Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29393
Title: วัจนลีลาในวรรณกรรมสำหรับเด็ก
Other Titles: Style in children literature
Authors: พัชรีย์ จำปา
Advisors: สุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวัจนลีลาทางด้านกลวิธีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเด็กและมุ่งปลูกฝังแนวคิดด้านคุณธรรมให้แก่เด็ก ผลการศึกษาพบว่า ในวรรณกรรมสำหรับเด็กมีวัจนลีลาทางด้านกลวิธีการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ได้แก่ การใช้คำง่าย การใช้คำที่ก่อให้เกิดภาพและความรู้สึก การใช้คำที่แสดงความสุภาพ อ่อนล้อม การเล่นคำ การใช้ประโยคสั้น การใช้ประโยคที่มีคำบอกความต่าง และการเรียงลำดับความโดยการแสดงเหตุผล การบอกจุดหมาย และการขยายความ ส่วนวัจนลีลาทางด้านกลวิธีการใช้ภาษาที่มุ่งปลูกฝังแนวคิดด้านคุณธรรมให้แก่เด็ก พบว่ามีการใช้คำที่สื่อความหมายเชิงคุณธรรม คือ คำที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคำที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ การใช้คำที่มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่ดีและมีคุณค่า การใช้คำที่มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ดีและมีอันตราย และการใช้คำที่เกี่ยวกับการบอกให้ทำ ในระดับประโยค พบว่ามีการใช้ประโยคที่สัมพันธ์กับแนวคิด คือ ประโยคถาม-ตอบ และประโยคเปรียบเทียบ ในระดับความพบว่ามีการใช้ภาพพจน์ และการใช้ความเปรียบคู่ขนาน เพื่อเน้นย้ำให้เด็กเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น ลักษณะเด่นทางด้านกลวิธีการใช้ภาษาทั้งหมดนี้ มุ่งให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน และเพื่อให้เด็กจดจำและนำคติธรรมคำสอนที่ผู้แต่งสอดแทรกไว้ในเรื่องไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
Other Abstract: This thesis is an attempt to study style in children literature to see how the language use is appropriate to the age of children and to inculcate the concept of morality. The study reveals that the style appropriate to the age of children consists of the use of simple words, descriptive language, polite words, word-play, short sentences and comparative sentences. The cohesion is formed by clauses giving reasons, purposes and description. The language use for inculcating the concept of morality consists of the use of words concerning morality, religions and beliefs. Besides, there is the use of word referring to the good and useful as well as to the wicked and dangerous and the use of directives. On the sentence level, the question-answer and comparison sentences are normally employed. On the ordering of discourse, the use of metaphor and parallelism is frequent. All the language use aims at entertaining the readers, and, at the same time, inculcating the concept of morality for the future happiness of the children.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29393
ISBN: 9746335715
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phatcharee_ja_front.pdf4.15 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_ch1.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_ch2.pdf25.21 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_ch3.pdf35.4 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_ch4.pdf59.6 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_ch5.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Phatcharee_ja_back.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.