Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29535
Title: การจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : การศึกษาเฉพาะกรณี
Other Titles: The budget preperation and execution of Kasetsart University : a case study
Authors: พัชราวดี แพรัตกุล
Advisors: สนานจิตร สุคนธทรัพย์
ธิติรัตน์ วิศาลเวทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการดำเนินการจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาปัญหาในการดำเนินการจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย ได้แก่ รองอธิการบดีผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการวางแผน จำนวน 1 คน ผู้บริหารหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ได้แก่ คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน จำนวน 16 คน และเลขานุการในหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ได้แก่ เลขานุการคณะ/สำนัก/สถาบัน จำนวน 16 คน รวมประชากรที่สัมภาษณ์ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้างแนวทางในการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสร้างแบบสัมภาษณ์ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอข้อคำแนะนำจากอาจารย์ ที่ปรึกษา และให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณา จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขแล้วจึงนำไปใช้ในการสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งการสัมภาษณ์และการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ในรูปแผนภูมิและตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัย การดำเนินงานและปัญหาในการจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบที่สำคัญของระบบงบประมาณแบบแสดงแผนงาน 5 ประการ คือ การวางแผน โครงสร้างแผนงาน การวิเคราะห์ระบบข้อมูล และการประเมินผล สรุปผลได้ดังนี้ 1. การดำเนินการจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังขาดความสมบูรณ์ในองค์ประกอบที่สำคัญดังกล่าวแล้ว คือขาดการแปลแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษามาเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี และขาดการวางแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับการนำโครงสร้างแผนงานมาใช้ก็ยังไม่บรรลุเนื่องจากโครงสร้างแผนงานที่ใช้ยังไม่ครอบคลุมการปฏิบัติงานในทุก ๆด้าน และระเบียบการบริหารงบประมาณก็ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดความยืดหยุ่นในการบริหารงบประมาณตามโครงสร้างแผนงานเท่าที่ควร ส่วนด้านการวิเคราะห์งาน/โครงการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังขาดหลักเกณฑ์ และวิธีการที่เหมาะสมที่จะใช้ในการพิจารณาตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ สำหรับระบบข้อมูลยังไม่ได้มีการจัดระบบข้อมูลในระดับหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงาน คงมีแต่ในระดับมหาวิทยาลัยเท่านั้น ในด้านการประเมินผล มหาวิทยาลัยยังขาดการวางระบบการประเมินและติดตามผลที่หน่วยงานจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ปัญหาในการดำเนินการจัดเตรียมและการบริหารงบประมาณของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ คือ การขาดแนวนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน และขาดการวางแผนและติดตามผลการใช้จ่ายเงินประจำปี ทำให้ไม่สามารถประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละปีว่าบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ยังประสบปัญหาในด้านการนำโครงสร้างแผนงานมาใช้ ได้แก่ ปัญหาการขาดข้อมูลที่จะใช้ประกอบในการจัดทำคำของบประมาณ และการจำแนกรายจ่ายตามโครงสร้างแผนงาน ในด้านการวิเคราะห์งาน/โครงการ มหาวิทยาลัยไม่มีแนวนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ชัดเจนตลอดจนข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจ สำหรับการจัดระบบข้อมูลมหาวิทยาลัยขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและขาดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาใช้ในการจัดระบบข้อมูล ส่วนการประเมินผล มหาวิทยาลัยประสบปัญหาในด้านการขาดระบบและแนวทางตลอดจนเกณฑ์มาตรฐานที่จะนำมาใช้ในในการประเมินผลที่เหมาะสม
Other Abstract: Objectives 1. To study the budget preparation and execution of Kasetsart University 2. To study the problems of the budget preparation and execution of Kasetsart University Procedures The population of this research consisted of three groups. The first was one of the vice-rector who was responsible for the university planning and development. The second group consisted of Deans and Directors of Institutes/offices, totaling 16. The third group consisted of า6 secretaries of Faculty/institute/ Office. Thus, a total of 33 persons were interviewed. Instruments used in this research consisted of structured interview guidelines, guidelines for the study of documentary data. The interview guidelines, constructed by researcher, was derived from the study of documents, textbooks, and related research literature. This drafted guidelines were sent to the thesis advisors and later to other experts for comments. Then the revised instrument was submitted to the thesis advisor and the thesis co-advisor for approval. Data collection was carried out by the researcher. Data were analyzed using frequency counting and percentage and presented in the form annotated tables. Findings The operation and the problems of budget preparation and execution of Kasetsart University considered by the five significant factors: planning, program structure, analysis, information system and evaluation could be summarized as follows: 1. The budget preparation and execution of Kasetsart University as considered by the five significant factors, were still incomplete. There were the lack of translating the University development plan into the annual operation plan, as well as the lack of an effective financial plan. The present program structure did not cover all of the University actual operations and the budget regulations did not facilitate the budget execution by program structure, for the analysis, the University had no suitable criteria and procedure for determining the budget allocation. The information system was not established in the faculties, institutes and offices except in the management at the University level. Also, the University still had no effective evaluation and monitoring system. 2. The problems of budget preparation and execution of Kasetsart University were the lack of definite policy, objectives and targets, as well as the monitoring plan for the annual budget expenditure. Hence, the effectiveness of the University operation could not be evaluated. Moreover, the University faced with the problems of applying the program structure which were the lack of data' and the cost analysis by program structure to use in budget preparation. For the analysis, the University had no definite policy, objectives and targets to guide the decision making. Also, the University had the shortage of effective personnel and computers to set the information system. As for the evaluation system, the problem was the lack of suitable guidelines, standard and system for evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29535
ISBN: 9745643521
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phacharavadee_pa_front.pdf10.3 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_ch1.pdf5.14 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_ch2.pdf17.23 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_ch3.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_ch4.pdf37.69 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_ch5.pdf21.04 MBAdobe PDFView/Open
Phacharavadee_pa_back.pdf8.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.