Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28890
Title: ผลของการใช้หนังสือบำบัดต่อความวิตกกังวลของเด็กป่วยในโรงพยาบาล : การศึกษาเฉพาะกรณีคนไข้โรคไต
Other Titles: Effects of bibliotherapy on the anxiety of hospitalized children : a case study of renal disease patients
Authors: อัมพร พินิจวัฒนา
Advisors: นิรมล ชยุคสาหกิจ
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึงผลของการบำบัดด้วยหนังสือต่อภาวะความวิตกกังกลในเด็กป่วยเรื้อรัง โดยศึกษาเป็นรายกรณีกับเด็กป่วยชาย หญิง จำนวน 8 คน อายุระหว่าง 9-12 ปี ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5 สัปดาห์ โดยเข้ารับการรักษา 1 สัปดาห์ ก่อนการทดลอง พักในโรงพยาบาลตลอดระยะเวลาการทดลอง 3 สัปดาห์ และต้องอยู่ในโรงพยาบาลหลังการทดลองต่อไปอีกอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ผู้วิจัยจัดเด็กออกเป็นกลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งหมด 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ 1 มี 3 คน ให้รับการบำบัดด้วยหนังสือ ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็ก ระหว่างการทดลอง พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของโรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองที่ 2 มี 3 คน ให้อ่านหนังสือทั่วไปสำหรับเด็ก ที่ไม่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็ก พร้อมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของโรงพยาบาลตามปกติ กลุ่มควบคุม มี 2 คน ให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงพยาบาลตามปกติ โดยผู้วิจัยไม่ได้หาหนังสือใด ๆ มาให้อ่าน ขั้นตอนต่าง ๆ ในการวิจัย มีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 2 ให้กลุ่มตัวอย่างทำมาตรวัดความวิตกกังวลก่อนการทดลอง ขั้นตอนที่ 3 ผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและผู้เกี่ยวข้องก่อนการทดลอง ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม ตามเงื่อนไขในการวิจัย ขั้นตอนที่ 5 ให้กลุ่มตัวอย่างทำมาตรวัดความวิตกกังวลหลังการทดลอง ขั้นตอนที่ 6 ผู้วิจัยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างและผู้เกี่ยวข้องหลังการทดลอง เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ดูระดับความวิตกกังวลก่อนและหลังการทดลอง ของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากคะแนนสูงสุดของมาตรวัดความวิตกกังวล ซึ่งมีคะแนนสูงสุดเท่ากับ 49 คะแนน ถ้าเด็กคนใดได้คะแนนมากกว่า 25 คะแนน คือมากกว่า ร้อยละ 50 ของคะแนนทั้งหมด ถือว่า มีความวิตกกังวลสูง ส่วนเด็กคนใดได้คะแนนต่ำ กว่า 24 คะแนน คือต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนทั้งหมด ถือว่าไม่มีความวิตกกังวล (Zung 1978: 2) โดยพิจารณาร่วมกับข้อมูลจากการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมและการสัมภาษณ์เด็กแต่ละคน จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า เด็กกลุ่มทดลองที่ 1 คะแนนความวิตกกังวลลดลงทั้ง 3 ราย โดยได้คะแนนความวิตกกังวลก่อนการทดลองมากกว่าร้อยละ 50 และได้คะแนนความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนมาตรวัดความวิตกกังวลทั้งฉบับ โดยคะแนนความวิตกกังวลที่ลดลงนี้ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งแสดงว่า หลังการทดลองเด็กกลุ่มทดลองที่ 1 ทั้ง 3 ราย มีความวิตกกังวลลดลง เด็กกลุ่มทดลองที่ 2 คะแนนความวิตกกังวลลดลง 2 ราย เพิ่มขึ้น 1 รายแต่คะแนนความวิตกกังวลทั้งก่อนและหลังการทดลองของเด็กทั้ง 3 ราย เมื่อเทียบเป็นร้อยละแล้ว มีคะแนนมากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนมาตรวัดความวิตกกังวลทั้งฉบับ และเด็กทุกรายไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งแสดงว่า หลังการทดลองเด็กกลุ่มทดลองที่ 2 ยังคงมีความวิตกกังวลสูง เด็กกลุ่มควบคุม คะแนนความวิตกกังวลลดลง 1 ราย เพิ่มขึ้น 1 ราย แต่คะแนนความวิตกกังวลทั้งก่อนและหลังการทดลอง มากกว่าร้อยละ 50 ของคะแนน มาตรวัดความวิตกกังวลทั้งฉบับ และไม่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งแสดงว่า หลังการทดลอง เด็กกลุ่มควบคุมยังคงมีความวิตกกังวลสูง จึงสรุปผลการทดลองครั้งนี้ ได้ว่า การบำบัดด้วยหนังสือที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็ก มีผลช่วยลดความวิตกกังวลในเด็กป่วยเรื้อรังได้จริง อย่างไรก็ตาม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษารายกรณี กระทำกับกลุ่มตัวอย่างจำนวนน้อย จึงไม่สามารถนำไปกล่าวอ้างเป็นตัวแทนของประชากรได้ และผลการวิจัยก็ไม่สามารถนำไปยืนยันได้ว่า การบำบัดด้วยหนังสือจะมีผลลดความวิตกกังวลในเด็กป่วยเรื้อรังทุกรายได้ เพียงแต่สามารถนำไปเป็นตัวอย่างอ้างอิงได้เท่านั้น ฉะนั้นผู้วิจัยจึงใคร่เสนอแนะ สำหรับผู้ที่สนใจจะทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปว่า ควรทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มใหญ่ ที่สามารถนำไปกล่าวอ้างเป็นตัวแทนของประชากรได้ เพื่อผลการศึกษาวิจัย จะสามารถนำไปยืนยันถึงประโยชน์ของการบำบัดด้วยหนังสือได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น.
Other Abstract: The aim of this research was to study effects of Bibliotherapy on the level of anxiety of pediatric patients who suffered from chronic disease. Case studies were conducted on 8 male and female pediatric patients aged 9-12 years. They suffered from chronic Renal Disease and had to be hospitalized for at least 5 week: admitted 1 week perior to the time of study, they stayed for the whole course of the 3 weeks study and stayed in the hospital for at least 1 more week after the study. The researcher divided these patients into 3 groups. Experimental group 1 Consisted of 3 patients. They attended the Bibliotherapy during the course of the study as well as participated in hospital activities as usual. Experimental group 2 Consisted of 3 patients. General books for children were offered for them to read. The books’ content were not related to the patients problems. They also participated in routine hospital activities. The control group Consisted of 2 patients. They participated in hospital activities without being offered books to read. The steps in the process of this research were as follow Step 1. Select the groups of samples for the study Step 2. Have the groups of samples do the pre-test of anxiety before the experiment. Step 3.Interview the groups of samples and related persons before the experiment. Step 4.Conduct the experiment under the conditions of the research. Step 5.Have the groups of samples do the post-test of anxiety after the experiment. Step 6.Interview groups of samples and related persons after the experiment. After the experiment was over, a comparison of anxiety scores before and after the treatment was made to identify the differences among these 3 groups. The highest score on the anxiety test was 49 points. The children who scored more than 25 points (over 50%) on the test were considered to have a high level of anxiety. The children who scored less than 24 points (under 50%) were considered to be without anxiety (Zung 1978: 2).The finding of this research show that: Experimental group 1: All 3 patients had lower scores on the anxiety test. Pre-test scores were over 50% and post-test scores were less than 50%. The decrease in scores on the test was significantly related to the changes in behavior of these patients. Therefore, all children in this group were considered to be less anxious after the experiment. Experimental group 2: 2 patients had lower scores on the anxiety post-test while the third one showed an increase. However, the scores of all 3 patients on both pre-test and post-test were over 50% and there was no positive changes in their behavior. They were considered to still have a high level of anxiety after the experiment. Control group: Scores on the anxiety test decreased in one patient and increased in the other. Scores on both pre-test and post-test were higher than 50%. Their behavior did not change positively at all. So that they were considered to retain a high level of anxiety after the experiment. In conclusion, this study shows that Bibliotherapy results in decreasing the anxiety of chronic pediatric patients significantly. However, the method used in this research was the case study: the number of subjects was too small to respresent the total population. The conclusions of this research cannot be used to confirm that Bibliotherapy would result in decreasing the anxiety in “all cases” of such patients. It can only be utilized as an example of reference. The researcher suggests that any individual who is interested in further study of this topic should study samples large enough to respresent the population in order to obtain more significant results to confirm the utility of the Bibliotherapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28890
ISSN: 9745643645
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amporn_pa_front.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_ch1.pdf7 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_ch2.pdf38.74 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_ch3.pdf9.71 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_ch4.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_ch5.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open
Amporn_pa_back.pdf21.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.