Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29477
Title: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิดกับระดับความสมบูรณ์ของภาพ ที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ด้านความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: The interaction of cognitive styles and levels of completeness of picture upon the cognitive learning achievement in English listening comprehension of mathayom suksa three students
Authors: ภคสินี ศรีกระจ่าง
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบบการคิดกับระดับความ สมบูรณ์ของภาพที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ด้านความเข้าใจในการฟังภาษา อังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนโรงเรียนสองพิทยาคม โรงเรียนม่วงไข่พิทยาคม และโรงเรียนสูงเม่นชนูปถัมภ์ จังหวัดแพร่ ปีการศึกษา 2529 จากจำนวนประชากร 460 คน ซึ่งได้ผ่านการทดสอบ เดอะ กรุป เอมเบดเดด ฟิกเกอร์ เทสต์ เพื่อแบ่งประเภทของแบบการคิดออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ฟิลด์ ดิ เพนเดนซ์ ฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ และกลุ่มกลาง จากนั้นทำการสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งชั้น จากนักเรียนที่มีแบบการคิดทั้งสามประเภทออกมากลุ่มละ 100 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 300 คน แบ่งนักเรียน ออกเป็นแบบการคิดละ 4 กลุ่มย่อยโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย กลุ่มย่อยละ 25 คน เพื่อเข้ารับการทดลองเสนอภาพที่มีระดับความสมบูรณ์ของภาพ 4 แบบ คือ ภาพที่มีสาระไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องภาพที่ปรากฏสาระเพียงบางส่วน ภาพที่ปรากฏสาระสำคัญเท่านั้น และภาพที่มีสาระสมบูรณ์ ภาพที่ใช้ในการทดลอง เป็นภาพสไลด์ขาวดำวาดลายเส้นอย่างง่าย 4 ชุด ชุดละ 9 ภาพ ประกอบเทปเสียงบรรยายภาพ แล้วทดสอบสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ในความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ข้อมูลที่ราบรวมได้วิเคราะห์โดยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคู่ โดยวิธีการของ นิวแมน เคิลส์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน เมื่อเรียนด้วยภาพที่มีระดับความสมบูรณ์ของภาพต่างกัน มีสัมฤทธิผลทางการ เรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ด้านความ เข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. นักเรียนที่มีแบบการคิดต่างกัน มีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย ในความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักเรียนที่มีแบบการคิด ฟิลด์ อินดิเพนเดนซ์ มีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยเป็นค่าเฉลี่ยของคะแนน สูงกว่า นักเรียนที่มีแบบการคิด ฟิลด์ ดิเพนเดนซ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ภาพที่มีระดับความสมบูรณ์ของภาพต่างกัน ทำให้สัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ ด้านพุทธิพิสัย ในความเข้าใจในการฟังภาษาอังกฤษแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ 3.1 นักเรียนที่เรียนด้วยภาพที่มีสาระโดยสมบูรณ์ มีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ เป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยภาพที่มีสาระไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 นักเรียนที่เรียนด้วยภาพที่ปรากฏสาระเพียงบางส่วน มีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ เป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่า นักเรียนที่ เรียนด้วยภาพที่มีสาระไม่ เกี่ยวข้องกับ เรื่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.3 นักเรียนที่เรียนด้วยภาพที่ปรากฏสาระสำคัญเท่านั้น มีสัมฤทธิผลทางการเรียนรู้ เป็นค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยภาพที่มีสาระไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the interaction of cognitive styles and levels of completeness of picture upon the cognitive learning achievement in English listening comprehension of Mathayom Suksa three students. The subjects were four hundred and sixty Mathayom Suksa three students of Songpithayakom School, Moungkaipithayakom School and Songmenchanupratham School, Phare Province, in the academic year of 1986. The cognitive styles of the subjects were determined by the Group Embedded Figures Test. One hundred subjects were classifically sampling from each of the three cognitive styles groups, labeling field dependence, field independence and the middle group. Twenty-five subjects in each group were randomly assigned into four sub-groups for four treatments according to levels of completeness in pictures: no essential information, partial essential information, only essential information and complete essential information. The tests used in this study were four sets of nine black and white slides accompanying audiotape. The achievement test was given at the end of the presentation. The data obtained were analyzed by means of two - way analysis of variance at the .05 level of confidence. The Newman - Keuls was used as the post hoc analysis. The results of the study were as followed : 1. Subjects with different cognitive styles learnt from various levels of completeness of picture found no significant differences upon the cognitive learning achievement in English listening comprehension. 2. There was significant differences between cognitive styles and the cognitive learning achievement in English listening comprehension at the .05 level of confidence, the field independent subjects found to be higher learning achievement than the field dependent subjects at the .05 level of confidence. 3. There was significant differences between levels of completeness of picture and the cognitive learning achievement in English listening comprehension at the .05 level of confidence. 3.1 The subjects found to be better on learning achievement from the complete essential information than learning from no essential information at the .05 level of confidence. 3.2 The subjects found to be better on learning achievement from the partial essential information than learning from no essential information at the .05 level of confidence. 3.3 The subjects found to be better on learning achievement from the only essential information than learning from no essential information at the .05 level of confidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29477
ISBN: 9745673323
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakasinee_sr_front.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_ch1.pdf3.52 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_ch2.pdf4.97 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_ch3.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_ch4.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_ch5.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open
Pakasinee_sr_back.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.