Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29386
Title: ทัศนคติทางการเมืองของวุฒิสมาชิกสายทหารต่อพรรคการเมืองไทย
Other Titles: The political attitical of the military senators towards political parties
Authors: พิสัณห์ จุลดิลก
Advisors: กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สถาบันทหารถือเป็นสถาบันที่มีความสำคัญสถาบันหนึ่งในระบบการเมืองไทย วุฒิสมาชิกสายทหารถือเป็นชนชั้นนำทางการเมืองของสถาบันทหาร การศึกษาถึงทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหารที่มีต่อพรรคการเมืองไทยนี้ ก็เพื่อจะทำให้พรรคการเมืองต่างๆ ในประเทศไทยได้ทราบถึงทัศนคติของชนชั้นนำทางการเมืองของสถาบันทหารว่ามองพรรคการเมืองเป็นอย่างไร พรรคการเมืองควรทำอย่างไร เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างวุฒิสมาชิกสายทหารต่อพรรคการเมืองและนักการเมือง และเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพรรคการเมืองและนักการเมือง ให้เป็นที่ยอมรับของคณะทหารและประชาชนโดยทั่วไปการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ใช้เวลาในการศึกษาวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ.2529 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2530 โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรก เพื่อทราบถึงทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหารที่มี ต่อพรรคการเมืองและนักการเมืองว่ามีบทบาทสำคัญทั้งด้านบวกและด้านลบต่อการพัฒนาทางการเมืองของไทยอย่างไร โดยเฉพาะบทบาทในการเสริมสร้าง หรือทำลายล้างระบอบประชาธิปไตย ประการที่สอง เพื่อทราบถึงแนวความคิดของวุฒิสมาชิกสายทหารว่า พรรคการเมืองและนักการเมืองควรจะมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนบทบาทอย่างไร จึงจะเอื้ออำนวยต่อการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมุติฐานในการวิจัยไว้ดังนี้ 1. วุฒิสมาชิกสายทหารมีทัศนคติเชิงสนับสนุนและยอมรับว่าพรรคการเมืองเป็นสถาบันที่จำเป็นในระบอบประชาธิปไตย 2. วุฒิสมาชิกสายทหารมีทัศนคติเชิงลบต่อบทบาทของพรรคการเมืองไทยในฐานะตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ กล่าวคือ เชื่อว่าพรรคการเมืองมักจะดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของพรรค กลุ่ม และผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าผลประโยชน์ของชาติ 3. ในภาวะปัจจุบัน วุฒิสมาชิกสายทหารส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติเชิงลบต่อบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะในด้านการขาดอุดมการณ์ การศึกษาและประสบการณ์ทางการเมือง จึงยังไม่สนับสนุนให้พรรคการเมืองแสดงบทบาททางการเมืองอย่างเต็มที่โดยลำพัง 4. เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะความขัดแย้งขึ้นในพรรคการเมือง หรือระหว่างพรรคการเมืองอันจะกระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพของรัฐบาล และความมั่นคงของประเทศชาติ วุฒิสมาชิกสายทหารมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนให้สถาบันทหารเข้าแทรกแซงทางการเมือง ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในรูปของแบบสอบถาม เพื่อวัดทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหาร ในการทดสอบสมมุติฐาน โดยแบบสอบถามประกอบด้วยคำถามที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา การคำนวณค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น มีคำถามทั้งสิ้น 50 ข้อ รวบรวมข้อมูลจากวุฒิสมาชิกทหาร ทั้งในประจำการและนอกประจำการที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิกปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวุฒิสภาร่วมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในรัฐสภา ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 มีจำนวนทั้งสิ้น 140 นาย แยกเป็นนายทหารบก 75 นาย นายทหารเรือ 34 นาย และนายทหารอากาศ 31 นาย แจกแบบสอบถามแบบไม่สุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ คือแจกแจงความถี่เป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square) และการหาค่านัยสำคัญของความแตกต่างระหว่างข้อมูล (Significant difference) ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหารที่มีส่วนราชการที่สังกัด สถานภาพการรับราชการ จำนวนครั้งที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก การศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการ ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ ยอมรับว่าพรรคการเมือง เป็นสถาบันที่จำเป็นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย 2. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหารที่มีส่วนราชการที่สังกัด สถานภาพการรับราชการ จำนวนครั้งที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก การศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับและยังไม่แน่ใจว่าพรรคการเมืองของไทยจะเป็นตัวแทนเรียกร้องผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้ แต่กลับเห็นว่าพรรคการเมืองของไทย มักจะแสวงหาผลประโยชน์ให้กับพรรค และกลุ่มที่สนับสนุนพรรคของตน 3. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทัศนคติวุฒิสมาชิกสายทหารที่มีส่วนราชการที่สังกัด สถานภาพการรับราชการ และการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับเกี่ยวกับบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าเป็นผู้ที่ขาดอุดมการณ์ การศึกษา และประสบการณ์ทางการเมือง จึงยังไม่สนับสนุนให้แสดงบทบาททางการเมืองในรัฐสภาโดยลำพังฝ่ายเดียว เมื่อพิจารณาถึงจำนวนครั้งที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก การศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พบว่ามีทัศนคติในประเด็นดังกล่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทัศนคติของวุฒิสมาชิกสายทหารที่มีส่วนราชการที่สังกัด สถานภาพการรับราชการ จำนวนครั้งที่ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก การศึกษาในวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และการดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการ ที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่สนับสนุนให้ทหารเข้าแทรกแซงทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเสถียรภาพแก่รัฐบาล ผลจากการศึกษาวิจัยนี้ เป็นไปตามสมมุติฐานของการวิจัยทุกประการ
Other Abstract: The purpose of this master’s thesis is to study the attitude of military senators towards political parties. Since military institution is always regarded as vital to the survival of the nation, political attitudes of high-ranking military officer, especially ones who are appointed senators, served as indicators towards the development of political military institution as a whole. Data and information derived from this study could reflect some of the problem concerning the weakening role of political parties and bad image of the MP’s as people’s representatives, and then measures to solve them could be implemented for self-improvement as well as to gain public acceptance. The research, being carried out from August 1986 to May 1987, has the following objectives. Firstly, to gauge the attitudes of military senators on the role of political parties and politicians are analyzed to find out whether the latter have contributed positively to the development of Thai democratic rule. Secondly, to discover the ideas of military senators are studied on how political parties and politicians should behave in order to contribute positively for the stable, prosperous, and stability of democratic system. In order to meet the objectives of this research, the hypotheses are set forth as follows: 1. Military senators support and acknowledge that political parties are essential in the democratic system. 2. Military senators have negative attitudes towards political parties in regard to their roles as interest groups. This skepticism of military senators denied from their believe that MP’s always act for their own benefits rather than national interest. 3. At present, the majority of military senators still pessimistically believe that the MP’s are lack of proper ideology, education, as well as political experience. Therefore, the senators did not want to support political parties as the only institution to be totally in charge of politics. 4. Whenever political crises and instability occurred, stemming from either intra- or inter-party conflicts, and which threaten conflict within a security of the nation, military senators would unhesitately then support the military coup and intervention in politics. The research technique for this thesis is conducted through survey method. Questionnaires were tested for their content validity, reliability, and discriminative power and then were distributed to the research population. They were the military senators totaling 140 (some of whom were still in active service) who were appointed after the General Election on July 27, 1986. They are 75 army officers, 34 naval officers, and 31 Royal Thai Air Forces. Seventy of the questionnaires were returned. The above hypotheses are mostly confirmed as follows. 1. The majority of military senators have positive attitudes towards political parties. There is no statistical significant difference of the attitudes between military senators with different ranking, political experiences and education. Therefore, they structurally admitted that political party is an important institution in the democratic rule. 2. As for the role and behavior of some MP’s, the majority of military senator view that the MP’s should not have sole responsibility in the legistative assembly without senators help, the MP’s cannot perform their function well due to their lack of proper ideology, education and political experience. 3. In the case that political crises and instability occurred, the majority of military senators show their support to solving the problems through intervention and coup d’etat.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29386
ISBN: 9745677868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pisan_ch_front.pdf9.53 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch1.pdf11.56 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch2.pdf20.73 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch3.pdf24.77 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch4.pdf21.7 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch5.pdf58.27 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_ch6.pdf13.53 MBAdobe PDFView/Open
Pisan_ch_back.pdf14.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.