Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30257
Title: ผลจากรูปร่างทางเรขาคณิตต่อพฤติกรรมทางโครงสร้างบริเวณสมอยึด สำหรับคอนกรีตอัดแรงแบบดึงลวดภายหลัง
Other Titles: Geometrical effects on structural behavior of post-tensioned anchorage zones
Authors: บวรพันธุ์ วงศ์อนันต์
Advisors: เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การอัดแรงเข้าไปภายในชิ้นส่วนโครงสร้างระบบคอนกรีตอัดแรงแบบดึงลวดภายหลัง จะก่อให้เกิดความเค้นอันซับซ้อนขึ้นในคอนกรีตบริเวณสมอยึด ซึ่งปริมาณความเค้นนี้จะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายชนิด งานวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงผลจากรูปร่างทางเรขาคณิตของสมอยึดและผลจากเหล็กเสริมโอบรัดแบบปลอกเกลียวที่มีต่อพฤติกรรมทางโครงสร้างของชิ้นส่วนบริเวณสมอยึดโดยการวิเคราะห์ความเค้นที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนบริเวณสมอยึดขนาด 100, 180, 250, 400, 550 และ 825 ตัน ด้วยวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์สามมิติโดยจำลองแบบให้มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจริงของชิ้นส่วนโครงสร้างบริเวณสมอยึดโดยกำหนดให้กรวยร้อยลวดมีความลาดชัน 0 จนถึง 10 องศา และศึกษาถึงปริมาณของเหล็กเสริมโอบรัดในส่วนที่เกี่ยวกับขนาดของวงปลอกเกลียวและขนาดของเหล็กเสริม เพื่อใช้ควบคุมความเค้นที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนบริเวณสมอยึดนั้น ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่าเมื่อกรวยร้อยลวด สมอยึดมีความลาดชันเพิ่มขึ้น ปริมาณความเค้นระเบิดที่เกิดขึ้นภายในชิ้นส่วนบริเวณสมอยึดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่เมื่อกรวยร้อยลวดสมอยึดไม่มีความลาดชันเลย การถ่ายแรงจะเข้มข้นขึ้นมากและส่งผลให้เกิดความเค้นระเบิดในปริมาณที่สูงขึ้นและการเสริมเหล็กโอบรัดแบบปลอกเปลือกจะสามารถลดปริมาณความเค้นระเบิด และควบคุมการเสียรูปของชิ้นส่วน ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มกำลังเมื่อเริ่มแตกร้าวของชิ้นส่วนได้ นอกจากนั้น ยังได้มีการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่างในสมอยึดขนาด 180 ตัน เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของขนาดหน้าตัดเหล็กเสริมโอบรัดแบบปลอกเกลียวที่มีต่อพฤติกรรมทางโครงสร้างของชิ้นส่วนคอนกรีตบริเวณสมอยึดซึ่งได้จากการทดสอบ กับผลจากการวิเคราะห์ด้วยไฟไนต์เอเลเมนต์ ปรากฏผลว่าสอดคล้องกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอิลาสติก
Other Abstract: Stresses in anchorage zones of post-tensioned structures are very complicated and depend on various factors. This research studies the structural behavior of post-tensioned anchorage zones under the influence of anchorage geometry and hoop action of spiral reinforcement. Extensive series of three dimensional linear elastic finite element computer analysis were carried out to study behavior of anchorage zones for 100, 180, 250, 400, 550, and 825 tons, respectively, To study the effect of changing the geometry of the anchorage, the slope of the anchorage was varied from 0 to 10 degrees, and for hoop action, the influence of hoop action was also investigated by varying the percentage of spiral reinforcement. The analysis results indicated that increasing the slope of the anchorage only slightly increases the bursting stress in the anchorage zone. However, when flat anchorages were used, some increase in bursting stress was clearly evident. The results also show that the use of spiral reinforcement could reduce the bursting stress in the anchorage zone. In addition, the deformation could be controlled as a result of smaller crack widths as well as better distribution of cracks. This in turn leads to improved cracking strength and ductility. Experimental studies were also conducted for 180-ton anchorage to compare the behavior under load in the elastic and inelastic ranges. The results show good agreement with those obtained from the analyses, expecially in the elastic range.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30257
ISBN: 9745765554
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Borvornbhun_vo_front.pdf5.34 MBAdobe PDFView/Open
Borvornbhun_vo_ch1.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open
Borvornbhun_vo_ch2.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open
Borvornbhun_vo_ch3.pdf23.08 MBAdobe PDFView/Open
Borvornbhun_vo_ch4.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Borvornbhun_vo_back.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.