Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29955
Title: ผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบโลกอสต่อการเพิ่มความมุ่งหวังในชีวิตของหญิง ในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
Other Titles: Effects of logotherapy group on increasing purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home
Authors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบโลกอสต่อการเพิ่มความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยมีสมมุติฐานการวิจัยดังนี้ (1) คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองจะสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (2) คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ระยะหลังการทดลองจะสูงกว่ากลุ่มควบคุมการวิจัยนี้ใช้แบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิตและแบบสัมภาษณ์ความมุ่งหวังในชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการสงเคราะห์ในปี พ.ศ. 2536 จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (12 คน ) และกลุ่มควบคุม (12 คน ) โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มทดลองเข้าร่วมจิตบำบัดแบบโลกอส สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้ง 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความมุ่งหวังในชีวิตด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบโลกอสต่อการเพิ่มความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีโดยมีสมมุติฐานการวิจัยดังนี้ (1) คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองจะสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (2) คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ระยะหลังการทดลองจะสูงกว่ากลุ่มควบคุมการวิจัยนี้ใช้แบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิตและแบบสัมภาษณ์ความมุ่งหวังในชีวิต กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับการสงเคราะห์ในปี พ.ศ. 2536 จำนวน 24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (12 คน ) และกลุ่มควบคุม (12 คน ) โดยวิธีการสุ่ม กลุ่มทดลองเข้าร่วมจิตบำบัดแบบโลกอส สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้ง 3 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความมุ่งหวังในชีวิตด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการ ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ของกลุ่มทดลอง ระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนความมุ่งหวังในชีวิตหญิงในสถานสงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ระยะหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of logotherapy group on increasing purpose in life women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home. Hypothesis were that (1) the posttest score on the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group would increase significantly more than the pretest (2) the posttest score on the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group would increase significantly more than those of the control group. The research design was the control group pretest posttest design. The instruments were the purpose in life test and the purpose in life interview. The 24 sample subjects were women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home during the year 1993. These subjects were randomized to experimental group (12) and control (12). The experimental group participated in logotherapy group for two hours twice a week altogether for 18 hours. The t-test was utilized for data analysis. The obtained results were that the posttest score of the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group increase significantly at the .05 level from the pretest and the posttest score of the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group increase significantly at the .05 level when compared with those of the control group.
The purpose of this research was to study the effects of logotherapy group on increasing purpose in life women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home. Hypothesis were that (1) the posttest score on the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group would increase significantly more than the pretest (2) the posttest score on the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group would increase significantly more than those of the control group. The research design was the control group pretest posttest design. The instruments were the purpose in life test and the purpose in life interview. The 24 sample subjects were women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home during the year 1993. These subjects were randomized to experimental group (12) and control (12). The experimental group participated in logotherapy group for two hours twice a week altogether for 18 hours. The t-test was utilized for data analysis. The obtained results were that the posttest score of the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group increase significantly at the .05 level from the pretest and the posttest score of the purpose in life of women with high risk behavior for HIV positive in Kredtrakarn Home of the experimental group increase significantly at the .05 level when compared with those of the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29955
ISBN: 9745839469
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aranya_tu_front.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_ch1.pdf31.48 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_ch2.pdf9.14 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_ch3.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_ch4.pdf6.98 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_ch5.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_tu_back.pdf29.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.