Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29238
Title: เป้าประสงค์ของชีวิตนักศึกษาปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
Other Titles: Life goais of undergraduate students, the faculty of home economics, the institute of technology and vocational education
Authors: เสริมศิริ อัครพุฒิพันธุ์
Advisors: วราภรณ์ บวรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเป้าประสงค์ของชีวิตนักศึกษาปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ด้านการศึกษาต่อ ด้านการประกอบอาชีพ และด้านการมีครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบ เป้าประสงค์ของชีวิตทั้งสามด้านดังกล่าวระหว่างนักศึกษาปริญญาตรี คณะคหกรรมศาสตร์ สายตรงกับสายการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า: ด้านการศึกษาต่อ นักศึกษาทั้งสองสายวิชามีความเห็นตรงกันคือ ศึกษาต่อสาขา คณะคหกรรมศาสตร์มากที่สุด เวลาที่เหมาะสมในการศึกษาคือ เรียนเต็มเวลาปกติ เรียนหลังเลิกงานตอนเย็นและวันหยุดตามลำดับ รูปแบบการเรียนต่อในการศึกษานอกระบบนั้น นักศึกษาต้องการศึกษาด้วยตนเอง และรับการทดสอบทักษะจากสถาบัน ด้านการประกอบอาชีพ นักศึกษาสายตรงให้ความสำคัญต่อการประกอบอาชีพส่วนตัวเป็นอันดับแรก ในขณะที่นักศึกษาสายการศึกษาเลือกการรับราชการในสถานศึกษา ปัจจัยที่มีส่วนในการตัดสินใจประกอบอาชีพส่วนตัวนั้น นักศึกษาทั้งสองสายวิชามีความเห็นตรงกันในด้านการทำงานด้วยใจรัก มีความก้าวหน้าในอาชีพและทำงานตามความถนัดส่วนตัว ด้านการมีครอบครัว คุณสมบัติคู่สมรสที่นักศึกษาทั้งสองสายวิชาคาดหวัง คือรัก ซื่อสัตย์ ยกย่อง ให้เกียรติแก่คู่สมรส มีความเป็นผู้นำในครอบครัว มีการศึกษาดี มีความมั่นคงในงานอาชีพและเศรษฐกิจ ตลอดจนการมีเวลาให้แก่ครอบครัวตามลำดับ ส่วนลักษณะครอบครัวที่ต้องการ ได้แก่ ครอบครัวเดี่ยว ด้านความปรารถนาแห่งชีวิต นักศึกษาทั้งสองสายวิชาให้ความสำคัญอย่างมาก ด้านมีคู่ครองที่ดีร่วมทุกข์สุข ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน มีตำแหน่งสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดเป้าประสงค์แห่งชีวิตคือ ตัวนักศึกษาเอง บิดามารดา ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ เพื่อน และคนรักตามลำดับ
Other Abstract: This research were to study the life goals of undergraduate students of the Faculty of Home Economics, the Institute of Technology and Vocational Education in the areas of further education, occupation and marriage; and to compare the life goals of those students enrolled in professional and academic programs. It was found that: further education, students from both programs want to study the most in the area of Home Economics. Suitable time are full time study and after work and in holidays respectively. For no formal education, students want self-study and tested skill from the institute. Occupation: Professional program students want to work in private profession at the first rank while academic students choose to work at educational institution. Factors which have impact on private profession are love to work, good promotion and work with individual skill. Marriage: Qualification of their mate are love, honesty and honor, family leading, well educated, secure in occupation 'and economic and have time for the family respectively. The family type in which they want is nuclear family. The aspiration of life: Students give the importance on good spouse1ร companion, success in work and high position and good economic status. Individuals who have the influence upon life goals are student themselves, parents and guardians, teachers, friends and boy friends respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29238
ISBN: 9745691259
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sermsiri_ak_front.pdf5.13 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_ch1.pdf3.81 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_ch2.pdf28.43 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_ch3.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_ch4.pdf13.51 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_ch5.pdf11.87 MBAdobe PDFView/Open
Sermsiri_ak_back.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.