Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29617
Title: | การให้ออกจากราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 |
Other Titles: | Dismissal persuant to police act B.E. 2521 |
Authors: | พันธ์ศักดิ์ ศาสนอนันต์ |
Advisors: | บวรศักดิ์ อุวรรณโณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2538 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงแนวความคิดและวิวัฒนาการและความสำคัญของการบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจ ลักษณะและวิวัฒนาการของกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ เพื่อศึกษาถึงแนวความคิด วัตถุประสงค์และกระบวนการพิจารณาให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในการให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ ในกรณีที่ไม่ใช่การลงโทษทางวินัยอันได้แก่ การให้ออกจากราชการเพราะเป็นผู้หย่อนความสามารถในอันที่จะปฏิบัติหน้าที่ราชการของตน หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือบกพร่องต่อหน้าที่ และการให้ออกจากราชการเพราะมีมลทินมัวหมอง จากการวิจัยพบว่า มาตรการในการให้ข้าราชการตำรวจออกจากราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ. 2521 ดังกล่าว มีความบกพร่องไม่เหมาะสมและมีความสับสนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ และกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ ดังนั้น เพื่อให้ข้าราชการตำรวจได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียมกัน จึงควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับระบบการสั่งการพิจารณาต่าง ๆ ให้ชัดเจน และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้ระเบียบเกี่ยวกับเรื่องนี้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานบุคคลในระบบราชการตำรวจต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this research is to study the evolution of police personnel management and laws concerning police administration which include concepts, objectives and dismissal proceedings because of job performance, misconduct and stigma. The findings are as follows : dismissal measures pursuant to Police Act B.E. 2521 are inappropriate and laws with regard to this issue are confusing, especially discrepancies among Civil Service Act, Police Act and Police Discipline Act. These laws should be revised in order that police personnel management administered be efficiently. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29617 |
ISBN: | 9746313975 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phansak_sa_front.pdf | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_ch1.pdf | 3.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_ch2.pdf | 44.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_ch3.pdf | 20.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_ch4.pdf | 16.92 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_ch5.pdf | 3.46 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phansak_sa_back.pdf | 3.61 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.