Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29833
Title: คณะกรรมการการกำหนดค่าใช้สิทธิในกฎหมายลิขสิทธิ์ : ศึกษาโครงสร้างและอำนาจ หน้าที่
Other Titles: The Copyright Royalty Tribunal in Copyright Law : A Study of Structure and Authorities
Authors: มนทกานติ พันธุ์ไพโรจน์
Advisors: ธัชชัย ศุภผลศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำหนดค่าใช้สิทธิในต่างประเทศ และวิเคราะห์ถึงผลที่ได้รับจากการมีระบบคณะกรรมการกำหนดค่าใช้สิทธิ เพี่อนำมาพิจารณาในการจัดตั้งคณะกรรมการ กำหนดค่าใช้สิทธิหรือคณะกรรมการที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า การให้ความคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ในปัจจุบัน ไม่อาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการที่ผู้อื่นใช้ประโยชน์งานของเขาได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม เนื่องจากบทบัญญัติในเรื่องการใช้โดยชอบธรรมเป็นบทบัญญัติที่กว้างและไม่จำกัดการที่กฎหมายกำหนดว่าเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในเรื่องต่างๆนั้นยังไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ตระหนักถึงสิทธิในการเรียกร้องค่าตอบแทน การใช้สิทธิ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้มีการใช้งานลิขสิทธิ์อย่างแพร่หลายโดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์จากการที่ได้ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศในเรื่องนี้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่าการกำหนดให้งานลิขสิทธิ์บางประเภทที่สาธารณชนจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ ให้เป็น "การอนุญาตเชิงบังคับ" และมีคณะกรรมการกำหนดค่าใช้สิทธิซึ่งทำหน้าที่กำหนดและปรับอัตราค่าใช้สิทธิตาม สภาพเศรษฐกิจและควบคุมการดำเนินงานของสมาคมจัดเก็บค่าใช้สิทธิซึ่งอยู่ในฐานะตัวแทนของเจ้าของลิขสิทธิ์มิให้ใช้อำนาจผูกขาด จะช่วยลดคดีความในศาลไปได้มาก การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการกำหนดค่าใช้สิทธิทำให้มีความสะดวกรวดเร็ว และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการฟ้องร้องต่อศาล คณะกรรมการประกอบด้วยคณะบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อตัดสินปัญหานี้โดยเฉพาะ จากการศึกษาระบบคณะกรรมการกำหนดค่าใช้สิทธิของต่างประเทศและรูปแบบของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร อื่นๆภายใต้กฎหมายไทย ผู้วิจัยเห็นว่าสมควรที่จะจัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายบริหารขึ้นโดยกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยเพื่อทำหน้าที่กำหนดค่าใช้สิทธิสำหรับการใช้งานที่เป็นการอนุญาตเชิงบังคับและควบคุมการจัดเก็บค่าใช้สิทธิของสมาคมจัดเก็บค่าใช้สิทธิ คณะกรรมการควรจะประกอบด้วยอธิบดีและรองอธิบดีของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี การมีคณะกรรมการ ชุดนี้น่าจะช่วยส่งเสริมให้การใช้งานลิขสิทธิ์บางประเภทเป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและช่วยจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ใช้งานได้ดีขึ้นกว่าระบบที่เป็นอยู่เดิม
Other Abstract: This thesis is aimed to study the structure and authority of Copyright Royalty Tribunal in some foreign countries and to analyze the effects of the existence of the system so as to be considered in conjunction with the possibility of establishing an appropriate pattern of the Tribunal or Committee in Thailand. The research shows that the protection of economic right under the present Thai Copyright Law does not avail the copyright owner of adequate and fair benefit from the users because the "fair use" provisions are broad and seemingly unlimited. Moreover, the grant of exclusive rights to the copyright owner is not clear enough to make the copyright owner realize that he is entitled to claim for the royalty should someone uses his work. Besides, technological development plays an important role in stimulating the unauthorized exploitation of the copyright work. The comparative study of relevant laws in other countries such as the United States, England, Australia and Japan shows that the introduction of compulsory licensing of works which are commonly used by the public as well as the creation of Copyright Royalty Tribunal whose major authorities are to stipulate the royalty rate and adjust it in accordance with the economic condition and supervise the operation of collecting societies which perform as the agents of copyright owners not to monopolize the market would considerably help reduce the court disputes. Submitting the matter to the Copyright Royalty Tribunal requires less expenses and time than to the Court. The Tribunal is formed by members who are experts in various fields. This thesis recommends that an administrative committee should be established within the Copyright Act to perform the duty of fixing the royalty for the use of copyright work under compulsory license scheme and controlling the collection of royalty by the collecting agencies. The Committee should consist of the Director-General of the Department of Intellectual Property, an Deputy Director-General and other distinguished members appointed by the Cabinet. The establishment of the Committee would promote more use of some types of copyright work and distribute fairer interest among the copyright owners and the users than the existing condition.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29833
ISBN: 9745828386
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Montakanti_pu_front.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_ch1.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_ch2.pdf27.03 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_ch3.pdf47.44 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_ch4.pdf18.89 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_ch5.pdf4.53 MBAdobe PDFView/Open
Montakanti_pu_back.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.