Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30252
Title: การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและเกาหลีใต้ในปี ค.ศ. 1992
Other Titles: The establishment of diplomatic relations between China and South Korea in 1992
Authors: บราลี สุคนธรังษี
Advisors: เขียน ธีระวิทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและเกาหลีใต้ในปีค.ศ. 1992 โดยได้ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยทั้งภายในและภายนอกของจีนและเกาหลีใต้มาวิเคราะห์ให้เห็นว่าปัจจัยตัวใดของแต่ละประเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำไปสู่การตัดสินใจสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ในการศึกษานี้ ผู้เขียนได้นำกรอบความคิดแนวทางการเมืองเกี่ยวพันและแนวคิดอุดมคตินิยมและปฏิบัตินิยม มาช่วยในการวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีนและเกาหลีใต้ เนื่องจากผู้เขียนมองว่ากระบวนการการดำเนินนโยบายต่างประเทศของประเทศใดๆ ก็ตาม ย่อมเป็นผลมาจากมีความเกี่ยวพันระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก การตัดสินใจและการดำเนินนโยบายย่อมขึ้นอยู่กับว่าปัจจัยตัวใดจะเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินนโยบายต่างประเทศนั้นๆ จากการศึกษาในส่วนของจีนนั้น พบว่าการตัดสินใจสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้เป็นผลมาจากปัจจัยภายในเป็นปัจจัยหลัก จากการที่จีนมีการเปลี่ยนผู้นำ ทำให้มุมมองทั้งในด้านอุดมการณ์ เศรษฐกิจ และความมั่นคงเปลี่ยนไป จากเดิมที่เป็นแบบปิดประเทศและเน้นอุดมการณ์ มาเป็นการเปิดประเทศและเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจแทน ซึ่งผู้เขียนได้นำแนวคิดอุดมคตินิยมและปฏิบัตินิยมมาประกอบกับแนวความคิดแนวทางเกี่ยวพัน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์การดำเนินนโยบายของจีนที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศซึ่งเป็นปัจจัยรอง ก็มีส่วนในการเร่งให้การตัดสินใจของจีนในการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีใต้เร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการล่มสลายของสหภาพโซเวียต หรือการเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนการตัดสินใจของเกาหลีใต้นั้น จะพบว่าเป็นผลมาจากปัจจัยภายนอกเป็นสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงนโยบายของสหรัฐฯ ในการประนีประนอมกับจีน ส่งผลให้เกาหลีใต้ปรับเปลี่ยนนโยบายที่มีต่อจีน จากที่เคยมีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ หันมาแสดงความต้องการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เนื่องจากสหรัฐฯเป็นประเทศพันธมิตรที่สำคัญและเป็นหลักประกันในด้านความมั่นคงให้กับเกาหลีใต้ เมื่อการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯเปลี่ยนไปและอาจจะส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านความมั่นคงของสหรัฐฯต่อเกาหลีใต้ เกาหลีใต้จึงต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินนโยบายต่อประเทศคอมมิวนิสต์ด้วย ส่วนปัจจัยภายในเกาหลีใต้ อย่างเช่นผู้นำประเทศกลุ่มธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ หรือกองทัพ เป็นเพียงปัจจัยรองที่แม้ว่าจะมีอิทธิพลในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของเกาหลีใต้ แต่ก็มีอิทธิพลน้อยกว่าบทบาทของสหรัฐฯ
Other Abstract: This research is aimed at studying factors which were instrumental to the establishment of diplomatic relations between the People's Republic of China and the Republic of Korea in 1992. The research analyses the internal and external factors in both countries which had play a major role leading to their decisions. In this study, the author has applied the concepts of "linkage politics" and "idealism and pragmatism" in analyzing factors that are expected to play a major role in the two countries' decisions. From the author's point of views, there are inter-relations between internal and external factors in any given state's foreign policy. Decesion-making and policy implementation will depend on which of the two factors is considered of greater importance. With reference to China, the author has found that its decision to establish ties with the Republic of Korea was based chiefly on domestic factors. The change in the leadership from the late chairman Mao Zedong to Deng Xiaoping forced a drastic shift in political ideologies, economics and security patterns. From a close-door society that stressed ideology, to an adoption of a more liberal policy and emphasized to national economic development. The author merged the concepts of "idealism and pragmatism" and "linkage politics" to help analyse the People's Republic of China's change of policy. Serving as a catalyst was the prevailing changes throughout the outside world, including the collapse of the Soviet Union and the admission of North Korea and South Korea as new members of the United Nations. Regarding the Republic of Korea's decision-making, the author has found that it was influenced mostly by external factors, in particular changing of the US foreign policy to be more conciliatory with the People's Republic of China. Such a change has a great effect on the changing of South Korea's policy towards China—from the anti-communist policy to the policy of friendship i.e. the establishment of diplomatic relations with China. Considering the internal factor i.e. private Korean business and interest groups, the author has found that it had less influence on the government's decision.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30252
ISBN: 9746347926
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Baralee_su_front.pdf3.94 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_ch1.pdf9.52 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_ch2.pdf13.46 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_ch3.pdf13.7 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_ch4.pdf19.75 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_ch5.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Baralee_su_back.pdf8.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.