Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29750
Title: | ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Knowledge, attitudes, and practices concerning the environment of prathom suksa six students in the Northeastern region |
Authors: | สุวิมล สุภามา |
Advisors: | ลาวัณย์ สุกกรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2537 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามตัวแปรเพศและอำเภอที่ตั้งของโรงเรียน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 480 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 468 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 97.25 นำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไปและด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน นักเรียนมีความรู้ในระดับต่ำ ในเรื่องสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดินในภาคอีสานเสื่อมสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ของประเทศถูกทำลาย และเครื่องใช้ใดที่ไม่มีสาร ซีเอฟซี. เป็นส่วนประกอบนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความรู้ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนโรงเรียนอำเภอเมืองมีความรู้ดีกว่านักเรียนโรงเรียนอำเภออื่น 2. นักเรียนมีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดีเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีทัศนคติด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไปและด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน นักเรียนชายและนัก เรียนหญิง นักเรียนโรงเรียนอำเภอเมืองและนักเรียนโรงเรียนอำเภออื่นมีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวมอยู่ในระดับดี เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมทั่วไปและด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน นักเรียนมีการปฏิบัติ ในระดับพอใช้ ในเรื่องการเผยแพร่ข่าวสารสิ่งแวดล้อมการเข้าร่วมกิจกรรมสิ่งแวดล้อมในชุมชน การร่วมปลูกต้นไม้ นักเรียนหญิงมีการปฏิบัติดีกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนโรงเรียนอำเภอเมืองและนักเรียนโรงเรียนอำเภออื่นมีการปฏิบัติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purposes of this study were to investigate and to compare knowledge, attitudes, and practices concerning the environment of prathom suksa six students in the Northeastern region, between gender and school locations. The questionnaires were sent to 480 prathom suksa six students in the Northeastern region, of which 468 questionnaires or 97.25 percent, were returned. The data were then analyzed to obtain percentages, means and standard deviations. A t-test method was also applied to determine the statistically significant differences at .05 level. The results revealed as follows : 1. The students' knowledge concerning the environment as a whole was in moderate level. Their knowledge regarding the environment in general and the natural conservation were also in moderate level. When considered in each items, students' knowledge toward the important cause of soil pollution, the important cause of forest devastating and component of chlorofluorocarbons (CFCs) were in poor level. There were no significant differences at .05 level on knowledge between male and females. Urban school students' knowledge were better than students' in rural schools. 2. The students' attitudes concerning the environment as a whole was in good level. Their attitudes regarding the environment in general and the natural conservation were also in good level. There were no significant differences at .05 level on attitudes between males and females and between students in urban and rural schools. 3. The students' practices concerning environment as a whole was in good level. Their practices regarding the environment in general and the natural conservation were also in good level. When considered each items, students' practices toward public informing of environmental knowledge, environmental activity participation, plant project participation were in fair level. Female students' environment practices were better than those of male students significantly at the .05 level. There were no significant differences at .05 level on environment practices between students in urban and rural schools. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29750 |
ISBN: | 9746312022 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwimon_su_front.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_ch1.pdf | 2.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_ch2.pdf | 9.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_ch3.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_ch4.pdf | 25.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_ch5.pdf | 16.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimon_su_back.pdf | 8.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.