Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29960
Title: การเล่าข่าว ทางวิทยุ
Other Titles: Radio narrating news
Authors: อรัญญา มิ่งเมือง
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการ “เล่าข่าว” และความหมายที่ปรากฏออกมาจากการ “เล่าข่าว”ทางวิทยุ ของผู้จัดรายการที่เป็นกรณีศึกษา 6 คน คือ ปรีชา ทรัพย์โสภา ดุ่ย ณ บางน้อย นายหนหวย วุฒิ เวญจันทร์ วัชระ มานะชัย และ ศรีรุ้ง รุ่นพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า วิธีการ “เล่าข่าว” ของผู้จัดรายการที่เป็นกรณีศึกษาประกอบไปด้วยการบรรยาย การสร้างมุขตลก การสร้างภาพพจน์ การแสดงความคิดเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ เป็นต้นโดยเฉพาะวัชระ มานะชัย และศรีรุ้ง รุ่นพิเศษ นำข่าวมาเล่าในรูปคล้ายการแสดงซึ่งแตกต่างจากคนอื่นอย่างชัดเจน สิ่งที่น่าสนใจคือผู้จัดรายการมีการสร้างสรรค์อันเกิดจากจินตนาการ (improvisation)ที่นอกเหนือไปจากข้อเท็จจริงหรือบทข่าวที่จัดเตรียมไว้เสมอ ทำให้การ “เล่าข่าว” มีความน่าสนใจยิ่งขึ้นทั้งนี้ความสามารถพิเศษเฉพาะตัวของแต่ละคนเกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน และการ “เล่าข่าว” ในลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการนำเอาการเล่าตามแบบมุขปาฐะมาใช้ในการเสนอข่าวทางวิทยุ ส่วนความหมายโดยอรรถและความหมายโดยนัยที่ปรากฏออกมาจากการ “เล่าข่าว” ได้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิด จุดมุ่งหมาย ความเชื่อและทัศนคติหลาย ๆ ประการของผู้จัดรายการที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป
Other Abstract: This research aimed to study components on radio narrating news and meanings of 6 case studies: Preecha Subsopa, Dui Na Bangnoi, Nai Hon – huay, Wutt Wenuchan, Wachara Manachai and Sri – rung Roonpiset. The research results of these case studies revealed that the components of radio narrating news consisted of narration, gags, figure of speech, opinion and criticism, etc., especially the radio narrating news of Wachara Manachai and Sri –rung Roonpiset which was obviously different from others. The interesting point was their improvisation. The stock of knowledge made them had their own skills. The oral tradition, therefore, used in the radio narrating news. The denotative and connotative meanings in the radio narrating news presented the similarities and differences of various ideas, objectives, believes and attitudes.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29960
ISBN: 9745816817
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Aranya_mi_front.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch1.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch2.pdf16.48 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch3.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch4.pdf51.94 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch5.pdf24.35 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_ch6.pdf6.3 MBAdobe PDFView/Open
Aranya_mi_back.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.