Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29847
Title: สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค : ความร่วมมือ และความขัดแย้ง
Other Titles: South Asian Assoclation for Regional Cooperation (SAARC) : cooperation and conflict
Authors: ปรีชา พงศ์ทองคำ
Advisors: สมพงศ์ ชูมาก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สมาคมเอเซียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค (SAARC) ในช่วงปี พ.ศ. 2523-2533 ซึ่งเป็นระยะของความพยายามในการก่อตั้งและดำเนินการในระยะสั้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของการก่อตั้งองค์การดังกล่าว ความร่วมมือและความขัดแย้งกันในระหว่างรัฐสมาชิกของ SAARC ตลอดจนแนวโน้มขององค์การดังกล่าวในอนาคต ผลของการศึกษาพบว่า แนวความคิดในการจัดตั้งองค์การแห่งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ (1) ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีการสถาปนาองค์การความร่วมมือระดับภูมิภาคขึ้นเพื่อการปรึกษาหารือในระดับภูมิภาค แต่ภูมิภาคเอเชียใต้การดำเนินการดังกล่าวนี้ยังไม่ได้รับการสถาปนาขึ้นเลย (2) เอเชียใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งที่มีความยากจนมากที่สุดในโลก ดังนั้นหากสามารถสถาปนาความร่วมมือในระดับภูมิภาคขึ้นย่อมสามารถช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนภายในภูมิภาค (3) ความร่วมมือในกรอบของ SAARC จะช่วยเสริมฐานะและอำนาจการต่อรองของประเทศฝ่ายใต้ในการเจรจาเหนือ-ใต้ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศใต้-ใต้ในระดับโลก (4) ความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชียใต้จะทำให้กลุ่มนี้มีพลังอำนาจและเป็นที่สนใจมากขึ้นในระดับโลก (5) ความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชียใต้อาจเป็นกลไกที่นำไปสู่การลดปัญหาความขัดแย้งภายในภูมิภาคได้ (6) การพัฒนาโครงการลงทุนร่วมกันของ SAARC จะช่วยจำกัดอิทธิพลและบทบาทของบรรษัทข้ามชาติที่ครอบงำอยู่ในภูมิภาค เป็นต้น สมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาคจึงได้รับการก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยความคิดริเริ่มของอดีตประธานาธิบดีเซียอูร์ ราห์มานแห่งบังคลาเทศ และได้มีการพัฒนาไปพอสมควรทั้งในด้านโครงสร้างและความร่วมมือระหว่างกัน โดยเฉพาะทางด้านความร่วมมือนั้นได้มีการร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น (1) การเกษตร (2) การสาธารณสุขและประชากร (3) การอุตุนิยมวิทยา (4) การไปรษณีย์ (5) การป้องกันการลักลอบค้ายาเสพติด (6) การพัฒนาชนบท (7) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (8) การกีฬาศิลปะและวัฒนธรรม (9) การโทรคมนาคม (10) การขนส่ง (11ป สตรีกับการพัฒนา (12) การแลกเปลี่ยนทางด้านโสตทรรศนะ (13) การท่องเที่ยว (14) การจำแนกระบบเอกสาร (15) การจัดสรรทุนและตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยของ SAARC (16) การแลกเปลี่ยนเยาวชนอาสาสมัคร (17) การป้องกันการก่อการร้าย เป็นต้น แต่ปัญหาความขัดแย้งภายในองค์การมีมาก โดยเฉพาะอินเดียนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในปัญหาความขัดแย้งทั้งมวลอันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายต่างประเทศในลักษณะของจักรวรรดินิยมอินเดีย ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวนี้ที่สำคัญได้แก่ (1) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและปากีสถาน (2) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและบังคลาเทศ (3) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและศรีลังกา (4) ความขัดแย้งระหว่างอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ มัลดิสฟ์ เนปาล และภูฐาน ผลของการศึกษาพอสรุปได้ว่า ความร่วมมือของ SAARC ในระยะของความพยายามในการก่อตั้งและการดำเนินการในระยะต้นมีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสภาพความเป็นจริงภายในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยปัญหาความขัดแย้งซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่า SAARC ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นสมาคมความร่วมมือระดับภูมิภาคที่มีลักษณะเหนือชาติ ดังนั้นจึงไม่นำเอาประเด็นความร่วมมือทางด้านการเมืองมาพิจารณา
Other Abstract: The purpose of this study is to evaluate the performance of the South Asian Association for Regional Co-operation (SAARC) in the 1980’&. This period was highlighted by the efforts of this Association to establish regional co-operation and its implementation of its policy in order to point out its development, co-operation and conflicts between SAARC’s member states, as well as the future trend of the Association. The finding of this study show that the rationale behind the establishment of SAARC derived from the following considerations; (1) Unlike other regions which have developed cooperative agencies for consultation on a regional basis, South Asia had no such equivalent. (2) This type cooperative organization would help different countries in this region to cope more effectively with the poverty in their region which is one of the poorest in the world. (3) South Asian Cooperation will strengthen the bargaining power of the South in any North-South negotiation as well as contribute to Global South-South cooperation. (4) Regional cooperation in South Asia is likely to strengthen its voice effectively in international forums. (5) Regional Cooperation may help reduce political tension in South Asia. (6) The joint venture programmes of SAARC can greatly curtail the dominant role of the transnational corporations etc. South Asian Association for regional cooperation was established on the initiative of the former President Ziaur Rahman of Bangladesh in the half of 1980’&. SAARC has developed a organizational structure for cooperation its member states, especially in the following fields (1) Agriculture (2) Health and Population (3) Meteorology (4) Postal Service (5) Prevention of Drug Trafficking and Abuse (6) Rural Development (7) Science and Technology (8) Sports, Art and Culture (9) Telecommunications (10) Transport (11) Women in Development (12) Audio-vision Exchange (13) organized Tourism (14) Documentation (15) SAARC Chairs, Fellowships and Scholarships (16) Youth Volunteer Exchange (17) Prevent of Terrorism etc. However, this region is still plagued by numerous conflicts largely attributable to India with its imperialist policy. These conflicts can be grouped as follows: (1) Conflicts between India and Pakistan (2) Conflicts between India and Bangladesh (3) Conflicts between India and Sri Lanka (4) Conflicts between India and its neighboring Nepal, Maldives and Bhutan. The findings of the study can be summarized as follow. SAARC’s early founding efforts were marked by regional conflicts which hindered the Association from becoming a true Supra-National organization of regional cooperation. To avoid political confrontation between its member states and to enhance friendly atmosphere conducive to increased cooperation especially in the economic field, political issues had been excluded from the agenda of SAARC’s early conferences. Nevertheless, one may say that a forecast of the Association’s future within the next 5-7 years is rather bleak.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29847
ISBN: 9745811459
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_po_front.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_ch1.pdf8.04 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_ch2.pdf3.68 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_ch3.pdf10.4 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_ch4.pdf13.18 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_ch5.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_po_back.pdf29.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.