Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29635
Title: | การเกิดแก๊สชีวภาพโดยใช้เชื้อผสมของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน แยกจากกากตะกอนของโรงงานอุตสาหกรรมนม |
Other Titles: | Biomethanation by mixed cultures of acetogens and methanogens isolated from sludges of dairy industry |
Authors: | พัสตรา เขมาวุฒานนท์ |
Advisors: | ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทำการแยกอะซิโตเจนซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีกรดโพรพิโอนิคหรือกรดแลคติค และนำไปผสมกับเมธาโนเจนซึ่งเป็นแบคทีเรียกลุ่มที่คัดเลือกโดยการเจริญบนอาหารที่มีเมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) เพื่อศึกษาถึงการผลิตแก๊สมีเธนในระดับหลอดทดลอง พบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตแก๊สมีเธนของเชื้อผสมอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดโพรพิโอนิคและเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) หลักจากบ่มเป็นเวลา 6 สัปดาห์ คือให้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้นกรดแลคติค 5 mM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุน และเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H₂:CO₂ (80:20) ในสัปดาห์ที่สองของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37̊C โดยได้ปริมาณแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.00 x 10⁵ nmole สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อใช้เชื้อผสมของอะซิโตเจนที่แยกโดยใช้กรดแลคติค และเมธาโนเจนที่แยกโดยใช้เมธานอล หรือ H₂:CO₂ (80:20) จะเกิดแก๊สมีเธนเท่ากับ 2.07 x 10⁵ nmole เมื่อใช้อาหารเลี้ยงเชื้อเหลวที่มีความเข้มข้น กรดแลคติค 10 nM มีการเติมทรายเป็นตัวค้ำจุนและเติมตัวกระตุ้นกระบวนการเกิดแก๊สมีเธนคือ H₂:CO₂ (80:20) ในสัปดาห์ที่สองของการเลี้ยงเชื้อ โดยใช้อัตราส่วนของอะซิโตเจนและเมธาโนเจน 1:1 ที่ 37̊C พบว่าในภาวะทั้งสองมีค่าความเป็นกรดด่างสุดท้ายของน้ำเลี้ยงเชื้อ 6.65 และ 6.74 ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมในช่วงการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มเมธาโนเจนและให้แก๊สมีเธนในปริมาณที่สูง |
Other Abstract: | Mixed cultures from sludges of dairy industry including, Acetogens, a bacterial group using propionic acid or lactic acid as a selective substrate; and, Methanogens, using methanol or H₂:CO₂ (80:20) as selective substrate were isolated. After six week-incubation of mixed cultures of Acetogens and Methanogens at a ratio of 1:1 at 37̊C high quantity of methane production of 2.0 x 10⁵ nmole was obtained. This optimal production was from Acetogens isolated by using propionic acid and Methanogens by using methanol or H₂:CO₂ (80:20) as selective substrate cultivated in a medium containing 5 mM lactic acid with sand as a carrier matrix with subsequent addition of H₂:CO₂ (80:20) in the second week of cultivation and at the same time. It was observed that final pH of both conditions are consecutively 6.65 and 6.74 which are optimal for Methanogens growth. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29635 |
ISBN: | 9745849596 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pastra_ke_front.pdf | 6.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_ch1.pdf | 3.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_ch2.pdf | 5.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_ch3.pdf | 6.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_ch4.pdf | 18.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_ch5.pdf | 964.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pastra_ke_back.pdf | 11.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.