Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30526
Title: แนวคิดของครูสังคมศึกษาในการเสริมสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตย แก่นักเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดยโสธร
Other Titles: The social studies teachers' perspectives in enchancing democratic characteristics in secondary school students, Changwat Yasothon
Authors: บัญญัติ สมชอบ
Advisors: จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดของครูสังคมศึกษาในการเสริมสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตยให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดยโสธร โดยใช้เทคนิควิจัยอนาคตแบบ EDFR ประยุกต์ใช้กับการวิจัยปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่าครูสังคมศึกษาในจังหวัดยโสธรมีแนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างคุณลักษณะประชาธิปไตยในด้านต่างๆ คือ หลักสูตรควรจะมีคู่มือในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายคือให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจสภาพของสังคมตลอดจนมองเห็นปัญหาต่างๆ ของสังคมและแสวงหาแนวทางแก้ไข คุณลักษณะและบทบาทของผู้สอนคือเป็นผู้รู้จักหน้าที่ของตนและเคารพในสิทธิของผู้อื่น มีความรู้ความเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยอย่างถูกต้อง เป็นผู้มีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตยและเป็นแบบอย่างที่ดี คุณลักษณะและบทบาทของผู้เรียนคือ เป็นผู้มีระเบียบวินัย รู้จักรับผิดชอบ มีเหตุมีผลมีน้ำใจประชาธิปไตย และเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นด้วยความเต็มใจ กระบวนการเรียนการสอนจะต้องกำหนดพฤติกรรมคุณลักษณะประชาธิปไตยไว้ล่วงหน้า ในการสอนแต่ละครั้ง สร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมประชาธิปไตยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ลงมือกระทำและปฏิบัติจริง โดยใช้กระบวนการกลุ่มเป็นหลัก นอกจากนี้จะต้องให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์การไปใช้สิทธิในการเลือกตั้ง การเผยแพร่ความรู้เรื่องประชาธิปไตยและจัดตั้งสภานักเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนหรือชุมชนจัดขึ้น การวัดผลประเมินผลจะต้องใช้เครื่องมือหลายๆ แบบในการประเมินผลการปฏิบัติ ส่วนข้อคิดเห็นอื่นๆ นั้น ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีน้ำใจเป็นประชาธิปไตย มีความจริงใจที่จะส่งเสริมให้ท้องถิ่นได้มาใช้บริการโรงเรียนมากขึ้นสร้างความสัมพันธ์กับท้องถิ่นโดยจัดให้มีสมาคมครูและผู้ปกครอง
Other Abstract: The aim of this research was to study the social studies teachers' perspectives in enchancing democratic characteristics in secondary school students, Changwat yasothon by using the EDFR technique. This research revealed that the social studies teachers in Yasothon Province possess the following viewpoints concerning the enhancement of democratic characteristics: the curriculum should contain handbooks for organizing activities that correspond to the objectives, namely to let the students know and understand the social conditions as well as perceive the various social problems and seek for ways of remedies. Characteristics and roles of the teachers are: awareness of their own duties and respecting the rights of others, possession of knowledge and clear understanding of aspects of democracy, having democratic mind, and being good role models. Characteristics and roles of the students are: being highly disciplined, responsible, logical, democratic-minded, and being good leaders and followers as well as participating whole-heartedly in the various organized activities. The learning and teaching process must specify the democratic characteristic behaviors in advance. In each teaching session, democratic atmosphere and environment should be created by letting the students participate in organizing the learning and teaching activities, actually act and operate by using group process. Moreover, the students must be allowed to participate in the publicities for exercising the rights for election, the propagation of knowledge of democracy, and establishing the student council in order to let the students take part in the various activities organized by the school or the communities. The measurement and evaluation must employ several methods for performance evaluation. Other viewpoints are that the school administrators must be democratic-minded, be sincere in promoting the localities to increase the use of the school services, form the relationship with the localities by establishing parents-teachers association.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30526
ISBN: 9745775029
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bunyat_so_front.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_ch1.pdf8.03 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_ch2.pdf23.86 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_ch3.pdf4.61 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_ch4.pdf7.77 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_ch5.pdf11 MBAdobe PDFView/Open
Bunyat_so_back.pdf11.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.