Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29020
Title: การเมืองของการนิยามความเป็นสตูล : ศึกษาเน้นมุมมองของรัฐไทย ระหว่าง พ.ศ. 2475-2480
Other Titles: The politics of defining Satun : with special reference to the Thai state's perspectives, 1932-1937
Authors: สุภาลักษณ์ ตั้งจิตต์ศีล
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เอกลักษณ์ชาติพันธุ์
กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย (ภาคใต้)
มุสลิม -- ไทย (ภาคใต้)
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม -- ไทย -- สตูล
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2475-2480
สตูล -- ประวัติศาสตร์ -- 2475-2480
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาว่ารัฐไทยในช่วง พ.ศ. 2475-2480 ได้นิยามสตูลให้เป็นอย่างไร โดยมีสมมติฐานว่า สตูลลูกรัฐไทยนิยาม และเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2475-2480 ได้เปลี่ยนแปลงสตูลจากเขตกันชนระหว่างรัฐไทยกับรัฐมลายูมาเป็นหน่วยการปกครองหนึ่งของรัฐไทย โดยใช้กรอบทฤษฎีชาติพันธุ์ของ Stavenhagen ตีความเอกสารราชการที่เกี่ยวข้องกับสตูลและการเมืองในส่วนกลาง ผลการวิจัยพบว่าการที่สตูลที่มีคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากจังหวัดชายแดนภาคใต้อีกสามจังหวัดคือ มีประชากรส่วนใหญ่เชื้อสายมาเลย์ นับถือศาสนาอิสลาม แต่พูดภาษาไทย เป็นผลจากประวัติศาสตร์ร่วมของสตูลและรัฐไทยตั้งแต่ภายหลังการทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลอังกฤษใน พ.ศ. 2452 โดยรัฐไทยมีมาตรการผสานสตูลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทยอย่างเร่งรีบมีการเร่งปักปันเขตแดน ปฏิรูปทางการเมือง ให้การศึกษาภาษาไทย พร้อมกับการขยายอำนาจการปกครอง โดยส่งข้าราชการจากส่วนกลางเข้าไปดูแลกิจการของจังหวัดอย่างใกล้ชิด การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ได้ส่งผลให้มีกลุ่มกุมอำนาจรัฐกลุ่มใหม่ มีรูปแบบโครงสร้างทางการเมือง การปกครอง และอุดมการณ์แห่งรัฐใหม่ มีการรวมศูนย์อำนาจมากยิ่งขึ้น กลุ่มผู้กุมอำนาจรัฐใหม่นี้รับผลการดำเนินนโยบายจากการปฏิรูปการปกครองในช่วงที่ผ่านมาอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม มีข้อแตกต่างที่สำคัญก็คือ รัฐไทยในระหว่าง พ.ศ. 2475-2480 พยายามส่งเสริมและทำให้สตูล ซึ่งรัฐไทยถือว่าเป็นจังหวัดที่เป็นหน่วยการปกครองหนึ่งในระดับภูมิภาค เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย รัฐไทยไม่ยอมรับความแตกต่างของชาติพันธุ์ที่สตูลมีอยู่ โดยการแทรกความคิดดังกล่าวผ่านระบบราชการ กลไกการเลือกตั้ง และสัญลักษณ์ของชาติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐไทยประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนนิยามเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ด้านภาษาของสตูลจากภาษามาเลย์เป็นภาษาไทย และทำให้ชาวสตูลยอมรับการมีอยู่ของพรมแดนที่สตูลเป็นเขตกันชนอยู่ระหว่างรัฐไทยกับรัฐมลายู แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ที่เป็นแก่นทางชาติพันธุ์ของชาวสตูล คือการนับถือศาสนาอิสลาม
Other Abstract: This theses is the study of the interaction between Satun and the Thai State from 1932 to 1937. The hypothesis is that Satun is defined by the Thai government after the fall of the absolute. It is discovered that, although the government could integrate Satun's Malay people into the Thai State through their acceptance of Thai language and its authority, it had not been able to change their religions indentity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29020
ISBN: 9746320823
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supalak_ta_front.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_ch1.pdf12.22 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_ch2.pdf9.63 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_ch3.pdf16.81 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_ch4.pdf21.99 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_ch5.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Supalak_ta_back.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.