Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29127
Title: มูลเหตุของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
Other Titles: Under lying causes of the October 14, 1973 event
Authors: พยนต์ อัศวพิชยนต์
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษามูลเหตุของเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 นอกจากจะเป็นการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะแล้ว ยัง เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะหาการวิเคราะห์ในทางรัฐศาสตร์ โดยการอาศัยกรอบการมองในทางรัฐศาสตร์เป็นหลักในการศึกษาและการอธิบายถึงมูลเหตุ ของเหตุการณ์ กระบวนการก่อเกิด การคลี่คลายขยายตัวไป การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพื่อที่จะนำไปหาการอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอื่นๆ ที่ได้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย และยังจะยังจะสามารถที่จะคาดการณ์ในสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้อีกด้วย การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เป็นปรากฏการณ์ ทางการเมืองที่มีความสำคัญอย่างมาก ต่อประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทย ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงทางระบอบการเมืองการปกครอง จากระบอบอำนาจนิยมไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีการลุกฮือขึ้นของพลังมวลชน เพื่อทำการโค่นล้มรัฐบาลทหารผู้ทำการปกครองบริหารประเทศในเวลานั้น เป็นตัวผลักดันการเปลี่ยนแปลง มูลเหตุของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ประกอบไปด้วยการสะสมตัวของเชื้อแห่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ที่มีกระบวนการการก่อเกิดมานับแต่ภายหลังการยึดอำนาจรัฐของคณะทหาร เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 โดยอาจจะทำการแยกแยะออกเป็นประเด็นได้ดังนี้1. การยึดอำนาจรัฐของคณะทหารในปี พ.ศ. 2501 เป็นการทวนกระแสความคิดแบบประชาธิปไตย ซึ่งได้มีการรับเอามาจากสังคมตะวันตก ภายหลังการเปลี่ยนแปลง ทางการเมืองในปี พ.ศ. 2475 ด้วยการล้มเลิกหลักการ และกลไกแบบประชาธิปไตยตะวันตกลงในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นสภาผู้แทนราษฎร การเลือกตั้ง พรรคการเมือง รวมตลอดไปถึงการปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลทำให้เกิดความกดดันในทางการเมืองขึ้น จนกระทั่งกลายเป็น รากฐานในทางด้านความคิด ประกอบกับการที่ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในแนวความคิดแบบประชาธิปไตย ยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ในรูปแบบของการต่อต้านแนวความคิด และโครงสร้าง ทางการเมืองประชาธิปไตยแบบไทย อันเป็นความพยายามของคณะทหารผู้ทำการปกครอง บริหารประเทศในเวลานั้น ในการที่จะวางรากฐานทางด้านแนวความคิด เพื่อเป็นการรองรับระบอบการปกครอง และสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับอำนาจรัฐที่มีอยู่ ในเวลาเดียวกันตัวแทนของแนวความคิดแบบประชาธิปไตยก็พยายามที่จะทำการยืนยันในความถูกต้องชอบธรรมของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งได้มีการนำมาใช้ในช่วงก่อน หน้าการปกครองของคณะทหาร ดังนั้น ในส่วนนี้ จึงเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้เกิดขึ้น 2. การพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาลทหาร ซึ่งมีการเน้นหนักในการพัฒนาทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก ส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจขึ้นอย่างมากมาย ก่อให้เกิดชั้นชั้นกลางใหม่ขึ้น และได้สร้างความคาดหวังให้บังเกิดขึ้นในสังคมไทย ว่า จะมีการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้เกิดมีขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มปัญญาชนและชนชั้นกลาง แต่จากการที่สภาพการณ์ทางการเมืองซึ่งได้มีการหยุดชะงัก และการกีดกันการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง อันสืบเนื่องมาจากการรวมศูนย์อำนาจในระบอบ การปกกรองประชาธิปไตยแบบไทย ประกอบกับปัญหาที่ได้เกิดขึ้นจากความล้มเหลวในการพัฒนาประเทศ มาประจวบกับการเกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจ ส่งผลทำให้เกิดความ ไม่พอใจในสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น และก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ในสังคม จนกลายเป็นรากฐานซึ่งมีนัยสำคัญ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในวันที่ 14 ตุลาคม พ. ศ. 2516 3. การผูกขาดอำนาจและผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ปกครองตระกูล "กิตติขจร-จารุเสถียร" ได้สร้างความแตกแยกขึ้นภายในกลุ่มชนชั้นปกกรองด้วยกันเอง รวมทั้งภายนอกกลุ่มชนชั้นปกครองได้รับผลกระทบตามไปด้วย ส่งผลทำให้เกิดความไม่พอใจต่อการกระทำของกลุ่ม "ถนอม-ประภาส" นำไปสู่ความต้องการในอันที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ปกครองในระดับบน คือ จอมพลถนอม จอมพลประภาส และครอบครัว ทำให้เกิดการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 4. การใช้อำนาจตามอำเภอใจในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองของผู้นำในรัฐบาล ทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำรัฐประหารของคณะทหาร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ได้นำมาซึ่งระบอบการปกครองแบบเผด็จการทหาร ภายหลังจากการมีระบอบการ ปกครองประชาธิปไตยแบบไทย ยิ่งไปกว่านั้น พฤติกรรมทางการเมืองของชนชั้นนำในรัฐบาล ทหาร อันเป็นการแสดงออกซึ่งการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ความรุนแรงทางการเมือง ในกรณีการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ได้ส่งผลทำให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มผู้ปกครองบริหารประเทศเป็นอย่างมาก ประกอบกับการชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของขบวนการนิสิตนักศึกษา โดยที่ได้รับอิทธิพลและการสนับสนุนจากบรรดานักคิด นักเขียน และสื่อมวลชนต่างๆ ส่งผลให้ขบวนการนิสิตนักศึกษา ประสบความสำเร็จในการรณรงค์ทางการเมือง ในการเรียกร้องทางการเมือง และได้รับความเชื่อถือจากประชาชน จนกระทั่งสามารถที่จะระดมพลังมวลชนมาในการต่อต้าน และโค่นล้มรัฐบาลทหารได้ จากการให้ความร่วมมือของกลุ่มพลังต่างๆ ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความสนับสนุนของกลุ่มผู้ปกครองภายในศูนย์อำนาจรัฐ ที่มีต่อขบวนการนิสิตนักศึกษา ส่งผลทำให้เกิดการผลักดันการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
Other Abstract: The study of underlying causes of the political change on October 14, 1973 is not only the study of political phenomenon of special case but also the search for historical information to be used in political analysis. This study takes political science framework to describe underlying causes of event, origin, process and development of the event into political change in order to explain these political phenomena in Thai political history. This method may yield fruitful result when applied to other events. It might as well as able to predict the events, in the future. The political change of October 14, 1973 is the most important political phenomenon of Thai political history in the sense that it is the change from authoritarian regime to democratic one as a result of the pressure and the uprising of the mass to overthrow the military government. Underlying causes of the October 14, 1973 event are accumulation of seeds of the political change originating since the seizure of power by the military junta on October 20, 1958.The causes can be identified as follows: 1. The seizure of power by the military junta of 1958 reverses the tide of democratic thinking imported from the West which is put into use since 1932 by abrogating all principles and mechanism of Western democracy, be it parliament, election, political party, local government. Since believers in western style democracy still contributes active groups within the society and they are against the idea of formulating the so-called "democracy Thai style", pressures do build up within the society. Conflicts of ideas in the ruling group and concerned citizens lead to political change. 2. National development' along the line of the military with emphasis on industrialization causes several significant changes within the society. New group with its own hope and aspiration emerges, especially the intellectual who come across political blockade form of anti-popular participation in politics. This plus awareness of the failure development and economic crisis at the time, prompts strong discontent and conflicts spread through all sections within the society serving as fundamental causes of political upheaval on October 14, า973. 3. Monopoly of power and interest of the Kittikachorn- Jarusthian families contributes to dissension within the ruling group. This situation paves way to the idea that Thanon and Prapas must be dispensed with. This leads to the political change. 4. Arbitrary utilization of power in solving the political problems of military government's leaders, especially coup d’état on November 17, 1971 brings about the military dictatorship regime after Thai democracy one. Moreover, the political behavior of military government's elites which is the arbitrary utilization of power in solving the political problems, particularly the political violence in the case of the demand for constitution, leads to strong discontent to the ruling group. Coupled with activists of the students who are encouraged by some sections within the center of power, and support from mass media which contributes to the student movement, it is possible to muster all efforts from all groups within the society to cause the downfall of the government.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29127
ISBN: 9745673382
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Payont_as_front.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch1.pdf25.26 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch2.pdf43.69 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch3.pdf31.15 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch4.pdf18.34 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch5.pdf27.97 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_ch6.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open
Payont_as_back.pdf7.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.