Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29728
Title: การเปรียบเทียบผลของการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนสองแบบ ต่อการปรับกับการคงอยู่ของพฤติกรรมในการทำงานของเด็กปัญญาอ่อน
Other Titles: A comparison of the efects of reinforcement through two types variable duration on the modification and maintenance of the working behavior of retarded children
Authors: อมรากุล อินโอชานนท์
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้การเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนสองแบบ คือ การเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบคงที่ และการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบเพิ่มขึ้น ต่อการปรับกับการคงอยู่ของพฤติกรรมในการทำงานของเด็กปัญญาอ่อน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1/1 โรงเรียนปัญญาวุฒิกร จำนวน 6 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง A และกลุ่มทดลอง B กลุ่มทดลอง A ใช้การทดลองแบบ ABCF จะได้รับการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบคงที่ต่อพฤติกรรมการทำงานในห้องเรียน และกลุ่มทดลอง B ใช้การทดลองแบบ ABCF จะได้รับการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบเพิ่มขึ้นต่อพฤติกรรมการทำงานในห้องเรียน เก็บข้อมูลจากการสังเกต และบันทึกช่วงเวลาของการแสดงพฤติกรรมการทำงานของนักเรียน แล้วนำมาหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้อง จากนั้นนำค่าร้อยละของช่วงเวลาของการแสดงพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนมาหาค่าเฉลี่ย (X̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) พร้อมทั้งทดสอบความแตกต่างของค่าร้อยละของช่วงเวลาของการแสดงพฤติกรรมการทำงานของนักเรียนกลุ่มทดลอง A และกลุ่มทดลอง B ทั้ง 4 ระยะ (ระยะ A, B, C, (Ć) และ F) โดยทดสอบค่าที (T-TEST) และวิเคราะห์ระดับแนวโน้มของช่วงเวลาของการแสดงพฤติกรรมการทำงานในแต่ละระยะโดยใช้ THE SPLIT-MIDDLE TECHNIQUE ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักเรียนทั้งสองกลุ่มที่ได้รับการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบคงที่และแบบเพิ่มขึ้นมีจำนวนช่วงเวลาเฉลี่ยของการแสดงพฤติกรรมการทำงานสูงขึ้นและนักเรียนในกลุ่มทดลอง A ที่ได้รับการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบคงที่มีจำนวนช่วงเวลาเฉลี่ยของการแสดงพฤติกรรมการทำงานไม่แตกต่างจากนักเรียนในกลุ่มทดลอง B ที่ได้รับการเสริมแรงตามระยะเวลาแปรปรวนแบบเพิ่มขึ้น แต่นักเรียนในกลุ่มทดลอง B เกิดพฤติกรรมการทำงานคงอยู่ได้นานกว่ากลุ่มทดลอง A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to compare the effects of reinforcement through two types of variable duration, constant variable duration and increasing variable duration on the modification and maintenance of the working behavior of retarded children. The subjects were six students from Prathom Suksa 1/1 at Panyawuthikorn school. The students were randomly assigned to two groups: group A given the ABCF experimental design and group B given the ABCF experimental design. Group A was given reinforcement through constant variable duration and group B was given reinforcement through increasing variable duration. Data on working behavior were collected through observation and recording; inter-observer reliability (IOR) was 94.75-100. Data were analyzed through means (X̅), standard deviations (SD), t-tests and the split-middle technique for four phases (phase A, B, C (Ć) and F). Findings show that the working behavior of group A and group B increased. The working behavior of group A treated with constant variable duration was not statistically significant from that of group B treated with increasing variable duration. Group B maintained a working behavior longer than group A, significant at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29728
ISBN: 9745673013
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amarakul_in_front.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_ch1.pdf26.41 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_ch2.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_ch3.pdf7.35 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_ch4.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_ch5.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Amarakul_in_back.pdf8.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.