Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29936
Title: การใช้โปรตีนถั่วเขียวเหลือใช้จากอุตสาหกรรมวุ้นเส้น ในการผลิตน้ำซอสปรุงรส
Other Titles: Utilization of Mung bean protein waste from vermicelli industry in flavour sauce production
Authors: อรสา สุริยาพันธ์
Advisors: พัชรี ปานกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำโปรตีนส่วนเหลือจากอุตสาหกรรมวุ้นเส้นภายในประเทศมาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมกับกากถั่วเหลืองในการผลิตน้ำซอสปรุงรส จากการวิจัยพบว่า สภาวะที่เหมาะสม ในการเตรียมโปรตีนถั่วเขียวย่อยด้วยกรด คือ อัตราส่วนโปรตีนถั่วเขียวต่อ กรดเกลือเป็น 1:2.5 (น้ำหนักต่อปริมาตร), ความเข้มข้นของกรดเกลือ 5 นอร์มัลและเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งจะได้โปรตีนถั่วเขียวย่อยด้วยกรดที่มี คุณภาพด้านเคมีและกายภาพ ดังนี้ ความถ่วงจำเพาะ ณ อุณหภูมิห้อง 1.210±0.002, ค่าความเป็นกรด-ด่าง ณ อุณหภูมิห้อง 5.15±0.11, ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด 32.71±1.25 กรัมต่อลิตร, ปริมาณอะมิโนแอซิดไนโตรเจน 20.72±1.55 กรัมต่อลิตร และปริมาณโซเดียมคลอไรด์ 206.85±2.15 กรัมต่อลิตร โปรตีนถั่วเขียวย่อยด้วยกรดที่เตรียมจากสภาวะดังกล่าว มีกลิ่นของวัตถุดิบและกลิ่นเค็มคาวคล้ายน้ำปลา ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบ แต่เมื่อนำมาขจัดกลิ่นด้วยวิธีการระเหยภายใต้สุญญากาศที่อุณหภูมิ 50⁰ซ เป็นเวลา 45 นาที สามารถนำมาผสมกับกากถั่วเหลืองย่อยด้วยกรดในปริมาณร้อยละ 10 โดยปริมาตร โดยไม่ทำให้คุณภาพด้านประสาทสัมผัสของกากถั่วเหลืองย่อยด้วยกรดต่ำลง นำกากถั่วเหลืองย่อยด้วยกรดที่ผสมกับโปรตีนถั่วเขียวย่อยด้วยกรดในอัตราส่วนดังกล่าว มาปรับปรุงรสชาติโดยใช้น้ำตาลทราย และผงชูรส ในปริมาณร้อยละ 3 และ 0.20 โดยน้ำหนัก ก่อนนำมาทดสอบการยอมรับของผลิตภัณฑ์จากผู้ทดสอบทั่วไป ซึ่งพบว่าผู้ทดสอบให้การยอมรับอยู่ในช่วงชอบเล็กน้อยถึงชอบปานกลาง ผลิตภัณฑ์น้ำซอสปรุงรสที่ได้รับการยอมรับนี้สามารถเก็บที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 3 เดือน โดยคุณภาพด้านเคมี และด้านประสาทสัมผัสไม่เปลี่ยนแปลง
Other Abstract: The purpose of this research was to study the feasibility of utilizing mung bean protein concentrated (MP) waste from vermicelli industry in flavour sauce production. The result showed that the optimum condition for hydrolyzing the mung bean hydrolysate (MPH) was at MP: 5 N HCI ratio of 1:2.5 (wt. by vol.) for period of 3 hours. The MPH obtained from this condition had Sp.gr. 1.210±0.002 at room temperature, pH5.15±0.11, total nitrogen 32.71±1.25 g/1, amino acid nitrogen 20.72±1.55 g/1 and sodium chloride 206.85±2.15 g/1. Deodorization by vacuum evaporator at 50⁰C for 45 minutes could reduce the fish saucs and typical mung bean odor markedly. The MPH could be mixed with soybean hydrolysate at 10% (by vol.) without any change in organleptic property. The flavor of this mixture could be enhanced by adding 3% sugar and 0.20% monosodium glutamate (by wt.). This flavour sauce was found acceptable by panelists at the level of slightly like to medium like and could be stored for 3 months at room temperature.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29936
ISBN: 9745695246
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orasa_su_front.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch1.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch2.pdf12.71 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch3.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch4.pdf25.24 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch5.pdf9.65 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_ch6.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Orasa_su_back.pdf25.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.