Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29859
Title: ความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กับความต้องการของสังคมไทยในช่วงปีพุทธศักราช 2521 ถึง 2532
Other Titles: The relevancy between contents in the area of life experiences for prathom suksa six according to the national elementary school curriculum B.E. 2521 and needs of Thai society during B.E. 2521 to B.E. 2532
Authors: ปรีชา ศรีอนันต์
Advisors: สำลี ทองธิว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสอดคล้องระหว่างเนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 กับความต้องการของสังคมไทยช่วงปีพุทธศักราช 2521-2532 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาดำเนินการวิจัย โดยศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากเอกสาร วารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ การเข้าฟังสัมมนาและการสัมภาษณ์ การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งเป็นปัญหาของสังคมไทย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถาม สอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 ท่าน เพื่อยืนยันปัญหาของสังคมไทย จากนั้นนำปัญหาที่ได้รับการยืนยันแล้วมากำหนดเป็นความต้องการของสังคมไทย และกำหนดเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทย โดยใช้เนื้อหาที่สร้างขึ้นนี้เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์เนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านการเมือง และด้านวัฒนธรรม คิดเป็นร้อยละ 100 ของเนื้อหาที่สัมพันธ์สภาพปัญหา ด้านการเมืองและวัฒนธรรม เนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 95.00 ของเนื้อหาที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหา ด้านเศรษฐกิจ และเนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านสังคม คิดเป็นร้อยละ 95.83 ของเนื้อหาที่สัมพันธ์กับสภาพปัญหาด้านสังคม เนื้อหาหน่วยที่ 3 เรื่อง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา หน่วยที่ 11 การเมืองการปกครอง และหน่วยที่ 12 เรื่อง ข่าว เหตุการณ์วันสำคัญ มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านการเมืองมากที่สุด เนื้อหาหน่วยที่ 1 เรื่อง สิ่งมีชีวิต หน่วยที่ 2 เรื่อง ชีวิตภายในบ้าน หน่วยที่ 4 เรื่อง ชาติไทย หน่วยที่ 5 เรื่อง การทำมาหากิน หน่วยที่ 6 เรื่อง พลังงานและสารเคมี มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านเศรษฐกิจมากที่สุด เนื้อหาหน่วยที่ 1 เรื่อง สิ่งมีชีวิต หน่วยที่ 2 เรื่องชีวิตภายในบ้าน หน่วยที่ 3 เรื่อง สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา หน่วยที่ 10 เรื่อง ประชากรศึกษา และหน่วยที่ 11 เรื่อง การเมืองการปกครอง มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านสังคมมากที่สุดเนื้อหาหน่วยที่ 4 เรื่อง ชาติไทย และหน่วยที่ 8 เรื่อง ประเทศเพื่อนบ้าน มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคมไทยด้านวัฒนธรรมมากที่สุด
Other Abstract: The purpose of this research was to study the relevancy between contents in the Area of Life Experiences for Pratom Suksa six according to National Elementary School curriculum B.E. 2521 and the needs of Thai society from B.E. 2521 to B.E. 2532 by content and documentary analysis. The primary data were obtained from studying documents, circulations, printed matters, and interviewing. The primare data regarding the Thai society problems were verified by 20 experts in social science through the use of questionnaires. The verified problems were changed into the needs of Thai society and the researcher specified the contents that were relevant to the needs and used the above contents in analysing the contents in the Area of Life Experiences for Prathom Suksa six. The research findings were concluded as follows : The contents in the Area of Life Experience related to political and cultural problems were 100% relevant to the political and cultural needs of Thai society. The contents in the Area of Life Experiences related to economic problems were 95% related to the economic needs of Thai society. The contents in the Area of Life Experiences related to social problems were 95.83% relevant to the social needs of Thai society. The contents in Chapter 4 Our Environment’s, Chapter 11 ‘Politics and Government’, Chapter 12 ‘New and Event’ were most relevant to the Political needs of Thai society. The contents in Chapter 1 “Living Thing’, Chapter 2 ‘Life in the House’, Chapter 4 ‘Thai Nation’, Chapter 5 Earning for Life’, Chapter 6 “Energy and Chemical, ‘were most relevant to the economic needs of Thai society. The contents in Chapter 1 ‘Living things’ Chapter 2 ‘Life in the House’, Chapter 3 ‘Our Environment’, Chapter 10 “Population’ and Chapter 11 ‘Politics and Government’ were most relevant to the social needs of Thai society. The content in Chapter 4 “Thai Nation’ and Chapter 8 ‘Nabouring Countries’ were most relevant to the cultural needs of Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29859
ISBN: 9748359468
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_sr_front.pdf5.07 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_ch1.pdf13.25 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_ch2.pdf35.97 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_ch3.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_ch4.pdf8.61 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_ch5.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_sr_back.pdf26.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.