Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29333
Title: | การศึกษาการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | A study of the organization of science project in elementary schools, Bangkok Metropolis |
Authors: | พิศมัย จันทนมัฏฐะ |
Advisors: | วรสุดา บุญยไวโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษา ในด้านประเภทของการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ การดำเนินการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ และปัญหาการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาในกรุงเทพมหานครที่มีการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์และมีรายชื่อโรงเรียนปรากฏในการส่งเข้าประกวดกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2537 จำนวน 60 โรง โดยมี ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 60 คน ครูจำนวน 60 คน และนักเรียนจำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น 240 คน เป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบศึกษาเอกสารการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ และแบบบันทึกการสังเกตการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนประถมศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ทุกโรงมีการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทนอกเวลาเรียน โดยส่วนใหญ่จัดในลักษณะของการอบรมเชิงปฏิบัติการ และใช้เวลาที่มีวันหยุดราชการติดต่อกันในการดำเนินการจัด การดำเนินการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์พบว่า ขั้นเตรียมการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารทุกโรงเป็นผู้กำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ในการจัด วัตถุประสงค์ที่ผู้บริหารส่วนใหญ่กำหนดก็คือให้นักเรียนเกิดความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในด้านการวางแผนงาน ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่จัดเตรียมประชุมวางแผนงานร่วมกัน โดยผู้บริหารช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่ การเตรียมงบประมาณและการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม ขั้นดำเนินงานในการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ ครูส่วนใหญ่สามารถดำเนินงานในการจัดให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และมีการประสานงานโดยเชิญชวนโรงเรียนในกลุ่มเข้าร่วมในการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วย ด้านการปฏิบัติของครูต่อนักเรียน ครูส่วนใหญ่ให้นักเรียนคิดหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง โดยการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนเช่นการตั้งปัญหาให้นักเรียนตอบและการนำหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เคยทำมาแล้วให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้นักเรียนวางแผนการศึกษาตามรูปแบบเค้าโครงการเขียนโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยครูติดตามผลการปฏิบัติงานของนักเรียนด้วยการช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคที่นักเรียนพบ การประเมินผลงานของนักเรียน เพื่อเป็นข้อมูลป้อนกลับให้นักเรียนเห็นข้อดีและข้อด้อยของผลงานแล้วนำไปปรับปรุงเพื่อส่งเข้าประกวดกับสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย ขั้นประเมินผลการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์พบว่า ครูส่วนใหญ่ใช้วิธีการสังเกตการณ์ปฏิบัติงาน โดยจะเน้นการประเมินด้านเจตคติของนักเรียนต่อการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ ปัญหาการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนประถมศึกษาพบว่า ปัญหาการเตรียมการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่พบมากที่สุดคือ บุคลากรที่วางแผนการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ขาดทักษะความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงาน ปัญหาของการดำเนินงานในการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่พบมากที่สุดคือ การคิดหัวข้อโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และปัญหาของการประเมินผลการจัดโครงงานวิทยาศาสตร์ที่พบมากที่สุด คือ ครูผู้ประเมินขาดความรู้ในการสร้างเครื่องมือในการประเมินผล |
Other Abstract: | The purpose of this study was to study the science project in elementary schools, Bangkok Metropolis in terms of their organization, procedure and problems. The target group included 60 elementary schools. They organized science projects were nominated in the 1993-1994 competition held by the Association of Thai Science and Technology Education. In addition, 60 schools administrators, 60 teachers and 120 students were informants. The research tools were questionnaires, interviews, documentary form and observation sheets. It was found that every school organized its science project after schools. The activity organized was mostly in the form of workshop which was held during long holidays. As for the procedure, the schools administrators set up the goals and rationals of their science projects. One of the goals was to provide the students with the ability to apply scientific procedures. The administrators met with teachers to discuss how to carry out the projects. The administrators provided the site, financial support, materials and equipment. Most teachers could carry out the projects as planned and they invited other schools in the same group to join the projects. Most teachers asked the students to come up with the theme of the project by arousing the students’ inquisitive mind. The teachers asked the students some questions and showed them the previous projects. The students then mapped out their projects. With the help of the teachers, the students could solve the problems. The teachers evaluated the projects and gave them feedback so that the students could made improvement on the projects. After that they could enter their projects in the competition. Most teachers evaluated the projects through observation. They put emphasis on the students’ attitudes towards the organization of the projects. The problems were that teachers involved in planning the projects did not have an insight into procedures. The students had difficulties in thinking of the themes. And the teachers who evaluated the projects did not know how to design an appropriate evaluation tool. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29333 |
ISBN: | 9746350625 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pismai_ja_front.pdf | 3.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_ch1.pdf | 4.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_ch2.pdf | 24.64 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_ch3.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_ch4.pdf | 29.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_ch5.pdf | 12.69 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pismai_ja_back.pdf | 23.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.