Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28938
Title: | ปัญหาอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ ในการบริหารงานบุคคลตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ |
Other Titles: | Problem concerning the authority of the police service commission in personal administration according to the by Laws of the police service regulation |
Authors: | อาจิณ โชติวงศ์ |
Advisors: | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2535 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อทราบถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ก.ตร.ในการบริหารงานบุคคลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจเพื่อให้ ก.ตร. สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลให้เกิดประสิทธิภาพแก่ทางราชการ ความชอบด้วยกฎหมายและความเป็นธรรมแก่ข้าราชการตำรวจ ในทุก ๆ ชั้น ทุกตำแหน่งได้อย่างเต็มที่ดังเช่นคณะกรรมการข้าราชการอื่น ผลการวิจัยพบว่าคณะกรรมการข้าราชการตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการต่าง ๆ ในประเทศ สามารถจำแนกบทบาทออกได้เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง เน้นบทบาททางด้านการกำหนดกฎระเบียบและการควบคุมความชอบด้วยกฎระเบียบ กลุ่มที่สอง เน้นบทบาททางด้านการใช้ดุลพินิจพิจารณาที่ส่งผลต่อสิทธิและสถานภาพของข้าราชการโดยตรง และกลุ่มที่สาม มีบทบาททางด้านการเป็นที่ปรึกษาของผู้บังคับบัญชา คณะกรรมการข้าราชการทั้ง 3 กลุ่มนี้ ถึงแม้จะเน้นหรือมีบทบาทที่แตกต่างกัน แต่ก็มีขอบเขตอำนาจหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องครอบคลุมการบริหารงานบุคคลทั้งหมดในทุกเรื่อง ทุกชั้น และ ทุกระดับตำแหน่ง ก. ตร. ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ มีอำนาจหน้าที่แตกต่างไปจากกรรมการข้าราชการอื่น โดยมีอำนาจหน้าที่ในทุก ๆ บทบาท โดยไม่อาจเน้นให้เห็นได้เด่นชัดถึงบทบาทที่แท้จริงและไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มของคณะกรรมการข้าราชการกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้และอำนาจหน้าที่ในทุกบทบาทเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วไม่ครอบคลุมการบริหารงานบุคคลในทุกเรื่อง ทุกชั้นและในทุกระดับตำแหน่ง นอกจากนั้นบทบัญญัติที่มีอยู่บัญญัติไม่ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์เพียงพอ มีปัญหาในการใช้ถือปฏิบัติ และมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ก.ตร. กับผู้บังคับบัญชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทั้งในการกำหนดกฎระเบียบและมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล การใช้ดุลพินิจพิจารณาและการควบคุมการพิจารณาสั่งการของผู้บังคับบัญชาที่ส่งผลต่อสิทธิและสถานภาพของข้าราชการ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ควรจะได้รับการแก้ไขโดยแก้ไขปรับปรุง กฎหมายว่าด้วยข้าราชการตำรวจ บัญญัติอำนาจหน้าที่ของ ก.ตร. ในแต่ละบทบาทให้ชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์และสมควรที่จะเน้นบทบาทของ ก.ตร. ให้เป็นเช่นเดียวกับคณะกรรมการข้าราชการแบบกลุ่มที่หนึ่ง โดยให้มีหน้าที่เน้นทางด้านการกำหนดกฎระเบียบและควบคุมความชอบด้วยกฎระเบียบ และในระหว่างที่ยังมิได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจนี้ สมควรกำหนด “ระเบียบปฏิบัติราชการ” ขึ้นใช้บังคับซึ่งอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีที่จะกระทำได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 |
Other Abstract: | The purpose of this research is to analyse problems concerning the authority of the Police Service Commission and how to solve those problem in order that P.S.C can perform its duty efficiently, legally and justly towards police officers of every rank and title on compared with other services. The results of this research confirm that, in this country, the various Civil Service Commissions exist according to the by laws of the Civil Service Acts and their roles to be divided into three groups. The first group stresses the power of issuing regulations and supervising the legality of their regulation. The second group stresses the role of disnetion which effects the rights and status of civil services. The third group stresses the role of making proposals and giving advice to the commanders. Although the three groups of Civil Service Commissions have different roles, they have the same limits of authority in that their authority covers all of the administrative personnel of every rank and title. According to the law of The Police Service Regulation, P.S.C. has on authority which is different from other Civil Service Commissions. Its powers do not cover all of the administrative personnel of every rank and title. In addition its powers are not clear enough for enforcement. In order to solve these problems, revision of the law, should be made so that the authority of P.S.C. is clearly specified, especially in issuing rules and regulations and exercising control to ensure compliance with the rules and regulations as previously mentioned in the first group in the second paragraph. During the process of the revision of law, the council of Ministers which is empowered to issue “The Civil Service Regulations” in accordance with Government Administration Act 1992, should issue another regulayion to revise the law. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28938 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arjin_ch_front.pdf | 4.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch1.pdf | 2.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch2.pdf | 14.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch3.pdf | 13.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch4.pdf | 19.11 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch5.pdf | 15.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch6.pdf | 12.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_ch7.pdf | 4.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arjin_ch_back.pdf | 1.58 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.