Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28913
Title: ความคาดหวังที่มีต่อบริการจ่าย-รับของผู้ใช้บริการหอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Users' expectation to circulation services of the Central Library, Academic Resource Center, Chulalongkorn University
Authors: แก้วตา จันทรวราภา
Advisors: จ้อย นันทิวัชรินทร์
สุพพัดดา ปวนะฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้หอสมุดกลาง สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีต่อบริการจ่าย-รับในด้านอาคารสถานที่และห้องอ่านหนังสือ ด้านวัสดุห้องสมุดและการจัด ด้านบริการจ่าย-รับประเภทต่างๆ ด้านบุคลากรของบริการจ่าย-รับ และด้านระเบียบและกฎเกณฑ์ของหอสมุดกลางที่เกี่ยวข้องกับการบริการจ่าย-รับ ผลการวิจัยอาจใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงงานบริการจ่าย-รับของหอสมุดกลางให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง วิธีดำเนินการวิจัย ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ได้จากแบบสอบถามซึ่งแจกให้กับตัวอย่างประชากรที่ได้รับการสุ่มขึ้นมาจำนวน 465 คน หรือประมาณร้อยละ 5 ของจำนวนผู้ใช้หอสมุดกลางที่สมัครเป็นสมาชิกสถาบันวิทยบริการทั้งสิ้นจำนวน 9,197 คน ประกอบด้วยผู้ใช้บริการ 4 ประเภทคือ นิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา อาจารย์และบุคลากรอื่นๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยายาลัย แบบสอบถามดังกล่าวได้รับการแจกในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2526 และได้รับคืนจำนวน 359 ชุด คิดเป็นร้อยละ 77.20 ของจำนวนที่แจกทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติประเภท ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย ผู้ใช้ห้องสมุดกลางทุกประเภทมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกือบทุกเรื่อง กล่าวคือมีความพอใจต่อบริการจ่าย-รับส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและระดับน้อย และมีความคาดหวังในเรื่องดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้ทุกประเภทปรากฏว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแทบทั้งหมด โดยมีระดับความคาดหวังสูงกว่าระดับความพึงพอใจเป็นส่วนใหญ่ ทั้งในด้านอาคารสถานที่และห้องอ่านหนังสือ ด้านการจัดชั้นและสภาพหนังสือ ด้านบริการยืมระหว่างห้องสมุด ด้านบริการช่วยเหลือผู้ใช้กับด้านบุคลากรของบริการจ่าย-รับ ส่วนด้านบริการจ่าย-รับประเภทอื่นๆ ซึ่งได้แก่ บริการทำบัตรสมาชิกฯ บริการให้ยืมและคืนหนังสือ ตลอดจนด้านระเบียบและกฎเกณฑ์ของหอสมุดกลางที่เกี่ยวข้องกับบริการจ่าย-รับ จะปรากฏความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในบางเรื่องหรือในผู้ใช้บางประเภทเท่านั้น แสดงว่าผู้ใช้หอสมุดกลางส่วนใหญ่ยอมรับในสภาพและหลักปฏิบัติในเรื่องดังกล่าว แต่ยังมีความต้องการให้ปรับปรุงด้านอื่นๆ ให้มีสภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม ผลการวิจัยนับได้ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยทั้ง 3 ประการที่ว่าผลเฉลี่ยคำตอบของผู้ใช้หอสมุดกลางแสดงถึงความพึงพอใจในระดับปานกลาง น้อยและน้อยที่สุด แสดงถึงความคาดหวังในระดับมาก และมากที่สุด และมีผลต่างระหว่างความพึงพอใจและความคาดหวังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ 1. กำหนดหลักปฏิบัติที่แน่นอนเกี่ยวกับบริการหนังสือจอง และการจัดแสดงหนังสือใหม่ ตลอดการแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับบริการจ่าย-รับให้ผู้ใช้ได้รับทราบ 2. กำหนดช่วงเวลาที่แน่นอนเพื่อให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ได้ร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 3. กระตุ้นให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วเพิ่มขึ้น 4. กำหนดระบบในการควบคุมหนังสือทุกเล่มอย่างรัดกุม เพื่อให้บุคลากรของบริการจ่าย-รับสามารถตอบปัญหาเกี่ยวกับหนังสือที่ผู้ใช้ต้องการได้ 5. จัดหาหนังสือที่มีผู้มาติดต่อยืมระหว่างห้องสมุดเป็นประจำเพื่อไว้บริการภายในหอสมุดกลาง 6. ดูแลการจองหนังสือให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการทวงหนังสือเกินกำหนดที่มีผู้จอง และการแจ้งข่าวสารการจองหนังสือแก่ผู้จอง 7. กำหนดระเบียบและกฎเกณฑ์ของหอสมุดกลางไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและควรดูแลให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ดังกล่าว 8. ตรวจตราการเรียงหนังสือบนชั้นให้ถูกต้อง และดูแลให้มีสภาพดีไม่ชำรุด 9. เพิ่มที่นั่งอ่านให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ใช้หอสมุดกลาง ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1. ศึกษางานบริการประเภทอื่นๆ ของหอสมุดกลาง โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยทำนองเดียวกับงานวิจัยเรื่องดังกล่าว 2. วิจัยต่อเนื่องในเรื่องบริการจ่าย-รับ เพื่อทดสอบผลที่ได้จากการวิจัย ในครั้งนี้และนำมาเปรียบเทียบกัน 3. ศึกษาพฤติกรรมในการใช้ห้องสมุดกลาง เพื่อทราบถึงทัศนคติและวิธีการใช้ห้องสมุดหรือค้นหาวัสดุห้องสมุด 4. ศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการเผยแพร่ข่าวสารของหอสมุดกลางเพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงจากการขาดการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับหอสมุดกลาง
Other Abstract: Purpose:- The main purpose of this study was to compare users’ satisfaction and expectation towards the Circulation Services at the Central library, Academic Resource Center, Chulalongkorn University on the following aspects : the building and reading room facilities, library materials and management, circulation services activities, and the Central Library’s rules and regulations concerning with the Circulation Services. Research result was expected to be used as guidelines for the improvement of circulation work to be more effective and truly consistent with the users’ need. Procedures:- Of the total 9,197 registered members of the Central Library, 465 were chosen at random as samples, comprising 5 percent and signifying 4 groups of people, i.e., undergraduates, graduates, faculty members and line personnel of the university. Of the questionnaires distributed to the sampled population during February, 1983 , 359 were returned (77.20%). The obtained data were statistically analyzed by using percentage, mean, standard deviation and t-test. Findings;- The Central Library Users were in accord in their opinions. The majority expressed their satisfaction at the medium and low degrees while their expectation reached the high degrees. Significant differences were found nearly thoughout with high expectation on almost all the aspects studied, such as, Central Library building and reading rooms, library materials and management, interlibrary-lone, aiding sevices and Circulation staffs. As for the other services, namely, users registration, charging routines, circulation rules and regulations, significant differences were scattered in some aspects and with some groups of samples. The findings revealed that most library users accepted and recognized the nature of circulation work but still desired for more improvement to better the services. Research result were discovered of being acceptably positive, though not in toto, to the stated hypotheses: that users satisfaction found was at the medium, low and lowest degrees; that users expectation would fall at the high and highest degrees; and in comparison, significant differences were found. Recommendation. The library should:- 1. Set definite procedures on administering reserved books, new books display, and regularly distribute news on circulation services to the Central Library users. 2. Set constant intervals for staff meetings in order to seek effective means to deal with any problems on circulation services. 3. Stimulate circulation staff to be more active so as to accelerate the pace of routine operations. 4. Plan for an effective control system to keep track of every book in the Central Library which assures circulation staff to answer any questions of its whereabouts. 5. Try to acquire any frequently requested for materials of which the library has to get through interlibrary-loan. 6. Organize proper book-reserved service including claiming notice for overdue books and calling attention to needed users on reserved books returned. 7. Publicize rules and regulations clearly stated in written form so they can be observed and conformed to by library users. 8. Read the shelves regularly and keep library materials attractive. 9. Increase reading space and prepare reading facilities to meet the needs of users. Recommendations for further research:- 1. Study other types of services being practiced in the Central Library, Academic Resource Center, Chulalongkorn University, using the same procedures as this research. 2. Repeat the same study about circulation service five years later in order to test the results of this research and make comparison. 3. Study users’ behavior to learn of users’ attitude and how they get about to find things. 4. Investigate promotion methods to seek for proper model in libray-users communications.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28913
ISBN: 9745634506
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Keota_ch_front.pdf17.28 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_ch1.pdf13.29 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_ch2.pdf24.1 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_ch3.pdf13.2 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_ch4.pdf53.74 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_ch5.pdf28.89 MBAdobe PDFView/Open
Keota_ch_back.pdf40.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.