Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29311
Title: | การดำเนินงานและการให้บริการของร้านเช่าหนังสือในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Operations and Services of the Renting Bangkok |
Authors: | ภิญโญ ประเสริฐสม |
Advisors: | ประภาวดี สืบสนธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2527 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการดำเนินงานและการจัดบริการของร้านเช่าหนังสือในกรุงเทพมหานคร ศึกษาสถานภาพของผู้ใช้บริการ วิธีใช้บริการ ประเภทของวรรณกรรมที่ผู้ใช้บริการต้องการ ความคิดเห็นและความพอใจของผู้ใช้บริการต่ออัตราค่าเช่า ค่ามัดจำหนังสือ และบริการหนังสือเช่า ในการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สอบถามผู้ให้บริการ คือ ผู้ดำเนินกิจการร้านเช่าหนังสือจำนวน 42 คน ผู้ใช้บริการ คือ ผู้เช่าหนังสือหรือผู้อ่านจำนวน 420 คน รวมเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 462 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ด้านผู้ให้บริการ คือ ร้านเช่าหนังสือจำนวน 42 ร้าน ตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน ร้านเช่าหนังสือส่วนใหญ่ดำเนินงานมาในช่วง 1-5 ปี หนังสือที่มีให้บริการเช่าได้แก่ นวนิยายไทย นิยายจีนกำลังภายใน เรื่องแปลจากภาษาต่างประเทศที่มิใช่ภาษาจีน เรื่องสั้นและรวมเรื่องสั้น แหล่งจัดหาหนังสือที่ร้านเช่าหนังสือใช้มากที่สุด คือติดต่อซื้อจากร้านจำหน่ายหนังสือ ราคาหนังสือที่จัดหาต่ำกว่าราคาปกในอัตราส่วนลดร้อยละ 10 จนถึงมากกว่าร้อยละ 50 การจัดซื้อต้องชำระเป็นเงินสด วิธีการคัดเลือกหนังสือใช้วิธีดูจากความนิยมในการอ่านของผู้ใช้บริการมากที่สุด หนังสือนวนิยายไทยได้รับความนิยมสูงสุดมากกว่า หนังสือนิยายจีนกำลังภายใน ร้านเช่าหนังสือมีหนังสือที่ให้เช่าโดยเฉลี่ยร้านละ 7,869 เล่ม การจัดเรียงเป็นเพียงการจัดตามผู้แต่งเป็นหลัก ร้านเช่าหนังสือเปิดบริการโดยเฉลี่ยวันละ 12.22 ชั่วโมง อัตราค่าเช่าโดยเฉลี่ย 2 บาทต่อ 1 เล่ม สำหรับการเช่าอ่านที่ร้าน วันแรก 2 บาท วันต่อไป 1 บาทต่อ 1 เล่ม สำหรับการเช่าไปอ่านที่บ้าน อัตรามัดจำโดยเฉลี่ย 50-100 บาทต่อเล่ม ร้านเช่าหนังสือเกือบทั้งหมดไม่กำหนดระยะเวลาในการเช่า ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสูงสุดแต่ละวันเป็นช่วงเวลาเย็น-ค่ำ จำนวนผู้ใช้บริการต่ำสุดโดยเฉลี่ย 38 คนต่อวัน ร้านเช่าหนังสือมีบริการเกี่ยวกับหนังสือให้แก่ผู้ใช้บริการ และดำเนินกิจการอื่นควบคู่ไปกับบริการหนังสือเช่า ปัญหาที่สำคัญของบริการหนังสือเช่า คือ ผู้ใช้บริการไม่คืนหนังสือที่ได้เช่าไป หนังสือมีราคาสูงขึ้นและหนังสือที่มีให้บริการมีสภาพชำรุด แนวโน้มของบริการหนังสือเช่าคาดว่าจะเป็นที่นิยมต่อไปอีกนานและจะมีร้านเช่าหนังสือเพิ่มขึ้นอีก ด้านผู้ใช้บริการ คือ ผู้เช่าหนังสือหรือผู้อ่าน จำนวน 420 คน เป็นชาย 196 คน เป็นหญิง 224 คน ผู้ใช้บริการเป็นบุคคลจากหลายอาชีพ ส่วนใหญ่มีอายุในช่วง 21-25 ปี ระดับการศึกษาสูงกว่าชั้น ม. 6 (ม.ศ.5) ไม่เกินปริญญาตรี อาชีพนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ใช้บริการเป็นประชากรในท้องที่แต่ละเขตที่ร้านเช่าหนังสือตั้งอยู่ ส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการเดินมาในระยะทางประมาณ 1-2 กิโลเมตร เพื่อมาใช้บริการ ระยะทางการเดินทางใกล้ไกลมีความสัมพันธ์ต่อความถี่ในการมาใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการใช้บริการเป็นประจำ ผู้ใช้บริการชายนิยมการเช่าอ่านในร้านมากกว่าผู้ใช้บริการหญิง ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มาใช้บริการจากร้านเช่าหนังสือสัปดาห์ละ 2 ครั้งและมากกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ช่วงเวลาที่ผู้ใช้บริการสะดวกในการมาใช้บริการ คือ ช่วงเวลาเย็น-ค่ำของทุกวัน ผู้ใช้บริการใช้วิธีเลือกหนังสือจากชั้นหรือกองด้วยตนเองมากที่สุด หนังสือส่วนใหญ่ที่ร้านมีให้บริการเช่าตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการเพศของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์ต่อประเภทของวรรณกรรมที่ชอบอ่านอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนอายุระดับการศึกษาและอาชีพของผู้ใช้บริการไม่มีความสัมพันธ์ต่อประเภทของวรรณกรรมที่ชอบอ่านอย่างมีนัยสำคัญ ความคิดเห็นและความพอใจของผู้ใช้บริการต่ออัตราค่าเช่า ค่ามัดจำหนังสือและบริการหนังสือเช่าโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้ที่จะเปิดบริการหนังสือเช่า ร้านเช่าหนังสือใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงบริการหนังสือเช่า ร้านจำหน่ายหนังสือและสำนักพิมพ์ใช้เป็นแนวทางในการจัดหาและจัดพิมพ์หนังสือ ห้องสมุดประชาชนใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงขยายขอบเขตของบริการการอ่านให้สอดคล้องกับความต้องการผู้ใช้บริการ จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ ห้องสมุดประชาชนควรเปิดบริการให้ยืมหนังสือแก่ผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกโดยเก็บค่ามัดจำ และทดลองเปิดบริการห้องสมุดประชาชนเคลื่อนที่ในชุมชนเพื่อให้บริการการอ่านได้อย่างทั่วถึง หน่วยงานหรือสถาบันที่เกี่ยวข้องกับหนังสือควรจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดหนังสือแก่ผู้ใช้บริการหนังสือเช่า ร้านเช่าหนังสือควรทดลองนำเอาหนังสือประเภทสารคดีความรู้ทางวิชาการมาให้เช่าควบคู่ไปกับหนังสือที่ให้เช่าตามปกติ |
Other Abstract: | The purpose of this research are to study the operations and services of the rental bookshops in Bangkok, to study details pertaining to service users, how to service is used and the kind of literature favored by users, as well as users’ views and their satisfaction to books rental rate and their down-payment fee. The study is undertaken by interviewing 42 rental bookshops and 420 users or readers. The summarized findings are as follows: The 42 rental bookshops were located in the Bangkok community. Most of rental bookshops are operated between 1-5 years. Books for rent consisted of Thai novels, Chinese Kung-Fu fiction, books translated from other languages not Chinese, and short stories. The rental bookshops purchased books from bookstores by paying cash. The discount rate for the purchased prices varied between 10% to more than 50%. Service users’ preferences served as a guideline in book purchases. Thai novels were the most favorite amongst all books. The average size of book renting services’ collections was 7,869 volumes. The books’ classification were mostly based on authors’ names. The average service hours were 12.22 hours per day. The average rental rate per book was 2 Bahts for reading on the spot and 2 Bahts for the first day, 1 Baht per day for the following days for reading at home. The average down-payment fee per book was between 50-100 Bahts. Most of the book renting services did not place any limit on the rental period. The time of high service was generally in the evening and night with the minimum number of service users 38 persons per day. Book services and other services were perioded alongside the book renting service. The most important problems faced by the rental bookshops were the non-recovery of books from service users, the increasing cost of books, and the damaged condition of books for rental. Book renting services are expected to increase in future. The total of service users interviewed were 196 males and 224 females. They all came from several occupations. On average, the users were between 21-25 years old, of the educational level of higher than M.6 (M.S.5) and lower than bachelor degree and most were students. They consisted of local people in the communities where the rental bookshops were located. Most of the users walked between 1-2 kilometres to make use of the services. This distance was highly related to the frequency of use but unrelated to the use permanence. Male users preferred to read on the spot than the female users. The average service use frequency was twice a week and more than three times a month. The convenient time for service use was in the evening and night of everyday. Most of the rental bookshops adapted their operations to the needs of users. Users selected their favorite books from the book-shelves themselves. Sexes of users were highly related to the kind of literature favored, but their age, level of education and occupation were found irrelevant. Their views and satisfaction with regard to the rental rate, down-payment fee and book renting services were medium. The result of this research can serve as guideline for new investors in their decision to establish a book renting service, for the improvement of book renting services, as well as for bookstores and publishers in book provision and publishing. On the other hand, public libraries can also make use of the research results on bookshops’ user as guideline to develop their services in accordance with the needs of users. Additional recommendations from this research can be listed as follows: public libraries should provide the service of Thai novels and Chinese Kung-Fu fiction for the non-member users by collecting down-payment fee, also experiment the provision of mobile library services in order to ensure reading facilities to the whole community. Institution concerned with books should provide technical training for the rental bookshop operators. Furthermore, the rental bookshops should provide non-fiction books for renting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29311 |
ISBN: | 9748944468 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pinyo_pr_front.pdf | 7.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinyo_pr_ch1.pdf | 3.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinyo_pr_ch2.pdf | 10.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinyo_pr_ch3.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinyo_pr_ch4.pdf | 43.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pinyo_pr_back.pdf | 10.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.