Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29028
Title: ผลของโครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารที่มีต่อพฤติกรรม ในการรับประทานอาหารของเด็กวัยอนุบาล
Other Titles: Effects of food experience project on eating behaviors of preschool children
Authors: พนมพร ศิริถาพร
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เด็กวัยก่อนเข้าเรียน -- โภชนาการ
บริโภคนิสัย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารที่มีต่อพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร ด้านพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหาร และความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็กวัยอนุบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กอายุระหว่าง 5-6 ปี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2537 จำนวน 30 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสังเกตพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร และแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็กวัยอนุบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กทั้งก่อนและหลังการทคลอง ตัวแปรต้น คือ โครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร และความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหารของเด็กวัยอนุบาลที่เรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารของโครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร สูงกว่าเด็กวัยอนุบาลที่เรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์หน่วยที่เกี่ยวกับอาหาร ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 2. คะแนนความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็กวัยอนุบาลที่เรียนโดยแผนการ จัดประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารของโครงการประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร สูงกว่าเด็กวัยอนุบาลที่เรียนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ หน่วยที่เกี่ยวกับอาหาร ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the effects of using food experience project on preschool children1ร food selection behaviors and their nutrition knowledge. The subjects were 30 children ages 5 to 6 years old. The study spanned 8 weeks and was conducted at Chankasem School in the second semester of 1994. The children's food selection behaviors were observed while their nutrition knowledge was tested. A quasi-experimental pretest-posttest research design was used in this study. The independent variable was the Food Experience Project. The dependent variables were the children's food selection behaviors and their nutrition knowledge. The findings of the research were as follow: 1. Scores on Food selection behaviors of the children in the Food Experience Project were significantly higher than the scores of the children in the control group at the level of .01 2. Scores on Children in the Food Experience Project were significantly higher than the scores of the children in the control group at the level of .01
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29028
ISBN: 9746318853
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panomporn_si_front.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_ch1.pdf5.41 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_ch2.pdf21.96 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_ch3.pdf7.06 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_ch4.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_ch5.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
panomporn_si_back.pdf22.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.