Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29792
Title: สภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศในสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 7
Other Titles: State and problems of the management of information system in the provincial general education offices, educational region seven
Authors: ปริศนา น้อยใจดี
Advisors: ณัฐนิภา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดระบบสารสนเทศในสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด เขตการศึกษา 7 แบ่งออกเป็น 6 ประเด็น ตามขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศของเมอร์ดิกค์และมันซัน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ความต้องการการใช้สารสนเทศ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของระบบสารสนเทศ 3) การกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบงานสารสนเทศ 4) การกำหนดรูปแบบระบบสารสนเทศ 5) การดำเนินงานตามรูปแบบที่กำหนด 6) การประเมินผลการดำเนินงานสารสนเทศ ผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดจัดเหมาะสมแล้ว ได้แก่ การกำหนดความต้องการใช้สารสนเทศของผู้ใช้ การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ การจัดกลุ่มข้อมูล การกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศ การสร้างแบบเก็บข้อมูล การกำหนดระยะเวลาในการเก็บรักษาสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์ การดำเนินงานให้บุคลากรในสำนักงานทราบ การติดตามการดำเนินงาน และการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศ ส่วนสิ่งที่สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดควรจัดให้มีหรือปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดบุคลากรเพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติงาน การจัดสรรงบประมาณ การดำเนินงานตามปฏิบัติการปฏิบัติงาน การจัดทำแผนภาพแสดงการเลื่อนไหลของสารสนเทศ การเตรียมความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศให้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบ การจัดวัสดุ ครุภัณฑ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานและวิธีการประเมินผล
Other Abstract: The purpose of this study was to identify state and problems of the management of information system in the provincial general education offices, educational region seven. The study was divided into 6 parts according to Murdick with Munson’s stages of the management of information system, namely, 1) information needs analysis, 2) setting system objectives, 3) establishing the operational organization, 4) structuring the information system, 5) system implementation, and 6) evaluation. It was found that the provincial general education offices had properly organized the following : determining users’ information needs, objective implementation, data classification, determining information qualifications, coustructing forms, specifying the information retention period, informing the system operation to all personnel, monitoring the system, and system maintainance. While the areas that needed to be provided or improved included the following: establishing the operational organization, appointing the operational committee, assigning personnel to response the operation, allocating budgets, performing to meet the operational schedule, constructing the information flow chart, preparing knowledge of information system for personnel involving the system management, providing materials, equipment and facilities, appointing the evaluation committee, and the method of evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29792
ISBN: 9745835161
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pritsana_no_front.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_ch1.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_ch2.pdf28.56 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_ch3.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_ch4.pdf17.93 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_ch5.pdf10.5 MBAdobe PDFView/Open
Pritsana_no_back.pdf10.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.