Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30164
Title: บทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย : ศึกษากระบวนการนิติบัญญัติไทยระหว่าง พ.ศ. 2527-2537
Other Titles: Tha role of Thai parliament in the making of law : a study of legislative process from 1984-1994
Authors: แนบ สุดสงวน
Advisors: บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาถึงบทบาทของรัฐสภาไทยในการตรากฎหมาย โดยได้ศึกษาถึงที่มาของกฎหมาย กระบวนการในการตรากฎหมาย ตั้งแต่การเสนอการพิจารณาการอนุมัติ และผู้ได้รับประโยชน์ของกฎหมายที่ตราขึ้นในระหว่าง พ.ศ. 2527-2537 ผลการศึกษาพบว่า ตลอดระยะเวลาระหว่าง พ.ศ. 2527-2537 ประเทศไทยปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา โดยมีสถาบันรัฐสภาทำหน้าที่สำคัญในการตรากฎหมาย สภาพทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงจะมีผลกระทบต่อเนื้อหาและเจตนารมณ์ของกฎหมาย และมีปัจจัยหลายประการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการนิติบัญญัติในช่วงดังกล่าวนี้คือ สถาบันข้าราชการจะมีบทบาทในระยะแรกมาก ส่วนกลุ่มผลประโยชน์และพรรคการเมืองจะมีอิทธิพลมากในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ปัจจัยที่มีอิทธิพลอื่นๆ คือ บทบาทของวุฒิสภาและโครงสร้างของสภา รวมทั้งรัฐต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในช่วงดังกล่าวนี้ โครงสร้างของอำนาจ ที่ปรากฎอยู่ในรัฐธรรมนูญ ได้กำหนดให้ฝ่ายบริหารใช้กลไกของอำนาจรัฐเป็นเครื่องมือในการมีอำนาจครอบงำสถาบันรัฐสภา โดยที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนและอำนาจหน้าที่ใกล้เคียงกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าไปคานอำนาจ และเพื่อเป็นฐานเสียงให้แก่ฝ่ายบริหารในกระบวนการนิติบัญญัติ เพียงแต่เปลี่ยนกลุ่มของฐานผู้ใช้อำนาจจากเดิมที่มีสถาบันรัฐสภาถูกครอบงำโดยระบบราชการจนถึง พ.ศ. 2531 มาเป็นการเข้ามามีอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและชนชั้นกลาง โดยผ่านทางกระบวนการเลือกตั้งและสถาบันพรรคการเมือง เป็นผลให้กฎหมายที่ตราโดยสภาก่อนปี 2531 มีลักษณะที่ให้อำนาจแก่ระบบราชการ ในขณะที่กฎหมายภายหลังทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา เน้นหนักไปในด้านการปรับปรุงและพัฒนา และสร้างกฎหมายเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจการพาณิชย์และอาชีพ เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มผลประโยชน์มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สภาได้เริ่มตรากฎหมายที่ให้การคุ้มครองสิทธิของประชาชนมากขึ้น แม้ว่ากฎหมายส่วนใหญ่จะยังคงละเลยการแก้ปัญหาและการคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30164
ISBN: 9746366955
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nab_su_front.pdf922.86 kBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch1.pdf580.69 kBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch2.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch3.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch4.pdf6.72 MBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch5.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Nab_su_ch6.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Nab_su_back.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.