Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30268
Title: มโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบประชาธิปไตย ของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: Concepts concerning democratic political participation of secondary school social students teacher
Authors: บังอร หงสะพัก
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2530
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยระหว่างครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค 3. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยระหว่างครูสังคมศึกษาชายกับหญิง 4. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยระหว่างครูสังคมศึกษาที่มีพื้นฐานการศึกษาทางการเมืองการปกครองแตกต่างกัน การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยสร้างแบบมโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาขึ้น 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามแบบตรวจคำตอบ (Checklist) และแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเที่ยง (Reliability) เท่ากับ 0.67 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากร 577 คน ซึ่งเป็นครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนรัฐบาลส่วนกลาง 21 โรง และโรงเรียนรัฐบาลส่วนภูมิภาค 28 โรง ซึ่งได้ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอน (Multi-Stage stratified Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (X̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย 1. มโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาในด้านต่างๆ พบว่า ครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจหรือมโนทัศน์ถูกต้องที่สุดทั้ง 5 ด้าน คือ 1.1 ประชาธิปไตยและการปกครองรอบอบประชาธิปไตย 1.2 ความหมายและความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย 1.3 ประเภทของกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมือง 1.4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 1.5 การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย 2. การเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2.1 มโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของครูสังคมศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค โดยส่วนร่วมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 2.2 มโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของครูสังคมศึกษาชายกับหญิง โดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ 2.3 มโนทัศน์เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของครูสังคมศึกษาที่มีพื้นฐานการศึกษาทางการเมืองการปกครองแตกต่างกัน โดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้
Other Abstract: Purposes 1. To study the concepts concerning democratic political participation of secondary school social studies teachers 2. To compare the concepts concerning democratic political participation between secondary school social studies teachers in the central area and provincial area 3. To compare the concepts concerning democratic political participation between male and female social studies teachers 4. To compare the concepts concerning democratic political participation between social studies teachers with different political educational backgrounds Procedures A test with a reliability of .67 on concepts concerning democratic political participation of secondary school social studies teachers, consisting of check-list and 40 items of multiple-choice was constructed by the researcher and administered to the sample group of 577 social studies teachers in 21 government secondary schools from central areas and 28 government secondary schools from provincial areas who were selected by multi-stage stratified random sampling. The obtained data were then analyzed by means of percentage, arithmetic mean (X̅), standard deviation (S.D.) and t-test. Findings 1. The concepts concerning democratic political participation of secondary school social studies teachers in various aspects revealed that most social studies teachers in secondary schools had most correct knowledge and understanding or concepts concerning the following five aspects: 1.1 Democracy and democratic government 1.2 Meaning and importance of political participation in the democratic system. 1.3 The kinds of activities in political participation 1.4 Factors involved in political participation 1.5 The teaching and learning of democracy 2. The comparision of concepts concerning democratic political participation of secondary school social studies teachers 2.1 The concepts concerning democratic political participation between secondary school social studies teachers in the central area and provincial area were not inclusively different at the .05 level of significance which rejected the hypothesis. 2.2 The concepts concerning democratic political participation between male and female social studies teachers were not inclusively different at the .05 level of significance which retained the hypothesis. 2.3 The concepts concerning democratic political participation of social studies teachers with different political educational backgrounds on politics and government were not inclusively different at the .05 level of significance which rejected the hypothesis.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30268
ISBN: 9745675482
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bungorn_ho_front.pdf4.72 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_ch1.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_ch2.pdf38.66 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_ch3.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_ch4.pdf29.83 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_ch5.pdf9.44 MBAdobe PDFView/Open
Bungorn_ho_back.pdf33.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.