดับความพึงพอใจมากต่อสวัสดิการ 14 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ การ มอบทุนการศึกษา ค่าคลอดบุตร เงินกู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน การให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์เป็นต้น และจากการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของพนักงานการประปานครหลวงต่อประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการ 22 ประเภท พบว่า พนักงานมีระดับความพึงพอใจปานกลางต่อประโยชน์ที่ได้รับจากสวัสดิการ 14 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ เงินช่วยเหลือบุตร เงินค่าคลอดบุตร เงินกู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน การรักษาพยาบาลเป็นต้น และมีสวัสดิการ 6 ประเภท ที่พนักงานมีระดับความพึงพอใจน้อยต่อประโยชน์ที่ได้รับ ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่าน้ำประปา การตรวจสุขภาพประจำปี การบริการห้องสมุด การบริการวารสาร การให้คำปรึกษาทางกฎหมาย เป็นต้น และพนักงานมีระดับความพึงพอใจมากในสวัสดิการที่เหลือ 2 ประเภท ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล และการบริการรักษาพยาบาล 4. จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นด้านความเหมาะสมในการจัดสวัสดิการ จากการวิเคราะห์ความคิดเห็นของพนักงานการไฟฟ้านครหลวงต่อการจัดสวัสดิการ 22 ประเภท พบว่าพนักงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปที่เห็นว่าการจัดสวัสดิการเพียง 7 ประเภท เท่านั้นได้เหมาะสมได้แก่ เงินช่วยเหลือบุตร เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร เงินช่วยเหลือค่ากระแสไฟฟ้า เงินโบนัสเป็นต้น ส่วนสวัสดิการที่เหลือ 15 ประเภท มีพนักงานต่ำกว่าร้อยละ 50 เห็นว่าการจัดสวัสดิการมีความเหมาะสม ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ทุนการศึกษาบุตร การบริการรถรับส่งพนักงาน การให้อาคารสงเคราะห์ เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์ความคิดเห็นของพนักงานการประปานครหลวง 19 ประเภท พบว่าพนักงานตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปที่เห็นว่าการจัดสวัสดิการเพียง 2 ประเภทเท่านั้น มีความเหมาะสม ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร และการลาป่วย ส่วนสวัสดิการที่เหลือ 17 ประเภท มีพนักงานต่ำกว่าร้อยละ 50 ที่เห็นว่าการจัดสวัสดิการนั้นมีความเหมาะสม ได้แก่ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เงินช่วยเหลือค่าศึกษาบุตร เงินช่วยเหลือค่าน้ำประปา การบริการรถรับส่งพนักงาน เงินช่วยเหลือค่าทำศพ เป็นต้น |
Other Abstract: | The purpose of this thesis was to study and to compare the welfare management of Metropolitan Electricity Authority and Metropolitan Water Works Authority. The study emphasized the rights of employees of both state enterprises in receiving welfare security, knowledge and understanding about reles and regulations in applying for welfare security and levels of satisfaction towards benefits from various welfares. The research was performed through studying of secondary data derived from documents such as; personnel management manuals, regulations and statements concerning welfare security. Whereas, the primary data were collected from questionnaires distributed to employees assuming positions of department directors down words to workers of both state enterprises. The analysis of primary data was done through 594 sets of completed questionnaires, consisted of 358 sets of questionnaires from employees of Metropolitan Electricity Authority and 236 sets of the same from employees of Metropolitan Water works Authority. The results of the research revealed as follows : 1.The Comparative study revealed the the rights of both state enterprise's employees in receiving welfare security 13 categories were equal such as living expenses, maternity fees, legal counseling, medical coverage for public hospitals, funeral expenses and so on. Then were 16 categories of which the Metropolitan Electricity Authority's employees had got better benefit than those of the Metropolitan Water Works Authority's employees such as real estate loans, free electricity, free transportation, health check - up, bonus and so on. And, there were 8 categories of which the Metropolitan Water works Authority's employees had got better benefits such as child's scholarships, medical coverage for private hospital, private leave, sick leave and so on. 2.The evaluation of the tests on knowledge and understanding of rules and regulations in applying for welfare security in both state enterprise revealed that ; 50% or more of Metropolitan Electricity Authority's employees were able to give the correct answers for 16 out of 24 categories such as medical coverage for public hospitals, real estate loans, health check - up, funeral expense, cremation expenses and so on. For the rest 8 categories, less than 50% of employees could give the correct answers such as medical coverage for private hospitals, maternity fees retirement benefits and so on. On the other hand, the tests of knowledge and understanding on 24 welfare securities' rule or regulation revealed that ; 50% or more of the employee's Metropolitan Water Works Authority were able to give the correct answers of the tests for 19 categories such as medical coverage for public hospitals, child scholar ships, child care expenses, health check - up and so on. While for the rest categories, less than 50% of the employees could give the correct answers such as medical coverage for private hospitals, retirement benefits, funeral expense and so on. 3.The analysis on levels of satisfaction of employees towards the benefits from welfare securities revealed that ; out of 25 categories, the Metropolitan Electricity Authority's employees had moderate satisfaction on 11 categories such as medical coverage, child care expenses free electricity, free transportation health check - up, retirement benefits and so on. And, were highly satisfied on 14 categories of the welfares such as living expenses, child's scholar ships, maternity fees real estate loan, counseling service and so on. Whereas, the analysis of satisfaction of the Metropolitan Water Works Authority's employees revealed that ; out of 22 categories of the welfares, the level of employee's satisfaction were moderate on 14 categories such as living expenses, child care expenses, maternity fees, real estate loans, medical services and so on. While, they showed less satisfied on 6 categories such as free water, health checkup, library services journal services, regal counseling and so on. And, impress highly satisfied on the rest 2 categories such as medical coverage and medical service. 4. From the analysis of opinions concerning the suitable of welfare management, it was found that ; out of 22 categories, 50% or more of the Metropolitan Electricity Authority's employees had viewed that the welfare management of only 7 categories was suitable such as child care expenses, maternity fees, free electricity, bonus and so on. Whereas, for the rest 15 categories, less than 50% of the employees had viewed that the welfare management was suitable such as medical coverage, child's scholar ships, free transportation, low rent accommodation and so on. One the other hand the analysis of opinions of the Metropolitan Water Works Authority's employees revealed that out of 19 categories, 50% or more of the employees had viewed that the welfare management of only 2 categories was suitable such as maternity fees and sick leave. While on the rest 17 categories, less than 50% of the employees had viewed it as suitable such as medical coverage, child's school fees, child's scholar ship, free water, free transportation, funeral expenses and so on. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารธุรกิจ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28855 |
ISBN: | 9745642509 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathian_te_front.pdf | 18.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch1.pdf | 9.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch2.pdf | 29.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch3.pdf | 17.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch4.pdf | 24.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch5.pdf | 94.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_ch6.pdf | 5.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathian_te_back.pdf | 49.39 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.