Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29752
Title: | รูปแบบการสอนซ่อมเสริมในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Remedial teaching models in private secodnary schools in Bangkok metropolis |
Authors: | สุวิมล อร่ามพูนทรัพย์ |
Advisors: | สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ วลัย อารุณี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบการสอนซ่อมเสริมในโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร ทั้งในระดับภาพรวมโดยทั่วไปและเชิงเปรียบเทียบระหว่างโรงเรียนประสิทธิภาพสูงกับโรงเรียนประสิทธิภาพต่ำ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ศึกษา คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนจำนวน 86 โรงเรียน เป็นโรงเรียนประสิทธิภาพสูง 43 โรงเรียน และโรงเรียนประสิทธิภาพต่ำ 43 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยโดยสรุปพบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่จัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมในรูปแบบของการสอนซ่อมมากกว่าการสอนเสริม การจัดกิจกรรมสอนซ่อมเสริมยังไม่เป็นระบบ ขาดการวางแผนการจัดกิจกรรม ขาดการติดตามผลอย่างมีระบบ ในระดับรายวิชา พบว่า มุ่งสอนซ่อมเสริมเพื่อให้นักเรียนผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นสำคัญ และสอนเน้นในเนื้อหาที่นักเรียนไม่เข้าใจเป็นหลัก ผลการประเมินสภาพการสอนซ่อมเสริมที่นักเรียนได้รับ พบว่า นักเรียนประเมินสภาพการจัดสอนซ่อมเสริมในทางบวกหรือดีเกือบทุกด้าน ยกเว้น ด้านสื่อการสอน กิจกรรมการสอนและด้านความสอดคล้องระหว่างกิจกรรมการสอนของครูกับข้อบกพร่องของนักเรียนที่ได้รับการประเมินในระดับปานกลาง ในด้านความพร้อมของบุคลากรโดยเฉพาะในเรื่องความเข้าใจในหลักการสอนซ่อมเสริม พบว่า ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากแนวคิดในเชิงทฤษฎี ส่วนผลการประเมินสภาพปัญหา พบว่า โรงเรียนประสบปัญหาในการจัดสอนซ่อมเสริมในระดับปานกลางและค่อนข้างน้อยเกือบทุกด้าน ในเชิงเปรียบเทียบ ได้พบลักษณะเด่นที่กลุ่มโรงเรียนประสิทธิภาพสูงแตกต่างจากกลุ่มโรงเรียนประสิทธิภาพต่ำ คือ มีการจัดสอนซ่อมเสริมตามที่หลักสูตรกำหนดในสัดส่วนที่สูงกว่า มีการจัดสอนซ่อมเสริมครบทุกประเภท ในขณะที่โรงเรียนประสิทธิภาพต่ำไม่มีการสอนประเภท “สอนเร่ง-สอนเร็ว” มีการจัดสอนซ่อมเสริมอย่างเป็นระบบในสัดส่วนที่สูงกว่า ในการติดตามและประเมินผลการสอนซ่อมเสริมมีการกระจายอำนาจให้อยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าหมวดวิชาในสัดส่วนที่สูงกว่า ผลการประเมินสภาพการสอนซ่อมเสริมที่นักเรียนได้รับ พบว่า นักเรียนในโรงเรียนประสิทธิภาพสูงประเมินสภาพการสอนซ่อมเสริมในทางบวกในระดับที่สูงกว่าผลการประเมินของนักเรียนในโรงเรียนประสิทธิภาพต่ำ และในด้านการประเมินสภาพปัญหาในการจัดสอนซ่อมเสริมพบว่า โรงเรียนประสิทธิภาพสูงประสบปัญหาในระดับน้อยกว่าโรงเรียนประสิทธิภาพต่ำเกือบทุกด้าน |
Other Abstract: | The main purpose of this research was to study the remedial teaching models in private secondary schools in Bangkok Metropolis. The samples were 86 private secondary schools in Bangkok Metropolis which comprised of two groups: 43 high efficient schools and 43 low efficient schools. The obtained data were analyzed by mean of frequency, percentage, mean and standard deviation, and t-test. The major findings indicated that in general, most schools had focused on remedial teaching and did not organize systematic remedial teaching activities, and also lacked of planning and systematic follow-up. Achieving the learning objectives and teaching subject content were emphasized in remedial teaching. Students perceived that remedial teaching activity organization was at high or positive level except in the aspect of instructional material, instructional activities and the relevance between instructional activities and weakness of students which were perceived at moderate level. School administrators and teachers had misconception in remedial teaching theories, but they perceived that remedial teaching problems were at moderate level. There were differences in organizing remedial teaching activities between the high efficient and the low efficient schools. The high efficient schools organized more systematic remedial teaching activities and they organized every activity concerning remedial teaching while the low efficient schools had no “Accellerated instruction”. Division heads in the high efficient schools took charge of monitoring remedial teaching activities. Students in the high efficient schools perceived that remedial teaching activity organization was at higher level than the perception of students in the low efficient schools. School administrators and teachers in the high efficient schools perceived that remedial teaching problems were at lower level than the perception of school administrators and teachers in the low efficient schools. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29752 |
ISBN: | 9745692379 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suwimol_ar_front.pdf | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_ch1.pdf | 6.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_ch2.pdf | 27.12 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_ch3.pdf | 8.7 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_ch4.pdf | 24.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_ch5.pdf | 13.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suwimol_ar_back.pdf | 15.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.