Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28966
Title: ปัญหากฎหมายว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
Other Titles: The problems of law on discipline of university personel
Authors: อาจินต์ ฟักทองพรรณ
Advisors: ชาญวิทย์ ยอดมณี
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: “วินัย” มีความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ในอันที่จะทำให้ภารกิจของมหาวิทยาลัยภายใต้วัตถุใต้วัตถุประสงค์ที่จะให้การศึกษาและส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมของชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เดิมมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรมอยู่ในสังกัดกระทรวงทบวงกรมต่าง ๆ ข้าราชการในสังกัดมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญมีระบบการบริหารงานบุคคลและระบบวินัยเหมือนกับข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่าลักษณะงานของราชการในสังกัดมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะในตำแหน่งที่มีหน้าที่สอน วิจัย แตกต่างจากลักษณะงานของข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป ควรมีการจัดระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่สังกัดมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่แยกต่างหาก จากระบบบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 ขึ้นใช้บังคับซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีบัญญัติไว้เพียง 5 มาตรา แต่ได้ให้อำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลได้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีเศษที่ได้ใช้บังคับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 เป็นต้นมา ได้มีการออกกฎกระทรวง กฎทบวง รวมหลายฉบับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนี้ แต่บทบัญญัติตามกฎกระทรวง และกฎทบวงส่วนใหญ่ได้ย้อนกลับไปให้นำหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยได้อนุโลมนำหลักเกณฑ์และวิธีการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญมาใช้บังคับทั้งหมด ไม่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของตนเอง ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้และปัญหาในการปฏิบัติตามกฎหมายหลายประการ เนื่องจากปรัชญา แนวความคิด และระบบของมหาวิทยาลัย รวมทั้งกฎเกณฑ์บางประการแตกต่างจากข้าราชการพลเรือนสามัญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งที่จะศึกษาวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักกฎหมายและปัญหาที่เกิดขึ้น และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยในส่วนที่ว่าด้วยวินัยให้เหมาะสมต่อไป
Other Abstract: “Discipline” is important in the administration of university personnel in carrying out their duties toward the primary objectives of the universities, i.e. 1) to educate; 2) to teach; 3) to promote academic activities and the professions; 4) to research; 5) to give academic service to the society; and 6) to preserve the nation’s art and culture. Their duties toward these objectives are to be carried out with order and efficiency. In the past, the universities had a position in the bureaucracy at the level of a department in one of the various ministries. The university personnel were under the same system of personnel administration and discipline as other civil servants. In 1964 the government acknowledged that the nature of work of university personnel, especially of university teachers and researchers, is different from the nature of work of other civil servants. For this reason it was decided that a separate system of personnel administration would be suitable for university personnel. This was promulgated in the University Civil Service commission’s regulation B.E. 2507. There were five basic articles in this act, but in it, the Ministry is empowered to decide on the details. Throughout more than 20 years which these regulations have been in force, there have been many orders from the Ministry supplementing the original act. However, the majority of these orders from the Ministry have referred back to the principles and processes of the original Civil Service commission, especially and particularly the section on discipline. This part especially has been taken whole, without improvement or alteration, and has been applied to university civil servants. Because of this, there have been problems of enforcement and practice of these laws. The thought, philosophy, and system within universities differ from the ordinary civil service, along with some differing regulations. This thesis attempts to study and analyze the problems concerning discipline in order to understand the principles of law and the problems involved. Such a study can lead to improvements in the 1964 regulations on discipline of university civil servants.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28966
ISBN: 9745678899
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Archin_fa_front.pdf8.79 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch1.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch2.pdf52.72 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch3.pdf69.53 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch4.pdf34.42 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch5.pdf42.14 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch6.pdf23.53 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_ch7.pdf8.23 MBAdobe PDFView/Open
Archin_fa_back.pdf4.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.