Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29072
Title: การศึกษาเพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบผังสาธารณูปโภค ในโครงการที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน
Other Titles: A study for utility planning improvement of sites and services projects
Authors: พนิดา มาศรังสรรค์
Advisors: วีระ สัจกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการจัดวางผังและเลือกใช้ระบบสาธารณูปโภค ในโครงการที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วนของการเคหะแห่งชาติ โดยการวิเคราะห์และประเมินจากปัญหาซึ่งเกิดขึ้นจากการใช้สอยของผู้อยู่อาศัย และความต้องการของผู้อยู่อาศัยในโครงการ เพื่อสรุปเป็นการเสนอแนะแนวทางการออกแบบผังสาธารณูปโภค และจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการที่มีความเหมาะสมทั้งในเชิงประสิทธิภาพการใช้และในเชิงการลงทุน ผลการศึกษา สรุปได้ว่า ปัญหาของสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในโครงการ เป็นปัญหาที่เกิดจากการออกแบบวางผังและการเลือกระบบที่ใช้ส่วนหนึ่ง กับปัญหาที่เกิดจากการบริหาร และดูแลชุมชนอีกส่วนหนึ่ง เช่น ปัญหาการเข้าถึงที่พักอาศัย ปัญหาการใช้ถนน ทางเท้า และปัญหาอุบัติ เหตุ การจัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่สอดคล้องกับระยะ เวลาการก่อสร้างที่อยู่อาศัย กับอีกปัญหาหนึ่งคือ ปัญหาที่เกิดจากการดูแลชุมชน เช่น ปัญหาน้ำท่วมขัง ปัญหาการขาดการบำรุงรักษาใน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการใช้สอยของผู้อยู่อาศัย ดังนั้นข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาและปรับปรุงสาธารณูปโภคในโครงการที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วนเดิม และการเสนอแนะแนวทางการออกแบบผังโครงการใหม่ จึงประกอบด้วย ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการออกแบบผังทางกายภาพ และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลชุมชน ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการออกแบบได้เน้นเฉพาะเรื่องแนวความคิดในการวางผังทางกายภาพเป็นส่วนใหญ่ มีหลักการสำคัญคือ 1.ควรลดขนาดพื้นที่โครงการและการจัดแบ่งระยะเวลาในการก่อสร้างให้เหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าอยู่อาศัยในแต่ละช่วงโครงการ 2.คงไว้ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมาย ขนาดแปลงที่ดิน การอุดหนุนกันภายในโครงการและสัดส่วนการจัดที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ต่อผู้มีรายได้ปานกลางไว้ใน เกณฑ์เดิม 3.ควรจัดแบ่งขนาดพื้นทีโครงการ เป็นกลุ่มย่อยที่มีบริการ และสัดส่วนประ เภทของที่อยู่อาศัยระดับรายได้ต่าง ๆ พร้อมบริการสาธารณะที่จำเป็นในระยะแรก และให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตามลำดับของการพัฒนาในระยะต่อ ๆ ไป กับการสนับสนุนให้มีความร่วมมือและความรับผิดชอบร่วมกันต่อบริการสาธารณะที่อยู่ภายในกลุ่ม 4.จัดการระบบสาธารณูปโภค รวมทั้ง การจัดบริการสิ่งอำนวยความสะดวก ให้อยู่ในที่ตั้งที่สะดวก มีขนาดพอเหมาะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 5.ควรปรับปรุงและเลือกระบบสาธารณูปโภคใหม่ให้เป็นแบบกลุ่มย่อย เพื่อสอดคล้องกับการวางผังโครงการใหม่ โดยคำนึงถึงระบบที่ใช้เครื่องจักรกลให้น้อยลง และลดการดูแลรักษาโดยส่วนรวมลงให้เหลือน้อยที่สุด
Other Abstract: This sturdy was to evaluate the planning and design of utility systems of Selected sites and services projects developed by the National Housing Authority of Thailand. The aims are to improve the existing utilities systems as well as to recommend the more appropriate system planning for the future projects. The study identifies the major problems related to utility planning and operation using direct observation. User satisfaction and their perceptions of problem associated with the usage of the utility system are also identified using an attitudinal questionnaire. It can be concluded the problems of utility systems of studied projects are of two folds, one is the problems related to the planning, design and selection of the utility systems, another is the problems related to the ineffective operation and mismanagement of the project after occupancy. The problems related to the planning and design aspects include the inappropriate standard and pattern of road and pedestrian network, inappropriate phasing for development of community facilities such as food market, school, playground and health center. Several problems associated with project management and maintenance are found, among them are flood problem, neighborhood security, neighborhood cleanliness and lacking of good maintenance of public properties. The recommendations for the improvements the utility system of the National Housing Authority's sites and services projects concerning only physical design and planning are, therefore, as followed: 1) The project size should be reduced and the phasing must be proportionated to the project population at each stage. 2) Plot sizes, cross subsidy and ratio between low and middle income housing should be retained. 3) The concept of subdivision of the project into smaller neighborhoods composing of mixed different income groups. 4) Community facilities should be provided based on their necessity and popularity among the residents. 5) The most appropriate utility system should be the one with the less maintenance cost and less heavy equipment employed.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29072
ISBN: 9745693251
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panida_ma_front.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch1.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch2.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch3.pdf16.39 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch4.pdf4.83 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch5.pdf14.98 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_ch6.pdf17.06 MBAdobe PDFView/Open
Panida_ma_back.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.