Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29826
Title: มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงพ่วงขายในสัญญาแฟรนไชส์
Other Titles: Legal measures corncerning tie-ins in franchising agreement
Authors: มนตรี ศิลป์มหาบัณฑิต
Advisors: พิเศษ เสตเสถียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ข้อตกลงพ่วงขายเป็นการขายสินค้าชนิดหนึ่ง (สินค้าหลัก) โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ซื้อจะต้องรับสินค้าชนิดที่สอง (สินค้าพ่วง) ไปด้วย ข้อตกลงพ่วงขายเป็นข้อตกลงจำกัดการแข่งขัน ซึ่งผู้ให้แฟรนไชส์มักนำมาใช้โดยกำหนดให้ผู้รับแฟรนไชส์ซื้อสินค้าต่าง ๆ จากนอกเหนือไปจากตัวสินค้าแฟรนไชส์เพื่อที่จะได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจภายใต้ชื่อทางการค้าของตน ข้อตกลงพ่วงขายนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดสินค้า กล่าวคือ เป็นการบังคับให้ผู้รับแฟรนไชส์หมดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าจากผู้อื่น ใช้อำนาจตลาดขยาย ไปมีอำนาจในอีกตลาดสินค้าหนึ่ง สร้างอุปสรรคทางการค้าและทำลายคู่แข่งขัน จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการพ่วงขายในสัญญาแฟรนไชส์นั้นมีลักษณะที่จำกัดและขาดความเหมาะสม จึงได้เสนอแนะให้มีการแก้ไข พรบ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดย 1) ยกเลิกวิธีประกาศควบคุมธุรกิจ และประกาศห้ามทำข้อตกลงจำกัดโอกาสในการเลือกซื้อสินค้าโดยคณะกรรมการกลาง 2) กำหนดให้การฟ้องร้องคดีอาญาต้องผ่านการสอบสวนพิจารณาจากองค์กรของรัฐที่ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์และนิติศาสตร์ 3) กำหนดบทยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถทำข้อตกลงพ่วงขายได้ในบางกรณี โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจ ขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐเป็นผู้พิจารณาเป็นกรณีไป และการทำข้อตกลงพ่วงขายดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดการค้าเป็นส่วนรวม
Other Abstract: A tie-in or tying arrangement is an arrangement to sell one product (tying product) on condition that the buyer purchases other kind of product (tied product) from the same company. The franchisor uses the tying arrangement to create an obligation on the part of the buyer to buy the tied product as a condition for getting the franchise. The tying arrangement effects the market of such product in many ways. It limits both competition and opportunity for the buyer to buy the same kind of product from other company; expands the market share of the company in one product to other products; creates trade barriers; and damages competition. According to the present study, legal measures in Thailand are rather restricted and inappropriate. The study thus suggests amending the Price- Fixing and Anti-Monopoly Act of B.E. 2522 by 1) the aboligation by the central committee of restrictive business controls and restrictions on free choice in buying goods; 2) a new requirement that any lar-suit to be filed must be authorized by the administrative agency consisting of specilists in economics and lars; and 3) a requirement that entrepreneurs who intend to make tying arrangements must seek official authorization, which may in exceptional circumstances be granted, on condition that the arrangements do not adversely affect the trading market as a whole.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29826
ISBN: 9745814172
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montri_si_front.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch1.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch2.pdf12.22 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch3.pdf19.17 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch4.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch5.pdf17.51 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_ch6.pdf6.16 MBAdobe PDFView/Open
Montri_si_back.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.