Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29848
Title: ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ : ศึกษากรณีการลงทุนของธุรกิจโรงแรมในสหภาพเมียนมาร์ (ค.ศ. 1989-1995)
Other Titles: Thai-Myanmar economic relations : a case study of the Thai hotel business investment in Myanmar (1989-1995)
Authors: มนัญญา เงินดี
Advisors: อภิญญา รัตนมงคลมาศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหภาพเมียนมาร์ระหว่าง ค.ศ.1989 ถึง ค.ศ.1995โดยนำเรื่องการลงทุนตานธุรกิจโรงแรมเป็นกรณีศึกษา ระเบียบวิธีศึกษาใช้การค้นคว้าจากเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์นักลงทุนไทยผู้ไปลงทุนด้านโรงแรมในสหภาพเมียนมาร์รวม 4 รายจากทั้งหมด 6 ราย และใช้แนวทางการวิเคราะห์เชิงระบบมาวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้เกิดการลงทุนด้านธุรกิจโรงแรมในสหภาพเมียนมาร์นั้นมีทั้งจากทางด้านสหภาพเมียนมาร์เองและจากทางด้านนักลงทุนไทย สำหรับปัจจัยทางด้านสหภาพเมียนมาร์ประกอบด้วยการเปิดประเทศซึ่งส่งผลให้มีการออกกฎหมายเพื่อรับการลงทุนจากต่างประเทศ การตั้งคณะกรรมการการลงทุนต่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยการโรงแรมและการท่องเที่ยว การแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ แสะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และทางสังคมเพี่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ส่วนปัจจัยทางด้านนักลงทุนไทยได้แก่ ศักยภาพด้าน เงินลงทุน ความสามารถในการประกอบการและการบริหารธุรกิจโรงแรม รวมทั้งการคาดการณ์ถึงผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนในระยะยาว นอกจากนี้ ปัจจัยสนับสนุนทางอ้อมที่สำคัญคือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรัฐบาลของประเทศทั้งสอง
Other Abstract: The objective of this thesis is to investigate the supportive factors of an economic relations between Thailand and the Union of Myanmar during the years 1989 - 1995. An investment in the hotel business in the Union of Myanmar is the case study. Documentary research as well as in-depth interview with 4 of 6 Thai businessmen who invest in the hotel business in the Union of Myanmar are methodology employed, and data are analyzed by a system analysis. Findings indicate that essential pull factors of the hotel investment in the Union of Myanmar are in both the Union of Myanmar land Thai investors sides. For the Union of Myanmar, they are comprised of an open door policy which causes the government to issue the Myanmar Foreign Investment Law in 1988 and to set up a Foreign Investment Commission as well as Laws concerning the hotel business and tourism. Moreover, various regulations are amended. Physical and social infrastructures are developed for an expansion of tourism industry. Factors from the Thai investors are their financial potentialities, their entrepreneurial and managerial capabilities in the hotel business, and the positive estimation of internal rate of return. However, an indirect supportive factor is a good relations between the Thai and governments.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29848
ISBN: 9746356267
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Mananya_ng_front.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_ch1.pdf10.97 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_ch2.pdf15.78 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_ch3.pdf8.69 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_ch4.pdf21.96 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_ch5.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open
Mananya_ng_back.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.