Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29024
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพรรณี วราทร
dc.contributor.authorสุภาวดี คงเจริญ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-02-21T06:29:40Z
dc.date.available2013-02-21T06:29:40Z
dc.date.issued2536
dc.identifier.isbn9745831425
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29024
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเอกสารภาษาไทยด้านการท่องเที่ยว ของงานพัฒนาข่าวสารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในด้านเนื้อหาและรูปแบบของเอกสาร และเพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้ที่มีต่อเอกสารภาษาไทย ด้านการท่องเที่ยว ในด้านความต้องการ และการใช้เนื้อหา และรูปแบบของเอกสาร รวมทั้งวัตถุประสงค์ในการใช้เอกสาร ประโยชน์ที่ได้รับและปัญหาในการใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ คนไทยทั่วไปไม่จำกัดเพศ วัย ที่มาขอรับเอกสารภาษาไทยด้านการท่องเที่ยว จากงานพัฒนาข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานส่วนกลาง ถนนราชดำเนิน จำนวน 384 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจเนื้อหาและรูปแบบของเอกสาร และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้เอกสารส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เอกสารเพื่อประกอบการเดินทางท่องเที่ยวของตนเอง และได้รับประโยชน์จากการใช้เอกสาร เป็นคู่มือในการเดินทางท่องเที่ยวในด้านการนำเสนอเนื้อหาของเอกสารซึ่งจำแนกเป็น 10 หัวข้อ พบว่า เนื้อหาที่นำเสนอสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ 4 หัวข้อ ในระดับมากทั้งหมด ได้แก่ แผนที่จังหวัดหรือภาค สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว ด้านที่พัก สถานที่ท่องเที่ยว และภูมิศาสตร์ สภาพทั่วไป ในส่วนของรูปแบบของเอกสารสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ 2 หัวข้อ ในระดับมาก เช่นกัน ได้แก่ การจัดเนื้อหาสถานที่ท่องเที่ยวตามเขตการปกครอง และสัญลักษณ์/ภาพประกอบแสดงสถานที่ท่องเที่ยว ในด้านการใช้ ความพึงพอใจ และความต้องการเนื้อหาของเอกสาร พบว่า หัวข้อเนื้อหาที่ผู้ใช้นำไปใช้ในระดับมาก สูงสุด คือ สถานที่ท่องเที่ยว เรื่องการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยว หัวข้อเนื้อหาที่ผู้ใช้พึงพอใจในระดับมาก สูงสุด คือ วัฒนธรรม (เรื่อง ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน) หัวข้อเนื้อหาที่ผู้ใช้ต้องการในระดับมากสูงสุด คือ แผนที่จังหวัดหรือภาค (เรื่องการคมนาคม) เมื่อเปรียบเทียบการใช้ความพึงพอใจ และความต้องการเนื้อหาด้านต่าง ๆ ของเอกสาร พบว่า ไม่สอดคล้องกัน คือ ผู้ใช้ให้และพึงพอใจเนื้อหาในระดับปานกลาง แต่มีความต้องการในระดับมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ในส่วนของรูปแบบ พบว่า รูปแบบของอกสารที่ผู้ใช้พึงพอใจ และต้องการสูงสุด ตรงกันในระดับปานกลางในหัวข้อ สัญลักษณ์/ภาพประกอบ แผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอในกับ ความต้องการรูปแบบด้านต่าง ๆ ของอกสาร พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจ และมีความต้องการรูปแบบของเอกสารในระดับปานกลาง สอดคล้องกัน
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study content and format of Thai travel document of Developing Information Division of T.A.T., the users needs and use of the document’s content and format, their purposes and problems in using the documents and the advantages they had gained. The sample used in this study were 384 Thai people unlimited of six and age to received Thai travel documents from developing Information Division of T.A.T. at Rachadamnun Head Office. The data were collected by a Content study from and questionnaire and were presented in the form of percentages, means and standard deviations. The research results showed that most of the users used the document for their own travel as a travel handbook. Among ten topics of the content only four met the user’s needs at a high level : province/region map, travel facilitics-accomodation tourist attractions and geographical information. On formats, two aspects that met the users’ needs at a high level were an arrangement of tourist attractions by administrative area and a symbol/illustration used for tourist attractions. Upon user’s attitudes towards using, satis faction and needs of the documents’ contents, it was found that the most used topic was transportation-tourist attraction, the most satisficed topic was culture-local arts and handicrafts and the most needed topic was a province/region map-communication. A comparison between user’s use, satisfaction and need of the contents in general showed that they were not corresponding. The users used and were satisfied with documents’ contents at a medium level but they needed them at a high level, Consequently, the results of the study disagreed with the hypothesis of the research. It was also found the format of the documents that the users were satisfied with and needed the most were symbol/illustration for tourist attraction in maps. A compassion between users’ satisfaction and needs of various aspects of documents’ format in general showed that they were correspond at a medium level.
dc.format.extent5347146 bytes
dc.format.extent9457405 bytes
dc.format.extent24591613 bytes
dc.format.extent6527346 bytes
dc.format.extent35926637 bytes
dc.format.extent17122147 bytes
dc.format.extent28898762 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleทัศนคติของผู้ใช้เอกสารภาษาไทยด้านการท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยen
dc.title.alternativeUsers' attitude towards Thai travel documents of tourism authority of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_ko_front.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_ch1.pdf9.24 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_ch2.pdf24.02 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_ch3.pdf6.37 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_ch4.pdf35.08 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_ch5.pdf16.72 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_ko_back.pdf28.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.