Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30253
Title: จรรยาบรรณสำหรับอาจารย์ในวิทยาลัยครูตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และอาจารย์ในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ
Other Titles: Code de ethics for the teachers college instructor according to the opinions of administrators and teachers in northern teachers colleges
Authors: บริบูรณ์ บุญหนุน
Advisors: พันทิพา อุทัยสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์วิทยาลับครูในกลุ่มภาคเหนือ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาบรรณของอาจารย์วิทยาลัยครู และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของจรรยาบรรณที่เป็นข้อสรุปจากความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารและอาจารย์ในวิทยาลัยครูกลุ่มภาคเหนือ จำนวน 285 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มอย่างง่ายและผู้ทรงคุณวุฒิ 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาบรรณของอาจารย์วิทยาลัยครู ประกอบด้วย 5 หมวดพฤติกรรม และแบบประเมินความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับความถูกต้อง ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของข้อสรุป ใช้การหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาบรรณของอาจารย์วิทยาลัยครูเห็นด้วยมากที่สุด 33 ข้อ โดยแยกในแต่ละหมวดมีดังนี้ คือ 1. หมวดอุดมการณ์ของอาจารย์ ได้แก่ อาจารย์พึงประพฤติปฏิบัติตนตามหน้าที่ครูด้วยใจศรัทธาในอาชีพครู พึงสำนึกในความเป็นครูของครู ดำรงไว้ซึ่งเกียรติของสถาบันฝึกหัดครู พึงยึดมั่นในชาติศาสนาและจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ พึงรักษาความซื่อสัตย์อันได้แก่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง ต่อราชการ และต่อประชาชน พึงปฏิบัติตนเป็นผู้เสียสละเพื่อประโยชน์ทางราชการและสังคมส่วนรวมของประเทศ และพึงรักษาสุขภาพพลานามัยทั้งทางกายและจิตใจให้สมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ 2. หมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ต่อวิชาชีพ ได้แก่ อาจารย์พึงศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมให้เป็นผู้มีความรู้กว้างขวางทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ พึงมีความรู้ในวิชาครูอันได้แก่ กลวิธีสอนจิตวิทยาในการสอน การเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน การนำเทคนิคและวิธีการสอนรวมทั้งวิธีการใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการประกอบวิชาชีพครู พึงเสริมสร้างทักษะในวิชาชีพของตนอยู่เสมอ พึงมีความซื่อสัตย์สุจริตต่อวิชาชีพของตน พึงรักษาศักดิ์ศรีและเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพครู โดยสำนึกอยู่เสมอว่าตนเป็นครูของครู พึงยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ประกอบอาชีพครูด้วยกัน พึงประพฤติปฏิบัติสิ่งที่เกี่ยวกับหน้าที่ของวิชาชีพครูโดยใช้ความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ไม่ประมาทเลินเล่ออันจะทำให้วิชาชีพของตนเสื่อมลง และพึงมีพื้นฐานความรู้ในวิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี 3.หมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ต่อศิษย์ ได้แก่ อาจารย์พึงกระตุ้นให้ศิษย์ใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ พึงฝึกและหาวิธีสนับสนุนให้ศิษย์มีระเบียบวินัยในตนเอง พึงแสวงหาวิธีการที่จะฝึกอบรมสั่งสอนศิษย์ให้เป็นครูที่ดีมีความสำนึกและมีความศรัทธาในวิชาชีพครู พึงกระตุ้นให้ศิษย์มีความสำนักในสิทธิของตนและของผู้อื่น พึงฝึกให้ศิษย์มีความสามารถในการทำงานเป็นหมู่คณะ รู้จักวิพากษ์วิจารณ์ อดทนต่อการวิจารณ์และยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น พึงอธิบายความรู้โดยไม่ปิดบังอำพรางหรือบิดเบือนเนื้อหาสาระที่ตนสอนอยู่ พึงแสวงหาวิธีการสอนแบบใหม่ๆ และใช้กลวิธีสอนให้ศิษย์เกิดความรู้ความเข้าใจในการที่จะนำไปใช้เป็นแบบอย่างการสอนที่ดีได้ ถึงประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรแก่การยกย่องและเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ และพึงปฏิบัติตนต่อศิษย์โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ครอบครัว ฐานะ และวัย 4. หมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ต่อสังคม ได้แก่ อาจารย์จะต้องไม่รับสินจ้างรางวัลหรือสิ่งของต่างๆ อันจะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่ไม่ยุติธรรมและพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อชุมชน 5. หมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ในด้านการทำงาน ได้แก่ อาจารย์พึงปฏิบัติตนให้ตรงต่อเวลาอยู่เสมอ พึงรวบรวมวิชาการและประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนและการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พึงรักษาเกียรติศักดิ์ ชื่อเสียงของตนเองโดยไม่กระทำการอันได้ชื่อว่าประพฤติชั่ว พึงเอาใจใส่และตรวจสอบความเรียบร้อยของงานที่ตนทำเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายในส่วนรวม พึงมีความรู้วิชาการและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร การสอน และการบริหารการศึกษาของวิทยาลัยครูที่ตนสังกัดอยู่ และพึงมีวาจาสุภาษิตเช่น คำพูดจริง คำพูดสมานสามัคคี คำพูดไพเราะและคำพูดที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ผู้ทรงคุณวุฒิได้ประเมินพฤติกรรมที่ควรกำหนดเป็นจรรยาบรรณอาจารย์วิทยาลัยครูในด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในแต่ละหมวดพฤติกรรม และหมวดพฤติกรรมที่มีความเหมาะสมมากที่สุด มี 2 หมวดคือ หมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ในด้านการทำงาน กับหมวดการประพฤติปฏิบัติของอาจารย์ต่อศิษย์
Other Abstract: The primary objectives of the study were to investigate the opinions of administrators and teachers regarding the code of ethics of instructors in northern teachers colleges; and the study the qualified educators' opinions regarding the justification, appropriation and possibility of the conclusions of those code of ethics made by administrators and teachers in northern teachers colleges. The samples consisted of 285 administrators and teachers in the northern teachers colleges and 13 qualified educators. A questionnaire which consisted of 5 behavioral groups and an evaluation form were constructed for use as the research instruments. The percentage, arithmetic mean and standard deviation were calculated and used in the data analysis process. The results revealed the 33 most agreed upon code of ethics for instructors in the teachers colleges. They were as follows: 1. The instructor's Ideals: Behaving oneself and possessing a firm belief in the teaching profession; holding a high value in the teaching career and the teachers training institute; possessing a firm belief in the nation, the religion and His Majesty; being honest to oneself, to the government and to the people; being democratic; being reasonable and unbias; being sacrificial for the benefit of his society and the nation; and being healthy both physically and mentally. 2. The Instructor's Professional Behaviors: Being able to catch up with the changing world; having sufficient knowledge necessary for the teaching profession; building up skills necessary for further teaching profession; being honest; retaining his prestige as being the teacher of teachers; admiring other teachers' prestiges; pondering over his behaviors as a teacher; and having sufficient background knowledge of what to teach. 3. The Instructor's Behaviors to the Students: Encouraging students to pursue his study; activating and training students to be self-disciplined; finding the mean of training students to be qualified teachers and possessing a strong belief in the teaching profession; activating students realize on their own right and others; training students the skill of group working, criticizing and being reasonable over the criticisms made by others; explaining the subject explicitly; searching for new methods of instruction, applying them to the students so that they might use them in the future; being admirable by students and being a figure of example; and working with students impartially regardless their race, religion, family background, status and age. 4. The Instructor's Behaviors to the Society: Being justifiable by not accepting money or valuable things which might influence his determination; and conducting himself as a good example for the community. 5. The Instructor's Working Behaviors: Being punctual; collecting new knowledges and experiences for use as the implementation in the teaching learning process; retaining his own prestiges and being lawful; paying attention to his work regularly in order to avoid damages or losses; possessing academic knowledge and participating in the discussion of curriculum; and possessing and using polite and impressive words. The qualified educators evaluated the justification, appropriation and possibility regarding the code of ethics, as a result, the two most suitable behavioral groups were: The instructor's working behaviors; and the instructor's behaviors to the students.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30253
ISBN: 9745673528
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bauriboon_bo_front.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch1.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch2.pdf17.95 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch3.pdf5.16 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch4.pdf33.1 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch5.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_ch6.pdf6.09 MBAdobe PDFView/Open
Bauriboon_bo_back.pdf17.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.