Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29522
Title: | การศึกษามาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานสำหรับงานก่อสร้างอาคาร |
Other Titles: | A study of standard method of measurement for building construction works |
Authors: | ยุทธ โรจน์วีระสิงห์ |
Advisors: | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิธีการวัดเนื้องานก่อสร้างที่ถือปฏิบัติในประเทศไทย ยังมิได้กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานที่แน่นอนเป็นผลให้เกิดปัญหาขึ้นหลายประการในขั้นตอนของการประมาณราคา การประกวดราคา การประเมินใบเสนอราคา และในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดแบ่งหัวข้องาน ขอบเขตของงาน หรือการกำหนดวิธีการวัด ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าว สามารถกระทำได้ โดยการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับการวัดเนื้องานก่อสร้างขึ้นใช้ เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีพื้นฐานการปฏิบัติที่เหมือนกัน การวิจัยในที่นี้จึงทำการศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานของต่างประเทศ 5 มาตรฐาน (จาก 4 ประเทศ) โดยทำการพิจารณาใน 3 ส่วนที่สำคัญ คือ โครงสร้างบท รูปแบบภายใน และเนื้อหา พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดมาตรฐานฯเพื่อกำหนดแนวทางพื้นฐานสำหรับการพัฒนามาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานก่อสร้างของประเทศต่อไป จากการวิจัยพบว่า รูปแบบทั่วไปของโครงสร้างบทของมาตรฐานวิธีการวัดทั้งหลายเหล่านั้นประกอบด้วย บทต่าง ๆ ดังนี้คือ (ก) กฎเกณฑ์ทั่วไป, (ข) งานจัดการขั้นตอน, (ค) งานประเภทที่หนึ่ง, (ง) งานประเภทที่สอง, (จ)........., (ฉ) .........ฯลฯ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบประเภทงานกับการให้รหัสตาม UNIFORM CONSTRUCTION INDEX (UCI) ปรากฏว่าเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นของรหัสงานทั้งหมดใน UCI ภายในบทของทุกมาตรฐานฯ มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน คือมีการแสดงถึงข้อกำหนดทั่วไป มีการจำแนกประเภทของงานออกตามลักษณะปลีกย่อย แม้จะมีบางมาตรฐานฯ ที่ทำการแบ่งหัวข้อย่อยลงไปอีกแสดงถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราที่ต้องรวม (RATES TO INCLUDE)และข้อกำหนดที่เกี่ยวกับหน่วยของการวัด (UNIT OF MEASUREMENT) อีกทั้งยังมีแง่มุมของเนื้อหาที่ใกล้เคียงกัน โดยมีการดัดแปลงในบางส่วนเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับแต่ละประเทศ นอกจากนี้ผลจากการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะการจัดแบ่งรายการในบัญชีรายการปริมาณที่ไม่มีมาตรฐานฯเดียวกัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการใช้บัญชีรายการปริมาณ ในการวิจัยได้นำเสนอร่างมาตรฐานวิธีการวัดเนื้องานสำหรับงานอาคาร ซึ่งประกอบด้วยหมวดงานทั้งหมด 20 หมวด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | The inexistence of a national standard method of measurement for construction work is responsible for a lot of problems relating work itemization, work scope definition and measurement method, in every stages of construction project management. The solution to these problems is to define a standard method of measurement for construction works in order that all agencies would have the same basis to work on. This research presents the result of an investigation of various standard methods of measurement from four different countries, emphasizing the underlying structures, formats, internal clauses and principles. It was found that general chapter structure of those standards is composed of the following chapter: (A) Generally, (B) Preliminary, (C) Type of work #1, (D) Type of work #2, (E) ………., (F) ………., etc. These word classification fits in but some portion of all existing codes in the Uniform Construction Index, Cost Analysis Format (UCI). It was found that there are similarities in formatting within chapters of each standard, such as “Generally item”, “Work classification item”, although some standards are divided into subitems, i.e. “Rates to include”, “Unit of measurement”. The internal clauses of various standard methods of measurement also inherit similar aspects in setting their contents, though some variations were made to suit each country’s environment. Besides, data collected from 15 construction projects showed different classifieation systems in preparing the bill of quantities, creating difficulties in their usages. A draft of Thai standard method of measurement for building works is presented. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2533 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29522 |
ISBN: | 9745781568 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yudth_ro_front.pdf | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch1.pdf | 8.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch2.pdf | 22.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch3.pdf | 12.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch4.pdf | 16.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch5.pdf | 4.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch6.pdf | 13.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_ch7.pdf | 4.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Yudth_ro_back.pdf | 108.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.