Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29707
Title: การจัดบริการแนะแนวอาชีพในมหาวิทยาลัยของรัฐ
Other Titles: Career guidance service management in state universities
Authors: อมรรัตน์ ประสานศัพท์
Advisors: ธิดารัตน์ บุญนุช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการจัดบริการแนะแนวอาชีพในมหาวิทยาลัยของรัฐ ศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐกับนิสิตนักศึกษาเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนวอาชีพในมหาวิทยาลัยของรัฐ ศึกษาเกณฑ์และวิธีการรับนิสิตนักศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาไปประกอบอาชีพของผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน วิเคราะห์การดำเนินงานและเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดบริการแนะแนวอาชีพในมหาวิทยาลัยของรัฐ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัตถุประสงค์ของการจัดบริการแนะแนวอาชีพของมหาวิทยาลัย คือ เผยแพร่ข้อมูลด้านความต้องการและความผันแปรของตลาดแรงงาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและพัฒนาการศึกษาและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเป็นสื่อกลางของหน่วยงานต่าง ๆ ในการจ้างงานนิสิตนักศึกษาและบัณฑิตโดยได้จัดบริการ 4 ประเภทใหญ่ไว้บริการแก่นิสิตนักศึกษาและบัณฑิตที่กำลังจะออกไปประกอบอาชีพดังนี้ คือบริการให้คำปรึกษา บริการทดสอบเชิงจิตวิทยา บริการห้องสมุดอาชีพ และบริการจัดหางาน ซึ่งงานบริการเหล่านี้มีหัวหน้าแผนกบริการและสวัสดิการหรือหัวหน้างานแนะแนวการศึกษาและอาชีพ เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบโดยตรง สังกัดกองกิจการนิสิตนักศึกษา โดยได้จัดอาคารสถานที่และอุปกรณ์สำหรับบริการไว้ในอาคารกองกิจการนิสิตนักศึกษาและอาคารของหน่วยงานอื่นในมหาวิทยาลัย 2. นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่รับทราบเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนวอาชีพจากการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย แต่ไม่ใช้บริการเพราะไม่มีปัญหาจำเป็นที่จะต้องใช้บริการ สำหรับนิสิตนักศึกษาบางส่วนที่ใช้บริการ เพราะต้องการทราบข้อมูลด้านการศึกษาและอาชีพ และเห็นประโยชน์ด้านการวางแผนการศึกษาและการประกอบอาชีพ บริการที่ใช้กันมากที่สุดมี 3 ประเภท ได้แก่ บริการแนะแนวการศึกษาและอาชีพ เกี่ยวกับการศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศบริการห้องสมุดอาชีพเกี่ยวกับข้อมูลการศึกษาและทุนการศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ และบริการจัดหางาน 3. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยของรัฐกับนิสิตนักศึกษา มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนวอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเรื่องการจัดสถานที่และการจัดบุคลากรมีความรู้ความสามารถด้านแนะแนวไว้บริการ และที่ระดับ .01 ในเรื่องมหาวิทยาลัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ และนโยบายการจัดบริการแนะแนวอาชีพไว้อย่างชัดเจน 4. ผู้บริหารหน่วยงานภาคเอกชน ได้กำหนดวิธีการรับนิสิตนักศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาไปประกอบอาชีพ โดยคัดเลือกด้วยวิธีการสอบข้อเขียนเพื่อพิจารณาถึงความรู้และความเข้าใจต่อเหตุการณ์บ้านเมือง การสอบสัมภาษณ์เพื่อพิจารณาถึงความรู้และความเข้าใจต่อหน้าที่การงานในตำแหน่งที่สมัครการสอบข้อเขียนวิชาเฉพาะเพื่อพิจารณาความถนัดและความสามารถเฉพาะด้าน และพิจารณาจากเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนดไว้ได้แก่ คุณวุฒิการศึกษา เพศ อายุ ประสบการณ์ บุคลิกภาพ และอื่น ๆ เช่น สุขภาพ ความรู้ความสามารถพิเศษ เป็นต้น 5. ในกรพัฒนาการจัดบริการแนะแนวอาชีพในมหาวิทยาลัยของรัฐควรได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร และอาคารสถานที่ ตลอดจนการจัดให้มีการติดตามผลความต้องการแรงงานของหน่วยงานภาคเอกชน และการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษาเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนรายวิชาบังคับและรายวิชาเลือกของหลักสูตร ให้เสริมสร้างนิสิตนักศึกษามีความกระตือรือร้น ที่จะรับรู้และเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ รู้จักวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รู้จักค้นคว้า และมีความสนใจเสริมสร้างความรู้ความสามารถพิเศษแก่ตนเองเพื่อเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the current status of career guidance services management in state universities, to study and to compare the opinions of administrators and students regarding career guidance services management in state universities, to study criterion and students firm administrations, to analyze the administration of career guidance services and suggest the guidelines for developing career guidance services management in state universities. Research Findings 1. The purpose of career guidance services management in state universities is to distribute the need and movement of career market data helping in educational planning and development as well as employment, to be the firm centre to employ the students and the graduate. The services divided in four aspects: counseling service, psychological testing service, career library service and placement service. These services are controlled by the Chief of Service and Welfare Section or the Chief of Educational and Career Counseling Section under the auspices of the Student Affairs Devision. All of the facilities of these services are provided in the Student Affairs Division office and the other university units. 2. Most of the students only have been informed regarding guidance services by the university public relations but do not take the services because of having no problems. There are few students who take the services because they want to know about the educational and career data and realize that they are meaningful to study and career planning. Three of the famous services are educational and career guidance service for futher study both within country and abroad career library service concerning education and scholarship in Thailand and abroad, and the last is the placement. 3. The opinions of administrators and students concerning the career guidance service were significantly different on building and personnel management and the university’s purpose and policy of career guidance service. 4. The private firm administrators recruit the graduates by using the witten test question about current events, interviewing about the job position, and also examining the other requirements e.g. degree, age, sex, experience, personality, etc. 5. The researchers’ suggestions regard the support in budget, personnel and building. Another suggestion is the follow up private firms’ placement need and the graduates’ employment. These will be study concerning the guidelines for develop the curricular to make the students enthusiastic in development themselves to be the qualified graduates.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29707
ISBN: 9745767808
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornratana_pr_front.pdf6.25 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_ch1.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_ch2.pdf49.17 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_ch3.pdf5.86 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_ch4.pdf31.65 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_ch5.pdf16.82 MBAdobe PDFView/Open
Amornratana_pr_back.pdf15.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.