Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29045
Title: การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดและการสื่อสารความหมายของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบใช้เกมประกอบการสาธิต กับแบบปฏิบัติการทดลอง
Other Titles: Comparison of science process skills in measurement and communication of preschool children obtaining experiences through game demonstration and experiments
Authors: สุภาวดี ลัภยานุกูล
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ด้านการวัดและการสื่อความหมายของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบใช้เกมประกอบการสาธิตกับแบบปฏิบัติการทดลอง ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2531 ของโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต จำนวน 30 คน โดยการทดสอบความรู้ก่อนการเรียน แล้วจับคู่คะแนนที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน จำนวน 15 คู่ จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ให้ได้รับการจัดประสบการณ์แบบใช้เกมประกอบการสาธิตและกลุ่มทดลองที่ 2 ให้ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง ผู้วิจัยสอนกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ด้วยตนเอง โดยใช้เวลาในการสอนเท่ากันเป็นเวลา 6 สัปดาห์ แล้วทดสอบความรู้หลังการเรียนด้วยแบบทดสอบชุดเดิม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบใช้เกมประกอบการสาธิตกับแบบปฏิบัติการทดลอง มีทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ด้านการวัด และการสื่อความหมายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purpose of this research was to compare the science process skills in measurement and communication of preschool children obtaining experiences through game demonstration and experiments. The experiment was conducted by using 30 preschool, Suandusit Teacher College. The preschool children were pre-tested and divided into two groups by mean of matching the score’s approximation; 15 pairs of children were matched and simple randomized. The first experimental group was obtaining experiences through game demonstration. The second experimental group was obtaining experiences through experiments. Both groups were taught by the researcher for equal amount of teaching period of 6 weeks. After the treatment, both groups were post-tested. The data were than analyzed using t-test. The results of this study indicated that the science process skills in measurement and communication of preschool children obtaining experiences through game demonstration and experiments are significantly different at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29045
ISBN: 9745699039
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawadee_lu_front.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_ch1.pdf5.52 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_ch2.pdf18.55 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_ch3.pdf8.66 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_ch4.pdf2.26 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_ch5.pdf5.59 MBAdobe PDFView/Open
Supawadee_lu_back.pdf55.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.