Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28993
Title: แรงจูงใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำชุมชนไทย : ศึกษากรณีผู้นำชุมชนในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
Other Titles: Motivation on political participation of Thai community leaders : a case study of community leaders of amphoe Bang Len, Nakhon Pathom province
Authors: พิเชษฐ สิชฒรังษี
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะทราบถึงแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำชุมชนว่ามีอะไรบ้าง แรงจูงใจแต่ละชนิดกระตุ้นหรือเร้าให้ผู้นำชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมาก-น้อยอย่างไร ผู้นำชุมชนที่ใช้เป็นประชากรในการทำวิจัย คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาจังหวัด ซึ่งเป็นตัวแทนของราษฎรที่ผ่านการเลือกตั้งขึ้นมา มิใช่รัฐบาลเป็นผู้แต่งตั้งและสรรหาอย่างข้าราชการทั่ว ๆ ไป ในสมัยก่อนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จะได้รับบรรดาศักดิ์อย่างต่ำเป็น “พัน” อย่างสูงเป็น “ขุน” ซึ่งแสดงความสำคัญของตำแหน่งในสังคมชนบทไทย ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายนานาประการในการปฏิบัติหน้าที่อำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง กล่าวโดยย่อ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นทั้งพ่อบ้านในทางสังคมและผู้รักษากฎหมายในระดับพื้นฐานที่สุด ส่วนสมาชิกสภาจังหวัดก็เช่นกัน นอกจากเป็นตัวแทนของประชาชนในการเสนอข้อเรียกร้องและความต้องการของประชาชนให้ฝ่ายบริหารนำไปกำหนดแนวทางและนโยบายในทางปฏิบัติแล้ว บุคคลกลุ่มนี้ยังมีอาชีพหลักของตนเอง เช่น อาชีพค้าขาย ชาวนา ผู้รับเหมา เป็นต้น ด้วยเหตุนี้เองหากตำแหน่งของ สจ. ไปเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของอาชีพหลักที่มีอยู่แล้วย่อมก่อให้เกิดผลในทางทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่อยู่มาก ซึ่งผู้นั้นอาจจะรวมเอาผลประโยชน์ส่วนรวมมาร่วมกับผลประโยชน์ส่วนตัวได้ จากการวิจัยพบว่าผู้นำชุมชนต้องการดำรงตำแหน่งปัจจุบัน เพราะหวังได้รับการยอมรับจากราษฎรและทางราชการ ต้องการมีชื่อเสียง เกียรติยศ แม้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนน้อย ต้องการสร้างความเจริญให้ท้องถิ่น แต่โดยเนื้อแท้แล้วผู้นำชุมชนยังมีจิตใต้สำนึกที่ต้องการมีอำนาจ โดยพิจารณาจากแบบสอบถามที่ถามเกี่ยวกับประเด็นใกล้เคียงนี้ แม้ในคำถามแรก ๆ ผู้ตอบจะให้คำตอบในลักษณะมีความหมายในเชิงบวก แต่คำถามหลัง ๆ แสดงให้เห็นว่าผู้นำชุมชนต้องการมีอำนาจด้วย ผู้นำเหล่านี้ไม่กล้าที่ตอบตรง ๆ ว่าตนหวังในอำนาจ อาจเป็นเพราะเกรงภาพพจน์ของตนจะเสีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ผู้นำชุมชนเหล่านี้มีอำนาจถึง 2 ด้านใหญ่ ๆ คือ 1) อำนาจหน้าที่ที่ทางราชการมอบให้เป็นตัวแทนทางราชการในการปกครองเป็นหูเป็นตาในตำบล หมู่บ้าน 2) อำนาจที่มีผลมาจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เป็นอำนาจทางอ้อม คือราษฎรยำเกรง และราชการเกรงใจ ผู้นำชุมชนสามารถโน้มน้าวให้ราษฎรในหมู่บ้าน ตำบล มีความเห็นคล้อยตามได้มาก และทางราชการก็ให้เกียรติ เพราะถือว่าผู้นำชุมชนเป็นตัวแทนของราษฎรและราชการ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น แรงจูงใจในทางความสำเร็จของผู้นำชุมชน ส่วนใหญ่ให้คำตอบว่าไม่ได้หวังจะมีตำแหน่งที่สูงขึ้นกว่าปัจจุบัน กล่าวคือ คนที่เป็นผู้ใหญ่บ้านก็คิดว่าเป็นผู้ใหญ่ก็พอแล้ว คนที่เป็นกำนันก็พอใจเป็นแค่กำนัน ไม่ได้หวังเป็น สจ. สส. โดยให้เหตุผลว่า มีการศึกษาน้อย ฐานทางเศรษฐกิจไม่มากพอ ฯลฯ ซึ่งถ้านำทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์มาเทียบเคียงพิจารณาแล้วจะเห็นได้ว่า เป็นไปตามทฤษฎี นั่นคือพวกเขาบรรลุความต้องการความสำเร็จสมหวังในชีวิตตามอัตภาพในขณะนี้ ตอบสนองความต้องการขั้นที่ 5 แล้ว แต่ในอนาคตเมื่อพวกเขามีทรัพยากรทางการเมืองมากขึ้นพวกเขาอาจมีความทะยานอยากมากกว่าเวลานี้ก็เป็นได้ ซึ่งยังไม่อาจคาดเดาได้ ผู้นำชุมชนส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ในท้องถิ่น กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองโดยตรง แต่เป็นกลุ่มที่พบเห็นโดยทั่วไป และจะมีการพบปะร่วมกิจกรรมในหมู่สมาชิก กรรมการเป็นครั้งคราว เป็นเพราะภารกิจส่วนตัวมีมากจึงทำให้การพบปะกันน้อย อย่างไรก็ตามยังมีการช่วยเหลือกันไม่มากก็น้อย แต่ที่สำคัญ คือ กลุ่มในชนบทมักจะไม่ค่อยแข็งจึงไม่สามารถสนับสนุนผู้นำชุมชนรับเลือกตั้งเป็นผู้นำที่สูงขึ้นได้ ผู้นำชุมชนจึงต้องใช้บุคลิ[ก]ภาพส่วนตัว บารมีส่วนตัวเป็นสำคัญ ซึ่งผิดกับของตะวันตก กลุ่มจะช่วยให้ความปรารถนาบรรลุผลได้ดีกว่าของเรา โดยสรุป จากการวิจัย ผู้นำชุมชนมีบทบาทในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยเฉพาะการเข้าดำรงตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สจ. ด้วยหวังให้ท้องถิ่นเจริญก้าวหน้า ผลตอบแทนที่พวกเข้าอยากได้รับมากที่สุด คือ การยอมรับจากผู้อื่น ได้รับชื่อเสียง เกียรติยศ และโยงไปถึงการได้รับอำนาจหน้าที่จากทางราชการและอำนาจที่มีผลโดยทางอ้อม กล่าวคือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของราษฎรพอสมควร เช่น เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงในหมู่บ้าน ตำบล ไม่ค่อยรู้จักผู้สมัครรับเลือกตั้งก็มักจะถามความเห็นผู้นำชุมชนว่าจะเลือกใครดี เป็นต้น
Other Abstract: The purpose of this research is to look into the extent of motivation for political participation of Thai community leaders, and to find out how much each motivation might stimulate or arouse them to take part in political activities. The chief of commune (kamnan), the village headman, and member of provincial council are the community leaders utilized as subject of research. They are elected, not the appointed ones, by government like other ordinary civil-servants. In the former time, the chief of commune and the village headmen were bestowed the lowest position of “Pun” and the highest of “Khun” which was significant to the rural Thai society. The chief of commune and the village headman have various legal authorities aimed at bringing about happiness to the people and peace to the countryside. In summary, they act both as the social heads of the community and most basically, the ones who uphold the regulation. The members of provincial council, besides being representatives of the people within the province, their main function is to air people’s grievances to the provincial authorities so that they could be adopted as policies. By occupation, they are mainly merchants, farmers and contractors. For this reason, there is always a risk whereby they will jeopardize their duty if they think more of their own interest than those of the people. It is learned that community leaders aspire to their present positions because they need reputation, prestige, and want to develop their community. However, the data also suggest that in their own way, they are additionally interested in acquiring power; though they do not want to word it openly and clearly for fear that it might tarnish their image. In actual fact, community leaders possess two types of power: (1) and authority as government agents within the community; and (2) an influence derived from office generating respect both from the villagers and officials. These leaders can persuade people to accept their opinion while officials give them due honour as representative of both community and government. As for motivation, it is learned that most of them are quite satisfied with their present position. Interestingly, they do not aspire to higher positions or higher levels of community leadership. The reasons they give are that their education is not high enough, their financial situation does not allow them to do so. Using Maslow’s typology of hierarchy of needs, it has been demonstrated that, given the present situation, they are quite satisfied with their success. Yet, in the future, should the situation change for the better, their aspiration may be higher. Most of the community leaders are members of local community groups which periodically meet. Though mutual aid exists, such groups are weak. Therefore, compared with those in western democracies, group membership does not contribute as much to leadership recruitment. Personality factors remain important in propelling person to leadership positions. In sum, it is found that people participate in politics as community leaders (village heads, chiefs of commune and provincial assemblymen) because they wish to bring some progress to their community. What they want most is recognition, reputation and prestige which confer upon them some authority sanctioned by the government. Indirectly, their position or authority of office allow them to influence villagers in their decisions on a number of things.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28993
ISBN: 9745672807
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichet_si_front.pdf5.75 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_si_ch1.pdf5.51 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_si_ch2.pdf29.4 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_si_ch3.pdf16 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_si_ch4.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open
Pichet_si_back.pdf24.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.