Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30656
Title: โอกาสและข้อจำกัดในการนำเกณฑ์อาคารเขียวด้านทำเลที่ตั้งมาใช้กับโครงการที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Opportunities and limitations to using location and selection criteria in low income housing projects in Bangkok
Authors: สุรพันธุ์ นิลนนท์
Advisors: กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Kundoldibya.P@Chula.ac.th
Atch.S@Chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน
ที่อยู่อาศัย -- การออกแบบและการสร้าง
คนจน -- ที่อยู่อาศัย
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันโลกให้ความสำคัญต่อการนำเกณฑ์อาคารเขียวมาใช้ใน อาคารทุกประเภท เพื่อ การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกณฑ์อาคารเขียวมีหลากหลายทั้งในและต่างประเทศ โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยก็จำเป็นต้องดำเนินการตามเกณฑ์อาคารเขียวด้วย เกณฑ์อาคารเขียวด้านทำเลที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อต้นทุนโครงการมาก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อหาโอกาสและข้อจำกัดในการนำเกณฑ์อาคารเขียวด้านทำเลที่ตั้งมาใช้กับโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพมหานคร โดยทำการสืบค้นเอกสาร การรวบรวมจัดหมวดหมู่ การทดสอบเกณฑ์กับกรณีศึกษา นำผลไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อเสนอแนะ ผลจากการศึกษา สามารถจัดหมวดหมู่เกณฑ์ด้านทำเลที่ตั้งออกเป็น 3 หัวข้อได้แก่ (1) เกณฑ์ด้านระยะห่างระหว่างทำเลที่ตั้งโครงการกับระบบขนส่งสาธารณะ (2) เกณฑ์ด้านระยะห่างระหว่างทำเลที่ตั้งกับสาธารณูปการ และ (3) เกณฑ์ด้านลักษณะทำเลที่ตั้ง ซึ่งเมื่อนำเกณฑ์ มาทดสอบโดยประเมินทำเลที่ตั้งโครงการฯ ทั้งที่ดำเนินการโดยภาครัฐและเอกชน 4 กรณี พบว่า โครงการฯที่ดำเนินการโดยภาครัฐ มีโครงการที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ในหัวข้อเรื่องระยะห่างระหว่างทำเลที่ตั้งกับสาธารณูปการ และเรื่องลักษณะทำเลที่ตั้ง ที่ไปตั้งในพื้นที่ทางเกษตรกรรม ส่วนเรื่องระยะห่างระหว่างทำเลที่ตั้งกับระบบขนส่งมวลชนแม้จะไม่พบข้อขัดแย้ง แต่มีข้อสังเกตว่า โครงการของภาครัฐมีทำเลที่ตั้งที่อยู่ห่างจากระบบขนส่งมากกว่าโครงการของภาคเอกชน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าโอกาสที่จะนำเกณฑ์อาคารเขียวด้านทำเลที่ตั้งมาใช้กับโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยมีความเป็นไปได้สูง โดยมีข้อจำกัดบางประการ คือ ทำเลที่ตั้งที่มีคุณลักษณะตามเกณฑ์ทุกประการ หายากและมีราคาที่ดินสูงจนเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญได้ข้อเสนอแนะว่า ควรมีทั้งการปรับปรุงเกณฑ์และการปรับปรุงวิธีการจัดหาที่ดินของหน่วยงานภาครัฐ โดยในการปรับปรุงเกณฑ์คือ (1) เกณฑ์ด้านระยะห่างระหว่างทำเลที่ตั้งโครงการกับระบบขนส่งสาธารณะ สามารถเพิ่มระยะห่างสูงสุดที่ยอมรับได้ไม่เกิน 1500 เมตร และ ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานที่ให้บริการขนส่งมวลชนสาธารณะเพื่อขยายเส้นทาง (2) เกณฑ์ด้านระยะห่างระหว่างที่ตั้งโครงการกับสาธารณูปการ สามารถเพิ่มระยะห่างสูงสุดที่ยอมรับได้ไม่เกิน 2000 เมตร และ โครงการต้องจัดให้มีสาธารณูปการบางประเภทอยู่ภายในโครงการ เช่น ร้านสะดวกซื้อ (3) เกณฑ์ด้านลักษณะทำเลที่ตั้ง เป็นเกณฑ์ที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญที่สุดและควรเปลี่ยนตัวชี้วัดย่อยบางหัวข้อให้เป็นแบบบังคับปฏิบัติ เช่น เลือกทำเลที่ตั้งที่มีสาธารณูปโภคพร้อมแล้ว ไม่อยู่บนพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และ ไม่ใช่พื้นที่ที่มีความขัดแย้งกับข้อกำหนดทางผังเมือง และนอกจากนี้หน่วยงานผู้จัดทำเกณฑ์อาคารเขียวควรนำเกณฑ์อาคารเขียวมาทำการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ส่วนการปรับปรุงวิธีการจัดหาที่ดิน ภาครัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมในการจัดหาที่ดินเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้เป็นไปตามเกณฑ์อาคารเขียว
Other Abstract: Nowadays green criteria plays a role in reducing environmental problems and is important to use with all building construction, but for low income housing projects ,the use of green criteria is affected by project capital. This research has as its objectives that to analyze opportunities and limitations of using site selection criteria, which is one part of green criteria, through a literature review , and to categorize site selection criteria analysis using a case study and interview with a specialist. According to the research , site selection criteria can be separated into three areas which are the distance from the housing project to public transportation , the distance from the housing project to public services and the preferred location for the housing project. Based on a site survey of some government low income housing projects these projects do not meet the site selection criteria. Examples of housing projects which do not match the indicators are housing projects developed on agricultural land or located too far from public services. The research results show that the site selection criteria can be used with low income housing projects , however , the preferred land may be too expensive for the developer to purchase. The ways to improve site selection criteria based on the specialist interview are (1) The distance from the housing project to public transportation should less than 1,500 m., and the government should expand public transport route. (2) The distance from the housing project to public services should less than 2000 m., and the developer should add basic public services to the project. (3) The preferred location for the housing project should meet some criteria as prerequisites such as the location having public facilities, the location having no the valuable ecology and the location meeting urban regulations. In addition, involved with green criteria (Ex. TGBI) should update the green criteria occasionally. For the ways to improve the method of site selection, the developer should avoid land which does not match the green criteria and apply the site selection criteria from green criteria as part of the site selection method.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาที่อยู่อาศัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30656
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1220
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
surapan_ni.pdf9.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.