Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30587
Title: การพัฒนาเครื่องนับฟ้าผ่าแบบซีเกร
Other Titles: Development of the cigre lightning flash counter
Authors: ธวัชชัย พิชิตชัยกุล
Advisors: สำรวย สังข์สะอาด
ณรงค์ อยู่ถนอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ รายงานถึงการศึกษาพัฒนาเครื่องนับฟ้าผ่าแบบซีเกร เพื่อเก็บข้อมูลการเกิดฟ้าผ่าลงดินในภูมิภาคนี้ เครื่องนับที่ออกแบบสร้างเป็นแบบซีเกร 10 กิโลเฮรตซ์ ประกอบด้วย 4 วงจรคือ วงจรสายอากาศ วงจรกรองผ่านแถบ วงจรตั้งความไวและวงจรนับจำนวน ตรวจสอบการทำงาน และวิเคราะห์ผลตอบสนองของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ สายอากาศ และวงจรกรองความถี่ ผลปรากฏว่า เครื่องที่สร้งมีผลการทำงาน และผลตอบสนองความถี่ได้ตามมาตรฐานซีเกร กำหนดระยะห่างรัศมีทำงานยังผลด้วยวิธีการตั้งความไวการทำงาน ด้วยคลื่นไซน์ตามมาตรฐานซีเกร ใช้เครื่องนับฟ้าผ่าจำนวน 10 เครื่อง เก็บข้อมูลการเกิดฟ้าผ่าในช่วงฤดูฝนของปี พ.ศ. 2533 บริเวณ จังหวัดชลบุรี และระยองเพื่อหาค่าความหนาแน่นฟ้าผ่าเปรียบเทียบกับธันเดอร์สตอร์มเดย์ ตำแหน่งเส้นรุ้งและปริมาณน้ำฝน ใช้เครื่องนับจำนวนหนึ่งเครื่องเปรียบเทียบการนับกับเครื่องจากต่างประเทศโดยติดตั้งเครื่องนับทั้งสองบนดาดฟ้าชั้น 6 ของอาคารวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการเปรียบเทียบเป็นรายเดือนได้ผลความแตกต่างจำนวนอัตราการนับสูงสุดประมาณ 1.8
Other Abstract: This thesis presents the study and development of a lightning flash counter for counting local ground flashes. The counter consists of four circuits, namely, antenna, band pass filter, threshold setting and register circuits. The counter was designed in accordance with the CIGRE 10 KHz lightning flash counter. The characteristics and performance of the counter were tested. The frequency response and sensitivity of the counter are compared with the CIGRE specifications. Effective range of the counter is obtained by setting the threshold voltage of the counter in accordance with the CIGREs' recommendation. The average ground flash density was carried out by using 10 counters during the rainy season of 1990 in Chonburi and Rayong regions. The evaluated densities are compared with annual thunderstorm days, region of latitude and rainfall. A comparison of the number of lightning flashes was made between the measured values obtained from the designed counter and the CIGRE counter by installing both counters on the top of sixth floor of the Electrical Engineering building at Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, it was found that the maximum counting ratio of those data from the CIGRE counter to those from the designed one was 1.8.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30587
ISBN: 9745791903
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tavatchai_pi_front.pdf5.12 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_ch1.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_ch2.pdf16.59 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_ch3.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_ch4.pdf7.5 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_ch5.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Tavatchai_pi_back.pdf10.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.